วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

จักษุ2ความหมาย

หรือ จักขุ ในทางพระพุทธศาสนา มีความหมายสองประการ คือ
  1. มังสจักขุ ได้แก่ นัยน์ตาเนื้อใช้มองดูสิ่งต่างๆได้ เช่น นัยน์ตาของสัตว์ทั้งหลาย
  2. ปัญญาจักขุ ได้แก่ ความสามารถในการรู้เรื่องต่างๆ ด้วยปัญญา คือ เป็นการรู้ได้ทางใจ ไม่ใช่รู้ได้ด้วยนัยน์ตา
ปัญญาจักขุ
ในทางพระพุทธศาสนาแสดงไว้เป็นห้าชนิด คือ
  1. พุทธจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่หยั่งรู้ในอัธยาศัยของสัตว์โลกทั้งปวงได้ เรียกว่า อาสยานุสยญาณ
    และญาณปัญญาที่สามารถรู้ นามอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย ว่ายิ่งหรือหย่อนเพียงใด ที่เรียกว่า อินทรียปโรปริยัตติญาณ
  2. สมันตจักขุ หมายถึง ญาณที่สามารถรอบรู้สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ทั้งบัญญัติและปรมัตถธรรม ที่เรียกว่า สัพพัญญุตญาณ
  3. ญาณจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาที่ทำให้สิ้นอาสวกิเลส เรียกว่า อรหัตมรรคญาณ หรือ อาสวักขยญาณ
  4. ธรรมจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาของพระอริยบุคคลเบื้องต่ำทั้งสาม คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี
  5. ทิพพจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาที่สามารถรู้เห็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่ไกลแสนไกล ได้อย่างละเอียด ด้วยอำนาจของ สมาธิจิต ที่เรียกว่า อภิญญาสมาธิ
ปัญญาจักขุห้าประการนี้ สมันตจักขุ พุทธจักขุ ย่อมมีได้แต่เฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ส่วนปัญญาจักขุที่เหลืออีกสามประการ ย่อมเกิดแก่ พระอริยบุคคลอื่นๆ หรือฌานลาภีบุคคล ที่ได้ทิพพจักขุญาณ ตามสมควรแก่ญาณ และบุคคล
ปัญญาจักขุ ๕ มังสจักขุ ๑ รวมเป็น ๖ จึงเรียกกันสั้น ๆ ว่า จักขุ ๖
จักขุ ๕ ยังหมายถึง พระจักษุอันเป็นสมบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้แก่ มังสจักขุ ทิพพจักขุ ปัญญาจักขุ พุทธจักขุ สมันตจักขุ
ในประวัติของอริยบุคคล ธรรมจักขุ ใช้คำว่า "ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน"บ้าง "ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน" บ้าง
ในพจนานุกรมพุทธศาสน์ บรรยายไว้ว่า ดวงตาเห็นธรรม คือ ปัญญารู้เห็นตามความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวง ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ธรรมจักษุโดทั่วไป เช่นที่เกิดแก่ท่านโกณฑัญญะ เมื่อสดับธรรมจักร ได้แก่ โสดาปัตติมรรค หรือโสดาปัตติมัคคญาณ คือ ญาณที่ทำให้เป็นโสดาบัน


อัธยาศัย แปลว่า แปลว่าอะไร หมายถึง อัธยาศัย อัดทะยาไส น นิสัยใจคอ

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กำลัง ๗ ประการ



๑๐๑. คำอธิบายกำลัง ๗ ประการ


(๑)"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความเชื่อ เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
มีศรัทธาเชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า พระผู้มีพระภาคนั้น
๑. เป็นพระอรหันต์ (ผู้ไกลจากกิเลส) ๒. เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ๓. เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ ๔. เป็นผู้เสด็จไปดี ๕. เป็นผู้รู้จักโลก ๖. เป็นผู้ฝึกคนที่ควรฝึกอย่างเยี่ยม ๗. เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์๘. เป็นผู้ตื่น (รวมทั้งปลุกผู้อื่นให้ตื่น) ๙. เป็นผู้มีโชค (เพราะทำเหตุที่จะให้เกิดโชคไว้)
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความเชื่อ."

(๒) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความเพียร เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ตั้งความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม (ธรรมฝ่ายชั่ว) เพื่อทำให้กุศลธรรม (ธรรมฝ่ายดี) สมบูรณ์ เป็นผู้ลงแรงบากบั่นมั่น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความเพียร."
(๓) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความละอายต่อบาป เป็นไฉน? อริยสาวกไปพระธรรมวินัย เป็นผู้มีความละอาย คือละอายต่อกายทุจจริต (ความประพฤติชั่วทางกาย) วจีทุจจริต (ความประพฤติชั่วทางวาจา) มโนทุจจริต (ความประพฤติชั่วทางใจ) ละอายต่อการประกอบอกุศล บาปกรรมทั้งหลาย. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความละอายต่อบาป."                (๔) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความเกรงกลัวต่อบาป เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเกรงกลัว คือเกรงกลัวต่อกายทุจจริต วจีทุจจริต มโนทุจจริต เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศล บาปกรรมทั้งหลาย. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความเกรงกลัวต่อบาป."               (๕) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความระลึกได้ เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะอันยอดเยี่ยม ย่อมระลึกได้ ย่อมนึกออกถึงสิ่งที่กระทำไว้นานแล้ว ถึงถ้อยคำที่พูดไว้นานแล้วได้. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความระลึกได้."   (๖) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความตั้งใจมั่น เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม (ความในอารมณ์ที่น่าใคร่) สงัดจากอกุศลธรรมเข้าสู่ฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความตั้งใจมั่น."   (๗) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือปัญญา เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยปัญญา เห็นความเกิดความดับ เป็นปัญญาอันประเสริฐ ชำแรกกิเลสได้ ทำให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่ากำลังคือปัญญา." ๒๓/๓,๔

http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/interest/part4.2.html

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อกุศลมูล ๓

อกุศลมูล ๓อกุศลมูล ๓ (อกุศล=ความไม่ฉลาด, มูล=รากเหง้า)แปลตามตัวอักษรว่า รากเหง้าของความไม่ฉลาด หมายถึง รางเหง้าหรือต้นตอของความชั่วทั้ง
ปวง เมื่อกำเริบจะแสดงออกมาเป็นทุจริตทางกาย วาจา ใจ รวมเป็นเหตุให้เกิดกิเลส มี ๓ ประการ คือ
๑. โลภะ ความอยากได้ โลภะ คือ ความอยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตน อยากให้ตนมีเหมือนคนอื่น หรือมีมากกว่าผู้อื่น ความอยากมีหลายรูป
แบบซึ่งจะก่อให้เกิดรากเหง้าของความชั่วทั้งปวง เช่น อิจฉา ความอยาก ปาปิจฉา ความอยากอย่างชั่วช้าลามก มหิจฉา ความอยากรุนแรง อภิชฌาวิสมโลภะ
ความอยากได้ถึงขั้นเพ่งเล็ง ความอยากจะเกิดมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความชั่วในตัวเอง วิธีแก้ไขความอยากคือการใช้สติ ระลึกรู้ในตน
๒. โทสะ ความคิดประทุษร้าย โทสะ คือ ความคิดประทุษร้าย ได้แก่ การอยากฆ่า การอยากทำลายผู้อื่นๆ ความคิดประทุษร้ายเป็นรากเหง้าให้เกิด
กิเลสได้หลายอย่าง เช่น ปฏิฆะ ความหงุดหงิด โกธะ ความโกรธ อุปนาหะ ความผูกโกรธ พยาบาท ความคิดปองร้าย ถ้าปล่อยให้มีโทสะมาก ผู้นั้นจะเป็นคนชั่ว คน
พาล และเป็นภัยต่อสังคม วิธีแก้ไขโทสะ คือการใช้สติระงับตน และฝึกตนให้เป็นผู้มีอโทสะ
๓. โมหะ ความหลงไม่รู้จริง โมหะ คือ ความหลงไม่รู้จริง ได้แก่ ความไม่รู้ไม่เข้าใจ ความมัวเมา ความประมาท เป้นรากเหว้าให้เกิดกิเลสได้ต่างๆ
มากมาย เช่น มักขะ ลบหลู่คุณท่าน ปลาสะ ตีเสมอ มานะ ถือตัว มทะ มัวเมา ปมาทะ เลินเล่อ โมหะทำให้ขาดสติ ไม่รู้ผิดชอบร้ายแรงกว่าโลภะ และโทสะ รวมทั้ง
ส่งเสริมให้โลภะและโทสะมีกำลังมากขึ้นยิ่งด้วย วิธีที่จะทำให้โมหะลดลงนั้นจะต้องปฏิบัติตนเป็นผู้ที่มี อโมหะ ความไม่หลงงมงาย

กุศลมูล ๓

กุศลมูล ๓กุศลมูล ๓ หมายถึง รากเหง้าหรือต้นตอของความดีทั้งปวง ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ตรงกันข้ามกับ อกุศลมูล มี ๓ ประการดังนี้
๑. อโลภะ ความไม่อยากได้ อโลภะ คือ ความเป็นผู้ไม่มีความทะยานอยาก เป้นผู้ที่มีสติระลึกรู้ตัวอยู่เสมอไม่ว่าจะกระทำสิ่งใดๆ มีแต่ความยินดี
และพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่เท่านั้น การปฏิบัติตนเป็นผู้มีอโลภะนั้น จะต้องปฏิบัติธรรมที่ตรงกันข้ามกับโลภะ เช่น สันโดษ ความพอใจ ทาน การบริจาค จาคะ การเสีย
สละ อนภิชฌา ความไม่โลภไม่อยากได้ของผู้อื่น เป็นต้น
๒. อโทสะ ความไม่คิดประทุษร้าย อโทสะ คือ คสามไม่คิดประทุษร้าย ไม่โกรธ ไม่ผูกพยาบาท จะทำอะไรก็มีสติรู้สึกตัวอยู่เสมอใช้ปัญญาในการ
ประกอบการตัดสินใจต่างๆ การปฏิบัติตนเป็นผู้มีอโทสะนั้น จะต้องปฏิบัติธรรมที่ตรงกันข้ามกับโทสะ เช่น เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข กรุณา ความ
สงสาร อโกธะ ความไม่โกรธ อพยาบาท ความไม่ปองร้ายผู้อื่น อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน ตีติกขาขันติ ความอดทนต่อความเจ็บใจ เป็นต้น
๓. อโมหะ ความไม่หลง อโมหะ คือ ความไม่หลงงมงาย ไม่ประมาทอันเป็นสาเหตุให้เกิดความชั่วทั้งปวง ให้เป็นผู้มีสติปัญญามั่นคงใช้ปัญญา
พิจารณาไตร่ตรองโดยยึดหลักเหตุผล เมื่อมีอโมหะเกิดขึ้นกับตัวแล้ว โลภะ โทสะ และโมหะ ก็มิอาจเกิดขึ้นได้ การปฏิบัติตนเป็นผู้มีอโทสะนั้น จะต้องปฏิบัติ
ธรรมที่ตรงกันข้ามกับโทสะ เช่น พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ศึกษารับฟังมาก วิมังสา หมั่นตรึกตรองพิจารณา สัทธา เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ โยนิโสมนสิการ การรู้
จักตรึดตรองให้รู้จักดีชั่ว ปัญญา รอบรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ เป็นต้น

ตายไม่สูญ...แล้วไปไหน
http://board.palungjit.com/f4/%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A8%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5-%E0%B9%93-%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A8%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5-%E0%B9%93-201319.html

ปธาน4

ความเพียรที่ชอบเป็นสัมมาวายามะ มี ๔ อย่าง คือ
๑. สังวรปธาน เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
๒. ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. ภาวนาปธาน เพียรเจริญทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมไปและให้เพิ่มไพบูลย์;
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปธาน_๔

กุศลวิตก 3

กุศลวิตก 3 (ความตรึกที่เป็นกุศล, ความนึกคิดที่ดีงาม — wholesome thoughts)
1. เนกขัมมวิตก (ความตรึกปลอดจากกาม, ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรนปรือสนองความอยากของตน — thought of renunciation; thought free from selfish desire)
2. อพยาบาทวิตก (ความตรึกปลอดจากพยาบาท, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคืองหรือเพ่งมองในแง่ร้าย — thought free from hatred)
3. อวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยกรุณาไม่คิดร้ายหรือมุ่งทำลาย — thought of non-violence; thought free from cruelty)

http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิตก

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อกุศลวิตก 3

 ความตรึก คิดนึก ด้วยความไม่ฉลาด เป็นการนึกคิด ในเรื่องที่ไม่ดีของบุคคลผู้มีกิเลส ที่เก็บสะสมไว้ภายในจิตมากๆ ซึ่งท่านแบ่งอกุศลวิตกออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. กามวิตก ความตรึกในทางกาม หมายถึง การนึกถึง รูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ อันน่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจด้วยการแสดงออกมาในทางที่ไม่ถูกต้อง ทางศีลธรรม หรือแม้แต่วัตถุกามที่ประณีตอย่างไรก็ตาม หากยังมีอาการของตัณหาที่ก่อให้เกิดทุกข์อยู่ ก็ยังถือว่าอยู่ในข่ายของกามวิตกทั้งนั้น
2. พยาบาทวิตก ความตรึกในทางพยาบาท หมายถึง ความตรึกนึกด้วยอำนาจแห่งพยาบาท ซึ่งอาจจะเกิดมาจากความไม่พอใจ การกระทบกระทั่งกันโกรธเคืองกัน หรือลงมือทำร้ายกัน แต่ใจยังเก็บเรื่องนั้นไว้ และยังตรึกนึกด้วยอำนาจการจองเวร ทำความอาฆาตมาดร้าย มุ่งทำลาย ล้างผลาญสิ่งของ หรือ บุคคลที่ทำให้ตนโกรธไม่พอใจ เป็นต้น

3. วิหิงสาวิตก ควมตรึกในทางเบียดเบียน หมายถึง ความตรึกนึกด้วย อำนาจของโทสะ ต้องการจะเห็นความวิบัติ ความเดือดร้อนของคนอื่น สัตว์อื่น ต้องการที่จะเห็นการต่อสู้ หรือความพินาศของคนอื่น ทั้งที่เป็นสิ่งของ และสถานที่เป็นต้น

อกุศลวิตกทั้ง 3 นี้เป็นส่วนตรรกะ คือ บุคคลพิจารณาให้เห็นโทษ แล้วบรรเทา ละความตรึก ในลักษณะแผดเผาทำลายจิตของตนเอง ฉะนั้น
 
 
เขียนโดย :วิทยาทานวัน/เวลา :25/7/2551 9:52:24
http://www.firodosia.com/showdetail.asp?boardid=2879



















 

วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ตัณหา 6

ตัณหา 6 หมวด ได้แก่
  1. รูปตัณหา คือ อยากได้รูป (ที่มองเห็นด้วยตา)
  2. สัททตัณหา คือ อยากได้เสียง
  3. คันธตัณหา คือ อยากได้กลิ่น
  4. รสตัณหา คือ อยากได้รส
  5. โผฏฐัพพตัณหา คือ อยากได้โผฏฐัพพะ (ความรู้สึกทางกายสัมผัส)
  6. ธัมมตัณหา คือ อยากในธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด)




 

ปัญญา3

ทำให้เกิดได้ 3 วิธี คือ
  1. โดยการสดับตรับฟัง การศึกษาเล่าเรียน (สุตมยปัญญา)
  2. โดยการคิดค้น การตรึกตรอง (จินตามยปัญญา)
  3. โดยการอบรมจิต การเจริญภาวนา (ภาวนามยปัญญา)
ปัญญา ที่เป็นระดับ อธิปัญญา คือปัญญาอย่างสูง จัดเป็นสิกขาข้อหนึ่งใน
 สิกขา 3 หรือ ไตรสิกขา คือ อธิศีล อธิสมาธิ อธิปัญญา

















http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2
 

อนุสัย ๗

 อนุสัย ๗ เป็น กิเลส ที่มีความละเอียดที่สุด สามารถกำจัดได้ด้วย ปัญญา เท่านั้น คือ
1.ราคานุสัย
2.ปฏิฆานุสัย
3.อวิชชานุสัย
4.วิจิกิจฉานุสัย
5.มานานุสัย
6.ภวานุสัย
7.ทิฏฐานุสัย 
 
 

วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2555

บุคคล ๔

บุคคล ๔ จำพวก คือ อุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู เนยย ปทปรมะ ก็เปรียบเหมือนดอกบัว ๔ เหล่านั้นแล. ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น
บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยกขึ้นแสดง ชื่ออุคฆฏิตัญญู.
บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมเมื่อท่านแจกความแห่งคำย่อโดยพิสดาร ชื่อว่าวิปจิตัญญู.
บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมโดยลำดับด้วยความพากเพียรท่องจำ ด้วยการไต่ถาม ด้วยทำไว้ในใจโดยแบบคายด้วยคบหาสมาคมกับกัลยาณมิตร ชื่อว่าเนยย.
บุคคลที่ไม่ตรัสรู้ธรรมได้ในชาตินั้น แม้เรียนมาก ทรงไว้มาก สอนเขามาก ชื่อว่าปทปรมะ.



http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2

วิชชา ๓

 ๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ รู้จักระลึกชาติได้
๒. จุตูปปาตญาณ รู้จักกำหนดจุติและเกิด
๓. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้น.
องฺ. ทสก. ๒๔/๒๒๖.
อธิบาย: นิทเทสแห่งปุพเพนิวาสานุสสติญาณว่า ระลึกชาติ ถอยหลังเข้าไปได้ตั้งแต่ชาติหนึ่งสองชาติจนตั้งหลาย ๆ กัลป์ ว่าในชาติที่เท่านั้นได้มีชื่อ มีโคตร มีผิวพรรณ มีอาหารอย่างนั้น ๆ ได้เสวยสุข ได้เสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีอายุเท่านั้น จุติจากนั้นแล้ว ได้เกิดในชาติที่เท่าโน้น ได้เป็นอย่างนั้น ๆ แล้วมาเกิดในชาตินี้.
     นิทเทสแห่งจุตูปปาตญาณว่า มีจักษุทิพย์บริสุทธิ์ล่วงจักษุสามัญมนุษย์ เห็นเหล่าสัตว์ที่กำลังจุติก็มี กำลังเกิดก็มี เลวก็มี ดีก็มี มีผิวพรรณงามก็มี มีผิวพรรณไม่งามก็มี ได้ดีก็มี ตกยากก็มี รู้ชัดว่าเหล่าสัตว์เป็นตามกรรม. วิชชาที่ ๒ นี้เรียกว่า ทิพพจักขุญาณก็มี.
     นิทเทสแห่งอาสวักขยญาณว่า รู้ชัดตามจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุเกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ทางไปถึงความดับอาสวะ เมื่อรู้เห็นอย่างนี้ จิตพ้นแล้วจากกามาสวะ ภาวสวะ อวิชชาสวะ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กรณียะทำเสร็จแล้วกิจอื่นอันจะต้องทำเช่นนี้ไม่มีอีก.วิชชา ๓ นี้ ญาณ ๓ ก็เรียก. วิชชา ๓ นี้ ท่านกล่าวว่าเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธญาณ อันสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบรรลุมาโดยลำดับในยามสามแห่งราตรี. ความระลึกชาติได้ดังแสดงไว้ในนิทเทส เป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณได้อย่างไรน่าพิจารณาดู หรือว่าระลึกชาติได้เช่นนั้นแล้ว หายตื่นหายหวาดในความเวียนเกิดเวียนตาย เห็นเป็นคติแห่งธรรมดา เกิดอนัตตานุปัสสนาขึ้นเอง เช่นนี้ชอบกลอยู่. ญาณนี้ท่านกล่าวว่ากำจัดโมหะกำบังขันธสันดาน ส่อว่าเป็นอนัตตานุปัสสนา สมเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ. จุตูปปาตญาณ ปรารภเหล่าสัตว์อื่นผู้เวียนเกิดเวียนตาย ดุจเดียวกับบุพเพนิวาสานุสสติญาณ ปรารภตนตามนิทเทส เติมปรารภคติแห่งสัตว์นั้นด้วย ดูเหมือนแสดงว่าไม่ใช่แต่เวียนเกิดเวียนตายเท่านั้นเป็นคติแห่งธรรมดา ความเป็นไปตามอำนาจกรรม ก็เป็นคติแห่งธรรมดาอีกเหมือนกัน. ญาณนี้ ท่านกล่าวว่ากำจัดโมหะกำบังกัมมัสสกตา จะกล่าวว่ากำจัดโมหะเป็นเหตุเชื่อถือไร้เหตุเช่นสีลัพพตปรามาสและมิจฉาทิฏฐิก็ได้ จัดเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณชอบอยู่. อาสวักขยญาณไม่ทำกิจเพียงรู้เท่านั้น รู้จักน้อมความรู้นั้นมาเป็นอุปการะทำอาสวะให้สิ้นได้ด้วย จัดเป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณชอบแท้. ในความแห่งวิชชา ๓ นี้มีอยู่เพียงไร ขอนักธรรมจงสอดส่องถือเอาเอง.


สมถะ เป็นภาษาบาลี แปลว่า สงบ ในคัมภีร์มีใช้ใน 3 แบบ ดังนี้ :
  1. จิตตสมถะ - ความสงบระงับจากอกุศลนิวรณ์แห่งจิต ดู : สมถกรรมฐาน.
  2. อธิกรณสมถะ - วิธีการสงบระงับอธิกรณ์การทะเลาะมีเรื่องมีราวกันในหมู่สงฆ์ มี 7 อย่าง เรียก สัตตาธิกรณสมถะ.
  3. สัพพสังขารสมถะ ความสงบระงับสังขารทั้งปวง หมายถึง พระนิพพาน
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%96%E0%B8%B0

เทพ ๓



๑. สมมติเทพ เทวดาโดยสมมติ
๒. อุปปัตติเทพ เทวดาโดยกำเนิด
๓. วิสุทธิเทพ เทวดาโดยความบริสุทธิ์.
ขุ. จูฬ. ๓๐/๑๑๒.

อธิบาย: พระราชา พระเทวี แลพระราชกุมาร จัดเป็นสมมติเทพ.
ภุมมเทวดาสิงอยู่ ณ ภพนี้ ที่ต้นไม้บ้าง และที่วัตถุอื่น ๆ บ้าง ซึ่งเรียกว่าพระภูมิบ้าง วัตถุเทวดาบ้าง และอากาสัฏฐกเทวดาสิงอยู่ในอากาศ ต่างโดยเป็นเทวดาบ้าง เป็นพรหมบ้าง จัดเป็น
อุปปัตติเทพ. พระอรหันต์ จัดเป็นวิสุทธิเทพ.

http://www.watsomanas.com/thai/dhammastory/group03.php

นิมิตต์ ๓

นิมิตต์ ๓ ๑. ปริกัมมนิมิตต์ นิมิตในบริกรรม
๒. อุคคหนิมิตต์ นิมิตติดตา
๓. ปฏิภาคนิมิตต์ นิมิตเทียบเคียง.
อภิ. สงฺ. ๕๑.
อธิบาย: ภิกษุผู้เจริญกัมมัฏฐาน เพ่งดูวัตถุอย่างในอย่างหนึ่ง เป็นอารมณ์ คือกสิณ ๑๐ หรืออสุภ ๑๐ วัตถุนั้นที่ภิกษุเพ่งดูและนึกเป็นอารมณ์ ซึ่งเรียกว่าบริกรรม จัดเป็นบริกัมมนิมิต. ภิกษุเพ่งดูวัตถุนั้นจนติดตา หลับตาเห็น จัดเป็นอุคคหนิมิต. ในลำดับนั้น ภิกษุอาจนึกขยายส่วนหรือย่นส่วนแห่งอุคคหนิมิตนั้นได้สมรูปสมสัณฐาน จัดเป็นปฏิภาคนิมิต.

*นิมิต ๑
ความหมาย

ก. นิรมิต, สร้าง, แปลง, ทํา. (ป. นิมฺมิต; ส. นิรฺมิต).
*นิมิต ๒
ความหมาย

น. เครื่องหมาย, ลาง, เหตุ, เค้ามูล; (แบบ) อวัยวะสืบพันธุ์. (ป., ส. นิมิตฺต).

http://www.watsomanas.com/thai/dhammastory/group03.php

ปริญญา ๓

รู้สัญญาด้วยปริญญา ๓ คือ

ญาตปริญญา
 ตีรณปริญญา
ปหานปริญญา

 ๑. ญาตปริญญา กำหนดรู้ด้วยการรู้
๒. ตีรณปริญญา กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา
๓. ปหานปริญญา กำหนดรู้ด้วยการละเสีย.
ขุ. มหา. ๒๙/๖๐.
อธิบาย: ญาตปริญญา กำหนดรู้ปัญจขันธ์เป็นต้นโดยวิภาค ได้แก่รู้จักแยกออกจากสังขาร คือสิ่งที่คุมกันอยู่. ตีรณปริญญากำหนดพิจารณาเห็นโดยไตรลักษณ์. ปหานปริญญา กำหนดละฉันทราคะในปัญจขันธ์เป็นต้นนั้นเสีย.

โลกุตรธรรม ๙

โลกุตระ (อ่านว่า โลกุดตะระ) แปลว่า พ้นโลก อยู่เหนือวิสัยของโลก เป็นคำที่ใช้คู่กับ โลกิยะ ซึ่งแปลว่า ยังเกี่ยวข้องกับโลก เรื่องของโลก
โลกตระ หมายถึงภาวะที่หลุดพ้นแล้วจากโลกิยะ ไม่เกี่ยวข้องกับกาม ตัณหา ทิฏฐิ อวิชชาอีกต่อไป ได้แก่ธรรม ๙ ประการซึ่งเรียกว่า
 นวโลกุตรธรรม หรือ โลกุตรธรรม ๙
โลกุตรธรรม ๙ ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ โดยมีรายละเอียดดังนี้
มรรค ๔ คือโสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค
ผล ๔ คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล
นิพพาน ๑ คือ พระนิพพาน

วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

มรรค 8
















คำว่ามรรค แปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์.....ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วย.....อำนาจของอวิชชา ....มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือก.....ฟั่นแปดเกลียว องค์แปดคือ :-
..........1.
สัมมาทิฏฐิ คือความเข้าใจถูกต้อง
..........2.
สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง
..........3.
สัมมาวาจา คือการพูดจาถูกต้อง
..........4.
สัมมากัมมันตะ คือการกระทำถูกต้อง
..........5.
สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพถูกต้อง
..........6.
สัมมาวายามะ คือความพากเพียรถูกต้อง
..........7.
สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจถูกต้อง
..........8.
สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง


http://www.learntripitaka.com/scruple/muck8.html

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

มีพุทธพจน์แห่งหนึ่ง สรุปธรรมทั้งหมดไว้ดังนี้

๑. ธรรมทั้งปวง มีฉันทะเป็นมูล (ฉนฺทมูลกา)๖. ธรรมทั้งปวง มีสติเป็นเจ้าใหญ่ (สตยาธิปเตยฺยา)
  ๒. ธรรมทั้งปวง มีมนสิการเป็นต้นกำเนิด (มนสิการสมฺภวา)๗. ธรรมทั้งปวง มีปัญญาเป็นยิ่งยอด (ปญฺญุตฺตรา)
  ๓. ธรรมทั้งปวง มีผัสสะเป็นที่ก่อตัวขึ้น (ผสฺสสมุทยา)๘. ธรรมทั้งปวง มีวิมุติเป็นแก่น (วิมุตฺติสารา)
  ๔. ธรรมทั้งปวง มีเวทนาเป็นที่ชุมนุม (เวทนาสโมสรณา)๙. ธรรมทั้งปวง มีอมตะเป็นที่หยั่งลง (อมโตคธา)
  ๕. ธรรมทั้งปวง มีสมาธิเป็นประมุข (สมาธิปมุขา)๑๐. ธรรมทั้งปวง มีนิพพานเป็นที่สิ้นสุด (นิพพานปริโยสานา)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) :
สัมมาสมาธิและสมาธิแบบพุทธ
http://www.thammapedia.com/dhamma/tripitaka.php

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

โลกปาลธรรม

หิริ ความละอายแก่ใจในการทำบาป
โอตัปปะ ความสะดุ้งกลัวต่อผลแห่งบาป

ธรรมทั้งสองประการนี้ทรงแสดงว่า เป็น
โลกปาลธรรม คือธรรมที่รักษาคุ้มครองโลก

board.palungjit.com ›

เนื้อที่ต้องห้าม ๑๐ อย่าง คือ

เนื้อที่ต้องห้าม ๑๐ อย่าง คือ
เนื้อมนุษย์
เนื้อช้าง
 เนื้อม้า
เนื้อสุนัข
เนื้องู
เนื้อราชสีห์
เนื้อเสือโคร่ง
เนื้อเสือเหลือง
 เนื้อหมี
และเนื้อเสือดาว
 

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

โอวาท ๑๐ ข้อ แก่พระนางวิสาขา

ธนัญชัยเศรษฐีผู้เป็นบิดาได้ให้โอวาท ๑๐ ข้อ แก่พระนางวิสาขาว่า



๑. ไฟในอย่านำออก

๒. ไฟนอกอย่านำเข้า

 ๓. พึงให้ทานแก่บุคคลที่ให้

๔. ไม่พึงให้แก่บุคคลที่ไม่ให้

๕. พึงให้ทานแก่บุคคลที่ให้และไม่ให้

๖. พึงนั่งให้เป็นสุข

๗. พึงบริโภคให้เป็นสุข

๘. พึงนอนให้เป็นสุข

 ๙. พึงบำเรอให้เป็นสุข

๑๐. พึงนอบน้อมเทวดา

http://www.watthaichetavan.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538706834&Ntype=1
 

สิ่งอันควรระลึกถึงมี ๓

พระพุทธองค์ตรัสถึงสิ่งอันควรระลึกถึงมี ๓ คือ
 ของในร่างกาย ๑
 เครื่องใช้สอย ๑
และรูปเคารพ ๑




















http://www.watthaichetavan.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538706834&Ntype=1

สิ่ง ๔ ประการ เหล่านี้ ไม่ควรดูหมิ่นว่าเล็กน้อย

 


สมัยหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลถามว่า “สมณพราหมณ์บางพวกเป็นคณาจารย์ เป็นเจ้าลัทธิ มีเกียรติ มีชื่อเสียง ชนส่วนมากยกย่องว่าดี คือ ปูรณกัสสปะ มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร และนิครนถนาฏบุตร สมณพราหมณ์เหล่านั้นเมื่อถูกข้าพระองค์ถามก็ยังมิกล้าปฏิญาณตนได้ว่าตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ส่วนพระโคดมผู้เจริญยังมีชันษาอยู่ในวัยหนุ่ม และเป็นผู้ใหม่ในบรรพชิต ไฉนจึงกล้าปฏิญาณได้เล่า”



ดูก่อนมหาบพิตร สิ่ง ๔ ประการ เหล่านี้ ไม่ควรดูหมิ่นว่าเล็กน้อย” คือ

๑. กษัตริย์ ไม่ควรดูหมิ่นว่ายังทรงพระเยาว์

๒. งู ไม่ควรดูหมิ่นว่าตัวเล็ก

๓. ไฟ ไม่ควรดูหมิ่นว่ากองเล็ก

๔. ภิกษุ ไม่ควรดูหมิ่นว่ายังใหม่ต่อเพศบรรพชิต


http://www.watthaichetavan.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538706834&Ntype=1





 

วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

วิบัติ 4



วิบัติ 4

สีลวิบัติ ความวิบัติแห่งศีล ความวิบัติแห่งศีล
อาจารวิบัติ ความวิบัติแห่งอาจาระความวิบัติแห่งอาจาระ ได้แก่ท่านผู้ปฏิญาณตน
ทิฏฐิวิบัติ ความวิบัติแห่งทิฏฐิสัมมาทิฏฐิ แปลว่าความเห็นชอบ
อาชีววิบัติ ความวิบัติแห่งอาชีวะ เลี้ยงชีวิตในทางที่ผิดเรียกว่า มิจฉาอาชีวะ
ความวิบัติแต่ละอย่างนั้น สร้างความตกต่ำให้เกิดขึ้นในชีวิตและจิตใจของบุคคล ทำให้การประพฤติปฏิบัติของบุคคลเหล่านั้นเสื่อมถอยลงไป กุศลเสื่อมลง  อกุศลเพิ่มขึ้นความทุกข์อันเป็นผลมาจากอกุศลก็ติดตามมา ดังนั้น จึงทรงสอนให้บุคคลพยายามรักษาศีลคืออาการทางกาย วาจา ของตนให้เรียบร้อย อาจาระ คือ ความประพฤติปฏิบัติของตนให้ดีงาม  ทิฏฐิ คือควบคุมความคิดเห็นของตนให้ตรงตามทำนองคลองธรรม  และพยายามเลี้ยงชีวิตของตนในทางที่ชอบ  ไม่หลอกลวง ฉ้อโกงคนอื่นมาเลี้ยงชีวิต  เพื่อให้เกิดเป็นผลที่ดีงามแก่ตนเองและบุคคลอื่น.

http://www.bp-smakom.org/bp_school/social/Viban4.htm

เหตุให้สมหมาย ๔

พระพุทธศาสนายกความปรารถนาของบุคคลในโลกที่ได้สมหมายด้วยยากขึ้นกล่าวไว้ว่ามี ๔ อย่าง คือ
           ๑. ปรารถนาขอให้สมบัติจงเกิดมีแก่เราโดยทางที่ชอบ
           ๒. ปรารถนาขอให้ยศจงเกิดมีแก่เรากับญาติพวกพ้อง
           ๓. ปรารถนาขอให้เราจงรักษาอายุให้ยืนนาน
           ๔. เมื่อสิ้นชีพแล้ว ขอเราจงไปบังเกิดในสวรรค์
ข้อมูลจากhttp://mahamakuta.inet.co.th/study/study64/mk644.html

เมื่อทรงแสดงความปรารถนาของบุคคลในโลกที่ได้สมหมายด้วยยาก ๔ ประการข้างต้นแล้ว ก็ได้ทรงแสดงธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย ๔ อย่างควบคู่กันเพื่อขจัดความผิดหวังท้อ แท้ ธรรมเหตุให้สมหมาย ๔ อย่างคือ
๑. สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
๒. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล
๓ จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยบริจาคทาน
๔. ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา

ขอให้พิจารณาความปรารถนาของตน ว่ามีความปรารถนา ๔ อย่าง ที่ยกมากล่าวข้างต้น อันเป็นความปรารถนาที่ได้สมหมายด้วยยากหรือไม่ แม้มีก็ขอให้อบรมธรรมเหตุ ให้ สมปรารถนา ๔ อย่างที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แจ้งชัดแล้วด้วยพระมหากรุณานั้น

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

ไฟนรก7กอง

ไฟนรกกองที่ 1 ได้แก่ พระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ที่มีบุญบารมีมากที่สุดในโลก เป็นผู้เดียวในโลกที่มีสัพพัญญุตญาณ(ญาณที่รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลโดยไม่มีที่สิ้นสุด) และพระพุทธเจ้ายังเป็นนายกของโลกตามตำแหน่งของกฎธรรมชาติที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งผู้ใดก็ตามที่ได้ทำกุศลกรรมกับพระองค์ บุคคลนั้นจะต้องได้อานิสงฆ์ผลบุญมากที่สุดในโลก ซึ่งมนุษย์คนใดได้ไปทำทานด้วยแล้วจะได้ผลบุญมากเท่ากับทำทานแด่พระพุทธเจ้าเป็นไม่มี แต่หากผู้ใดทำอกุศลกรรมกับพระองค์ บุคคลนั้นจะต้องได้รับกรรมมากที่สุดในโลกที่เรียกว่า อนันตริยกรรม นั่นเอง
ไฟนรกกองที่ 2 ได้แก่ พระธรรม
พระธรรม คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ได้ถ่ายทอดออกมาจากการรู้ซึ่งความจริงของกฎธรรมชาติทุกอย่าง
ไม่มีผู้ใดในโลกที่จะฝืนหรือเปลี่ยนแปลงกฎธรรมชาติไปได้ แม่แต่พระพุทธเจ้า ผู้ใดก็ตามที่ไม่เชิ่อในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า บุคคลนั้นถือว่า เป็นผู้มีความเห็นผิด (มิจฉาทิฎฐิ) ซึ่งจะทำให้คนผู้นั้นได้รับความเดือดร้อนในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะการเชื่อว่าเกิดครั้งเดียว ตายครั้งเดียว ชาติหน้าไม่มี ตายแล้วสูญ ผู้ที่เชื่อเช่นนี้ เมื่อตายไปต้องไปเกิดในอบายภูมิอย่างแน่นอน หากผู้นั้นยังสอนให้ผู้อื่นเชื่อตามนี้ด้วยอีกแล้ว เมื่อตายไปต้องตรงไปเกิดที่โลกันต์นรกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ไฟนรกกองที่ 3 ได้แก่ พระสงฆ์
พระสงฆ์ คือ พระอริยสงฆ์ที่ตรัสรู้ธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าในขั้นใดขั้นหนึ่งแล้ว ได้แก่ พระโสบัน พระสาทาคามี พระอนาคามี หรือขั้นสูงสุด คือ พระอรหันต์ เมื่อเราได้ทำบุญกับพระอริยสงฆ์เราก็จะได้บุญมากมายมหาศาลนับไม่ถ้วน แต่ถ้าใครก็ตามไปล่วงเกินทำบาปกับท่าน ก็จะต้องได้รับผลกรรมอย่างรุนแรง และมหาศาลเช่นเดียวกัน
ไฟนรกกองที่ 4 ได้แก่ บิดามารดาผู้ให้กำเนิด
พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ว่า พ่อแม่นั้นคือ พระอรหันต์ของลูก ผู้ใดก็ตามที่พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ ถือว่าผู้นั้นมีบุญวาสนาอย่างมาก เพราะเราสามารถทำบุญกับพ่อแม่ได้และได้รับผลบุญเทียบเท่ากับพระอรหันต์เช่นกัน เพียงแต่ว่าอาจจะได้ผลบุญช้ากว่าพระอรหันต์ซักหน่อย สาเหตุที่ได้บุญมากก็เพราะว่าพ่อแม่อยู่ในฐานะผู้มีพระคุณอย่างมากมายมหาศาลต่อลูกตามกฎของธรรมชาติ แม้พ่อแม่จะให้แต่กำเนิดเท่านั้นแต่ไม่เลี้ยงดูเลยก็ตาม ก็ยังถือว่าบุญคุณของพ่อแม่นั้นหา ที่สุดมิได้ ถ้าใครก็ตามที่ล่วงเกินท่านด้วยกาย วาจา ใจ ผู้นั้นก็ย่อมจะได้รับกรรมอย่างมหาศาลเทียบเท่ากับล่วงเกินพระอรหันต์เลยทีเดียว
ไฟนรกกองที่ 5 ได้แก่ ครูบาอาจารย์
ครูบาอาจารย์ เป็นผู้ที่มีความสำคัญมากตามกฎของธรรมชาติ โดยเฉพาะอาจารย์ผู้ที่สั่งสอน หรือ เขียนตำราให้เราอ่านแล้วทำให้เรารู้ธรรมะ ถ้าผู้ใดเกิดมาแล้วไม่รู้ธรรมะอะไรเลย ผู้นั้นย่อมใช้ชีวิตอย่างผิดๆ ถูกๆ ไม่รู้ว่าอะไรเป็นบุญอะไรเป็นบาปและทำทุกอย่างตามความคิดของตัวเองว่าถูก เมื่อตายไปเขาย่อมไปเกิดในอบายภูมิซึ่งมีนรกเป็นที่ต่ำที่สุด แต่เมื่อใดก็ตามที่เขามีบุญวาสนาได้พบอาจารย์ที่มีความรู้ในธรรมะตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง เขาผู้นั้นก็เสมือนว่าได้เกิดใหม่ ทั้งที่ยังไม่ตาย เขาจะรู้ว่า การกระทำใดเป็นบุญและการกระทำใดเป็นบาป เขาจะสามารถตั้งมั่นอยู่ในศีลในธรรมตลอดชีวิต ทำให้ได้รับความสุขความเจริญทั้งในชาตินี้ เมื่อตายไปก็จะมีโลกสวรรค์เป็นที่รองรับ ทั้งนี้ ก็ด้วยพระคุณของครูบาอาจารย์ที่ฉุดเขาพ้นจากนรกนั่นเอง และการที่เราเคารพครูบาอาจารย์จะทำให้เราเป็นผู้มีความสำเร็จเร็วและเป็นผู้มีปัญญามากอีกด้วย ดูอย่างเช่าน พระสาริบุตรเมื่อได้ฟังธรรมจากพระอัสสชิ ก็เกิดความศรัทธาในพระพุทธศาสนา พระสารีบุตรรู้บุญคุณของพระอัสสชิที่ทำให้ตนได้รู้จักธรรมะที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา จึงยกย่องนับถือไว้เป็นอาจารย์ เมื่อพระสารีบุตรอยู่ที่ใดก็ตามก่อนจะจำวัด (นอน) จะต้องหันศรีษะไปทางที่พระอัสสชิอยู่ แล้วตั้งจิตอธิฐาน ถวายสิ่งที่อยู่เหนือเศียรเกล้าของตนเพื่อบูชาพระอาจารย์ จึงไม่น่าแปลกเลยที่ท่านเป็นพระอัครสาวก ผู้เป็นเลิศด้านผู้มีปัญญามาก
ไฟนรกกองที่ 6 ได้แก่ สมณะชีพราหมณ์
สมณะหรือพระที่บวชในพระพุทธศาสนา โดยปฎิบัติตามพระวินัย คือ รักษาศีล 227 ข้อ เรียกว่า สมมติสงฆ์ หลายคนเข้าใจว่า สมมติสงฆ์ ก็คือ พระสงฆ์ แท้จริงแล้ว พระสงฆ์หมายถึง พระอริยะสงฆ์ที่บรรลุธรรมตั้งแต่พระโสดาบรรณจนถึงพระอรหันต์เท่านั้น ส่วนพระทั่วไปที่ยังไม่ได้บรรลุธรรมนั้นเรียกว่า สมมติสงฆ์ แม้จะเป็นสมมติสงฆ์แต่ถ้ารักษาศีลดี และปฎิบัติธรรมเพื่อความเป็นไปตามทางแห่งพระอรหันต์แล้ว ถ้าเราไปทำบุญกับท่าน เราก็จะได้บุญมากมายจนนับไม่ถ้วนเลยทีเดียว แต่ถ้าเราไปทำบาปกับท่าน เราก็จะได้รับผลบาปนับไม่ถ้วนเช่นกัน หลายคนที่ไม่เข้าใจเห็นพระบางรูปกำลังทำชั่วอยู่ เช่น เดินช๊อปปิ้ง ซื้อซีดีโป๊ ก็อดไม่ได้ที่จะตำหนิ ในใจ หรือต่อว่าด่าทอต่างๆ นานา ซึ่งการไปตำหนิติเตียนหรือด่าว่าพระสมณะ ชี พราหมณ์ นั้น ถือเป็นบาปที่ต้องได้รับกรรม เพราะเรามีสิทธิ์ที่จะทำบุญกับพระรูปใดก็ได้ แต่เราไม่มีสิทธิ์ที่จะไปด่าว่าใคร เพราะเป็นการไปเบียดเบียนผู้อื่นนั่นเอง
ไฟนรกกองที่ 7 ได้แก่ สามี
ผู้ชายนั้นจะมีไฟนรกแค่ 6 กอง แต่ผู้หญิงที่มีสามีจะมีไฟนรก 7 กอง เพราะสามีนั้นเปรียบเสมือนพ่อคนที่ 2 ของภรรยา ที่คอยทำหน้าที่ป้องกันภัย และดูแลห่วงใยภรรยา สามีจึงเป็นไฟนรกของภรรยาตามกฎของธรรมชาติ ฉะนั้นผู้หญิงคนใดที่มีสามีไม่ดี ถือว่าเป็นความโชคร้ายของผู้หญิงคนนั้นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อมีการทะเลาะเบาะแว้งกัน ผู้หญิงจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบมาก เพราะจะมีโอกาส ทำกรรมหนัก จากการล่วงเกินไฟนรกนั่นเอง
ขอยกตัวอย่าง ถ้าเราทำบุญให้กับบิดามารดา เราก็จะได้รับผลบุญอย่างน้อยประมาณ 10,000 ล้านเท่า แต่ถ้าเราล่วงเกิน ก็จะได้บาปอย่างน้อยประมาณ 10,000 ล้านเท่าเหมือนกัน
ถ้าภรรยา ทำบุญให้กับสามี ภรรยาก็จะได้บุญอย่างน้อยประมาณ 5,000 ล้านเท่า ถ้าไปล่วงเกินเข้า ก็ต้องได้รับผลบาปอย่างน้อยประมาณ 5,000 ล้านเท่าเช่นกัน
ส่วนสามี ถ้าได้ล่วงเกินภรรยา ถ้าภรรยาเป็นผู้ไม่มีศีล สามีจะได้ผลบาป 1,000 เท่า แต่ถ้าภรรยาเป็นผู้รักษาศีล 5 สามีก็จะได้รับบาป 10,000 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว จะเห็นได้ว่า การไปล่วงเกินสามีด้วย กาย วาจา ใจ นั้นไม่คุ้มเลย
* แค่เห็นความไม่ดีของไฟนรก 7 กอง ก็ถือเป็นกรรมแล้ว *

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

เบญจธรรม 5



เบญจธรรม 5 ประการ ได้แก่
  1. เมตตากรุณา คือความรัก ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น
  2. สัมมาอาชีวะ คือการประกอบสัมมาชีพ
  3. กามสังวร คือการสำรวมในกาม
  4. สัจจะคือการพูดความจริง
  5. สติสัมปชัญญะ คือความระลึกได้และความรู้ตัว


ขันธ์ 5


ขันธ์ แปลว่า กอง, หมวด, หมู่, ส่วน ในทางพุทธศาสนาหมายถึงร่างกายของคนเรา คือแยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ ตามสภาพได้ 5 ส่วน หรือ 5 ขันธ์ คือ
  1. รูป ได้แก่ ส่วนที่ผสมกันของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เช่น ผม หนัง กระดูก โลหิต
  2. เวทนา ได้แก่ ระบบประมวลความรู้สึกว่า ชอบหรือไม่ชอบ และเฉยๆ
  3. สัญญา ได้แก่ จำสิ่งที่ได้รับและรู้สึกนั้นๆ
  4. สังขาร ได้แก่ ระบบคิดปรุงแต่ง แยกแยะสิ่งที่รับรู้สึกและจำได้นั้นๆ
  5. วิญญาณ ได้แก่ ระบบรู้สิ่งนั้นๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ขันธ์นี้ รูปจัดเป็นรูปธรรม เวทมา,สัญา,สังขาร,วิญญาณจัดเป็นนามธรรม เมื่อจัดขันธ์เข้าในปรมัตถธรรม
  • วิญญาณขันธ์ จัดเข้าในจิต
  • เวทนาขันธ์ ,สัญญาขันธ์ ,สังขารขันธ์ จัดเข้าในเจตสิก
  • รูปขันธ์ จัดเข้าในรูป
  • การหมดเหตุปัจจัยของนามรูป จัดเข้าในนิพพาน









พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต 
พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, 
วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548





เหตุ หมายถึง สิ่ง, สิ่งต่างๆ, สิ่งที่ก่อเรื่อง

ปัจจัย หมายถึง เครื่องสนับสนุน หรือเครื่องปรุงแต่งกัน ให้เกิดสิ่งอื่นหรือผลอื่นขึ้น

ศรัทธา ๔


ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนามีสี่อย่าง คือ
  • กัมมสัทธา เชื่อกรรม เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่า เมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา คือ จงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม คือ เป็นความชั่วความดีมีขึ้นในตน เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างเปล่า และเชื่อว่าผลที่ต้องการ จะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยอ้อนวอนหรือนอนคอยโชค เป็นต้น
  • วิปากสัทธา เชื่อวิบาก เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วย่อมมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว
  • กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบาก เป็นไปตามกรรมของตน
  • ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจในองค์พระตถาคต ว่าทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง 9 ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดีก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุด บริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ทรงบำเพ็ญไว้














http://www.buddha4u.org/index.php?
option=com_content&view=article&id=67&Itemid=69

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เทศนา ๒


 
พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า มี ๒ อย่าง คือ
สมมติเทศนา ( เทศนาเกี่ยวกับสมมติ ) ๑
ปรมัตถเทศนา ( เทศนาเกี่ยวกับปรมัตถ์) ๑.



http://th.wikisource.7val.com/;s=dD1rIezP1q8GSVQumAtO821/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B2_%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ปรมาตมัน



ปรมาตมัน อาตมันสูงสุด หรืออัตตาสูงสุด (บรมอาตมัน หรือบรมอัตตาเป็นสภาวะแท้จริง และเป็นจุดหมายสูงสุด ตามหลักความเชื่อของศาสนาฮินดู (เดิมคือศาสนาพราหมณ์) ซึ่งถือว่า ในบุคคลแต่ละคนนี้ มีอาตมัน คือ อัตตาหรือตัว ตน สิงสู่อยู่ครอง เป็นสภาวะเที่ยงแท้ถาวรเป็นผู้คิด ผู้นึก ผู้เสวยเวทนา เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่แบ่งภาคออกมาจาก ปรมาตมันนั้นเองเมื่อคนตาย อาตมันนี้ออกจากร่างไปสิงอยู่ในร่างอื่นต่อไป เหมือนถอดเสื้อผ้าเก่าสวมเสื้อผ้าใหม่ หรือออกจากเรือนเก่าไปอยู่ในเรื่องใหม่ ได้เสวยสุขหรือทุกข์ เป็นต้น สุดแต่กรรมที่ได้ทำไว้ เวียนว่ายตายเกิดเรื่อยไป จนกว่าจะตระหนักรู้ว่าตนเองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับปรมาตมัน แลเข้าถึงความบริสุทธิ์จากบาปโดยสิ้นเชิง จึงจะได้ กลับเข้ารวมกับปรมาตมันดังเดิม ไม่เวียนตายเวียนเกิดอีกต่อไป ; ปรมาตมันนี้ ก็คือ พรหม หรือ หรหมัน นั่นเอง

ทิศทั้ง 6 ในทางพระพุทธศาสนา

ทิศทั้ง 6 ในทางพระพุทธศาสนา

 ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง ทิศ ที่เราคุ้นเคยกัน เช่น ทิศตะวันออก ตะวันตก เหนือไต้ ทิศบูรพา อย่างนี้เป็นต้นแต่คำว่า ทิศ ในที่นี้ (ในพระพุทธศาสนา) นั้นหมายถึง บุคคล ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรา คือผู้ที่เราควรปฏิบัติให้ถูกต้องตามหน้าที่ มีด้วยกัน 6 อย่างคือ


1. ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ มารดา บิดา

2. ทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครู อาจารย์

3. ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ บุตร ภรรยา

4. ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตร สหาย

5. ทิศเบื้องต่ำ ได้แก่ บ่าว ไพร่ ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา

6. ทิศเบื้องบน ได้แก่ พระสงฆ์ สมณะพราหมณ์ หรือ นักบวช



 
ในครั้งสมัยพุทธกาล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอยู่ในกรุงราชคฤห์ เช้าวันหนึ่ง ขณะพระองค์กำลังเสด็จรับบิณฑบาต ได้ทอดพระเนตรเห็นมาณพ (ผู้ชาย) คนหนึ่ง ชื่อ สิงคาละ กำลังประนมมือน้อมนมัสการทิศทั้งหกนั้น (หมายถึง ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ฯลฯ เป็นต้น) เพื่อสกัดกั้นอันตรายอันจะมีมาแต่ทิศนั้นๆ เขาซึ่งเคารพเชื่อฟังคำพูดของพ่อ จึงทำเช่นนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสบอกว่า ทิศทั้งหก นี้ ในพุทธศาสนาเขาไม่ได้ไหว้กันอย่างนั้น แล้วทรงแสดงวิธีไหว้ทิศทั้งหก ในพระพุทธศาสนาให้เขาฟัง ดังนี้คือ 1. ปุริตถิมทิศ คือทิศเบื้องหน้า หมายถึง พ่อและแม่ วิธีไหว้คือปฏิบัติตน ดังนี้ o เลี้ยงดูท่าน o ช่วยท่านทำกิจการงาน o ดำรงศ์วงค์สกุลไว้ o ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท o เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ก็ต้องทำบุญอุทิศไปให้ท่าน ในทางกลับกัน ผู้เป็นพ่อ แม่ พึงอนุเคราะห์ต่อลูก ดังนี้ คือ o ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว o สอนให้ตั้งอยู่ในความดี o ให้ศึกษาเล่าเรียนศิลปะวิทยา o หาภรรยาที่เหมาะสม และสมควรให้ o มอบทรัพย์มรดกให้ 2.ทักขิณทิศ คือ ทิศเบื้องขวา หมายถึง ครูอาจารย์ วิธีไหว้ คือ ปฏิบัติตนดังนี้ o ลุกขึ้นยืนรับ o เข้าไปคอยรับใช้ o เคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนของท่าน o อุปฐาก ปรนนิบัติท่าน o ตั้งใจเรียนศึกษาเล่าเรียนด้วยความเคารพ ในทางกลับผู้เป็นครู อาจารย์ พึงอนุเคราะห์ตอบต่อศิษย์ ดังนี้ คือ o ให้คำแนะนำที่ดี o ให้ตั้งใจเรียน o บอกวิชาความรู้แก่ศิษย์โดยไม่ปิดบัง o ยกย่องศิษย์ให้ปรากฏแก่เพื่อนฝูง o ปกป้องศิษย์จากอันตรายจากทุกทิศทาง 3.ปัจฉิมทิศ คือ ทิศเบื้องหลัง หมายถึง ภรรยา วิธีไหว้ คือปฏิบัติตนดังนี้ o ยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา o ไม่ดูหมิ่น o ไม่ประพฤตินอกใจ o มอบความเป็นใหญ่ให้ o ให้เครื่องแต่งตัว ในทางกลับกันผู้เป็นภรรยา พึงปฏิบัติต่อสามี ดังนี้ คือ o จัดการงานให้ดี (ดูแลบ้าน) o สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี (ญาติของสามี) o ไม่ประพฤตินอกในสามี o รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ o ขยันไม่เกียจคร้านในการงานทั้งปวง 4. ปัจฉิมทิศ คือ ทิศเบื้องซ้าย หมายถึง เพื่อน วิธีไหว้คือปฏิบัติตนดังนี้ o เผื่อแผ่แบ่งปัน o พูดจาไพเราะ มีน้ำใจ o ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน o ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วย o ซื่อสัตย์จริงใจต่อกันและกัน 5. ทิศเบื้องล่าง หมายถึง คนงาน หรือ คนรับใช้ (บ่าว) วิธีไหว้ คือปฏิบัติตนดังนี้ o จัดการงานให้ทำตามสมควรแก่กำลัง ความสามารถ o ให้ค่าจ้าง และให้รางวัล o รักษาพยาบาลในเวลาที่เขาเจ็บไข้ o ได้ของแปลกๆ พิเศษๆ มาก็แบ่งปันให้ o นอกจากวันหยุดปกติแล้ว ก็ปล่อยให้หยุดในวันอื่นบ้างตามสมควรแก่สมัย ในทางกลับกัน บ่าวคนรับใช้ หรือ ลูกจ้าง พึงปฏิบัติต่อ เจ้านาย หรือ นายจ้าง ดังนี้ คือ o ลุกขึ้นมาทำงานก่อนนาย o เลิกงานทีหลังนาย o ถือเอาแต่สิ่งของที่นายให้เท่านั้น o ทำงานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ o นำคุณธรรมความดีของนายไปสรรเสริญในที่ไปที่นั้นๆ 6. อุปริมทิศ คือทิศเบื้องบน หมายถึง พระสงฆ์ สมณพราหมณ์, นักบวช วิธีไหว้คือปฏิบัติตนดังนี้ o จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยความเมตตา o จะพูดอะไร ก็พูดด้วยความเมตตา o จะคิดอะไร ก็คิดด้วยความเมตตา o ต้อนรับด้วยความเต็มใจ (ไม่ปิดประตูเรือน) o อุปัฏฐากบำรุงท่านด้วยปัจจัย 4( เครื่องนุ่งห่ม, อาหาร, ที่อยู่อาศัย, ยารักษาโรค) ในทางกลับกันฝ่ายพระสงฆ์ สมณะพราหมณ์ นักบวช พึงอนุเคราะห์ตอบ ดังนี้ คือ o ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว o สั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี o อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม o ให้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง (ศึกษารู้ธรรมะอะไรมาที่ยังไม่เคยฟัง ก็มาเล่าให้ฟัง) o ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง (อธิบายธรรมะที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง o บอกหนทางสวรรค์ให้ (บอกวิธีทำความดีต่างๆที่จะเป็นหนทางไปสวรรค์ให้) ที่มา https://www.myfirstbrain.com http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=15094.0

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

จริต6


จริต (อ่านว่า จะหริด) จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตชอบท่องเที่ยว หรืออารมณ์ที่ชอบท่องเที่ยวของจิตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มี 6 ประการ หมายถึง ความประพฤติ คือกิริยาอาการที่แสดงออกมาให้เห็น มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า จริย จริยา หรือ จรรยา โดยทั่วไปจะใช้หมายถึงกิริยาอาการที่ไม่ดี เช่น เสียจริต วิกลจริต ดัดจริต จริตจะก้าน แต่ในทางพุทธศาสนา หมายถึง ความประพฤติ, พื้นเพ นิสัยใจคอ มี 6 อย่างคือ

  1. ราคจริต หนักไปทางรักสวยรักงามคือ พอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล ชอบการมีระเบียบ สะอาด ประณีต พูดจาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะข้อดี มักชอบพัฒนาศิลปะให้แก่สังคม
  2. โทสจริต หนักไปทางเจ้าอารมณ์มักโกรธ เป็นคนขี้โมโหโทโส พูดเสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ แต่งตัวไม่พิถีพิถัน เป็นคนใจเร็ว ชอบจับผิด ข้อดี จึงมองข้อตลกของคนได้ดี จึงมักเป็นคนที่พูดจาได้ตลกและสนุกสนาน เนื่องจากเป็นคนตรงไปตรงมา ปกป้องสังคมจากการเสื่อมได้ดี
  3. โมหจริต หนักไปทางลุ่มหลง ในทรัพย์สมบัติ นิสัยเห็นแก่ตัว อยากได้ของของคนอื่น ลุ่มหลงในลาภสักการะ ชื่อเสียงเกียรติยศ มักงมงายในบทบาทที่สังคมสมมุติให้ บ้าอำนาจ ถือความเห็นตัวเองเป็นใหญ่ ข้อดียึดความเป็นสถาบันสูง
  4. สัทธาจริต หนักไปทางเชื่อถือจริงใจ น้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ เชื่อโดยไร้เหตุผล พวกนี้ถูกหลอกได้ง่าย ใครแนะนำก็เชื่อโดยไม่พิจารณา ชอบเพื่อน ชอบร่วมกลุ่ม พวกมากลากไป แคร์สังคม กลัวคนนินทา ข้อดีชอบช่วยเหลือผู้อ่อนแอ่
  5. พุทธิจริต หนักไปทางใช้ปัญญาเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ การคิดการอ่าน ความทรงจำดี ถือหลักการ อนุรักษ์นิยม ชอบสั่งสอนคนอื่น
  6. วิตกจริต หนักไปทางชอบคิดมาก ถ้าขี้ขลาดจะวิตก กังวล ฟู้งซ่านชอบคิด ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ไม่กล้าตัดสินใจ คิดอย่างไม่มีเหตุผล เกินจริง ชอบแหกกฎเกณฑ์ ข้อดีคิดนอกกรอบ ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆต่อสังคม

 

 กรรมฐานที่เหมาะสมกับแต่ล่ะจริต

  1. ราคจริต เหมาะกับอสุภะ 10 นวสี 9 กายคตานุสสติ
  2. โทสจริต วรรณกสิน4พรหมวิหาร4
  3. โมหจริต อานาปานสติ
  4. วิตกจริต อานาปานสติ กสินทั้ง 6 คือ ปฐวีกสิน อาโปกสิน เตโชกสิน วาโยกสิน อาโลกกสิน อากาสกสิน
  5. สัทธาจริต อนุสสติ6 คือพุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ จาคานุสสติ ศีลานุสสติ เทวตานุสสติ
  6. พุทธิจริต พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาธาตุ4 อาหาเรปฏิกูลสัญญา มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ
อานาปานสติเหมาะสมกับทุกจริต
อารมณ์ที่กล่าวมา 6 ประการนี้ บางคนมีอารมณ์ทั้ง 6 อย่างนี้ครบถ้วน บางรายก็มีไม่ครบ มีมากน้อยกว่ากันตามอำนาจวาสนาบารมีที่อบรมมาในชาติอดีต อารมณ์ที่มีอยู่คล้ายคลึงกัน แต่ความเข้มข้นรุนแรงไม่เสมอกันนั้น เพราะบารมีที่อบรมมาไม่เสมอกัน

ทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา

ทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา คือ ความพอดี ถ้ามากเกินหรือน้อยเกินไปจะมีผลต่อจิตใจ

 ผู้เขียนเคยเรียนถามหลวงพ่อเกี่ยวกับคนที่เสียจริต กรรมอะไรที่ทำให้ต้องเป็นเช่นนั้น หลวงพ่อท่านตอบแบบปัจจุบันกรรม คือ กรรมในชาตินี้ว่า "ผู้ที่เสียใจสุดขีด หรือดีใจสุดขีด จะทำให้เป็นบ้าได้"

เสียจริต*

เสียจริต

to lose one's minds
th • #155715 • th-en-dictionary

เสียสติ

V. be insane
    syn:{บ้า}{เสียจริต}{ฟั่นเฟือน}{วิกลจริต}
    ant:{มีสติ}
    sample:[เด็กคนนี้รู้ว่าตัวเองถูกปฏิเสธเลยเสียสติไป]
V. be insane
    def:[มีจิตใจผิดปกติคนธรรมดา]
    syn:{บ้า}{เสียสติ}{วิกลจริต}
    sample:[คนเหล่านี้คงจะเสียใจจนเสียจริตที่เห็นญาติพี่น้องต้องตายไปต่อหน้าต่อตา]

ADJ. lose one's mind
    def:[ที่มีจิตใจผิดปกติคนธรรมดา]
    syn:{บ้า}{เสียสติ}{วิกลจริต}
    sample:[เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2432 คนเสียจริตจำนวน 30 คนได้ถูกนำมาฝากรวมกันไว้ ณ สถานที่แห่งนี้]

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิเลส 3


ศีล ๕

ศีล ( Morality ) คือ ความปกติ และการรักษาศีลก็คือ ความตั้งใจรักษาปกติของตน อันเป็นหลักปฏิบัติที่ไม่ทำให้เดือดร้อน แก่ตนเองและผู้อื่น และเป็นหลักแห่งความประพฤติที่จะทำให้เกิดความสะอาดทางกาย และวาจา ศีลมีหลายประเภท เช่น ศีล 5, ศีล 8, ศีล 10 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ปฏิบัติ แต่ศีลที่ควรกระทำเพื่อให้เกิดความปกติในสังคมก็คือ ศีล 5 เพราะสะดวก และง่ายที่จะปฏิบัติ มีดังนี้ คือ • พึงละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต • พึงละเว้นจากการลักขโมย ฉ้อฉล • พึงละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม • พึงละเว้นจากการพูดเท็จ • พึงละเว้นจากการดื่มเครื่องดองของเมา ศีลทั้ง 5 ข้อนี้ เป็นหลักจำเป็นในสังคมมนุษย์ที่จะต้องปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปกติ ทั้งในตนเองและสังคม เพราะช่วยควบคุม ความประพฤติมิให้พลาดถลำลงในความชั่วอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงจัดอยู่ในระดับศีลธรรมอันเป็นมูลฐานที่จะนำไปสู่ความสงบ ของจิตใจ ถ้าหากความสะอาดทางกายและวาจาไม่มีแล้ว เราก็ไม่สามารถทำจิตใจให้สงบได้ สรุปได้ว่า ทางสายกลางข้อ 3-4-5 เป็นการปฏิบัติทางศีลเพื่อให้เกิดความปกติทางกายและวาจาเท่านั้น ศีล ๕ ได้แก่.. ๑.ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงดเว้นจากการฆ่า การเบียดเบียน การทำร้ายร่างกายคนและสัตว์ แล้วมีจิตใจประกอบด้วยเมตตากรุณา มีความปรารถนาดี และสงสารเห็นอกเห็นใจผู้อื่นสัตว์อื่น ๒.อทินนาทานา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมยหรือโจร อันได้แก่ ลัก ฉก ชิง วิ่งราว ขู่กรรโชก ขู่เข็ญ ปล้น จี้ ตู่ ฉ้อโกง หลอก ลวง ปลอม ตระบัด เบียดบัง สับเปลี่ยน ลักลอบ ยักยอก และรับสินบน แล้วเป็นผู้มีความขยันประกอบสัมมาชีพ บริจาคทาน และเคารพในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น ๓.กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม บุคคลต้องห้ามสำหรับฝ่ายชาย คือ (๑) ภรรยาคนอื่น (๒) ผู้หญิงที่ยังอยู่ในความอุปการะของผู้อื่น (ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นอยู่) (๓) ผู้หญิงที่จารีตต้องห้าม (แม่ ย่า ยาย พี่สาว น้องสาว ลูกสาว ชี หญิงผู้เยาว์ บุคคลที่ต้องห้ามสำหรับฝ่ายหญิง คือ (๑) สามีคนอื่น (๒) ชายจารีตต้องห้าม (พ่อ ปู่ ตา พี่ชาย น้องชาย ลูกชาย พระภิกษุ สามเณร ชายผู้เยาว์) ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงไม่ใช่เฉพาะ ห้ามแต่ร่วมสังวาสเท่านั้น แม้แต่การเคล้าคลึง การพูดเกี้ยวพาราสี หรือการแสดงอาการ ปฏิพัทธ์แม้แต่ด้วยสายตาเนตรสบเนตร เป็นต้น ก็ชื่อว่า การละเมิดศีลข้อนี้แล้ว เมื่อไม่ล่วงละเมิดศีลข้อนี้แล้วเป็นผู้สำสวมในกามยินดีแต่ในภรรยาของตนเท่านั้น (สทารสันโดษ) จงรักภักดีแต่ในสามีของตน (ปติวัตร) ถ้ายังไม่ได้แต่งงานก็ต้องมีกามสังวร ตั้งตนอยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม มีวัฒนธรรมอันดีชนิดที่ว่า "เข้าตามตรอกออกตามประตู" ๔.มุสาวาทา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงดเว้นจากการพูดเท็จ อันได้แก่คำปด ทวนสาบาน ทำเล่ห์กระเท่ห์ มารยา ทำกิเลส เสริมความสำรวมคำพูดเสียดแทง สับปลับ ผิดสัญยา เสียสัตย์ และคืนคำ แล้ว เป็นผู้รักสัจจะจะพูดแต่คำสัตย์จริงด้วยความจริงใจและปรารถนาดี มุ่งหวังดีต่อผู้ฟัง ๕.สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงเว้นจากการดื่มน้ำเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท อันได้แก่ น้ำสุรา เมรัย เครื่องดื่มมึนเมาอื่น ๆ และการเสพยาเสพติดอื่นๆ เช่น ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา ยาบ้า หรือแม้แต่บุหรี่ แล้วเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะในการประกอบกิจการทั้งปวง และเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิตในการงาน ในวัย ในเพศ ผู้จะเป็นคนเต็มคน คือ 100% จะต้องเป็นผู้มีการดำเนินชีวิตประจำวันที่ประกอบด้วยเบญจศีลเบญจธรรมทั้ง ๕ ประเด็นดังกล่าวแล้ว ถ้าขาด ๑ ประเด็นก็เป็นคนเพียง ๘๐ % หรือขาด ๒ ประเด็นก็เป็นคนเพียง ๖๐ % เป็น นับว่าเป็นหลักการขั้นพื้นฐานที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน มุ่งเน้นให้พุทธศาสนิกชนได้ประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อความเป็นมนุษย์อันจะได้เป็นสมาชิกที่ของสังคม ความสงบสุขในสังคมแต่ละวันจะเกิดขึ้นได้ก็อาศัยหลักมนุษยธรรม หรือ แต่ละคนเป็นคนเต็มคนนั่นเอง http://www.sil5.net/index.asp?autherid=14&ContentID=10000024&title=%A1%D2%C3%C3%D1%A1%C9%D2%C8%D5%C5+5&bttcol=False

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สังคหวัตถุ 4

สังคหวัตถุ 4 หมายถึง
หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่
1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้

2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้

เว้นจากการพูดเท็จ
เว้นจากการพูดส่อเสียด
เว้นจากการพูดคำหยาบ
เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย

อิทธิบาท 4

อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ
๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน

ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ

วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง

จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่

วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่

http://www.learntripitaka.com/scruple/Itibaht4.html
 

กิจในอริยสัจ 4

กิจในอริยสัจ 4
กิจในอริยสัจ คือสิ่งที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ ได้แก่
  1. ปริญญา - ทุกข์ ควรรู้ คือการทำความเข้าใจปัญหาหรือสภาวะที่เป็นทุกข์อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง เป็นการเผชิญหน้ากับปัญหา
  2. ปหานะ - สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ
  3. สัจฉิกิริยา - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย
  4. ภาวนา - มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ไร้ปัญหา
กิจทั้งสี่นี้จะต้องปฏิบัติให้ตรงกับมรรคแต่ละข้อให้ถูกต้อง การรู้จักกิจในอริยสัจนี้เรียกว่ากิจญาณ
กิจญาณเป็นส่วนหนึ่งของญาณ 3 หรือญาณทัสสนะ (สัจญาณ, กิจญาณ, กตญาณ) ซึ่งหมายถึงการหยั่งรู้ครบสามรอบ ญาณทั้งสามเมื่อเข้าคู่กับกิจในอริยสัจทั้งสี่จึงได้เป็นญาณทัสนะมีอาการ 12 ดังนี้
  1. สัจญาณ หยั่งรู้ความจริงสี่ประการว่า
    1. นี่คือทุกข์
    2. นี่คือเหตุแห่งทุกข์
    3. นี่คือความดับทุกข์
    4. นี่คือทางแห่งความดับทุกข์
  2. กิจญาณ หยั่งรู้หน้าที่ต่ออริยสัจว่า
    1. ทุกข์ควรรู้
    2. เหตุแห่งทุกข์ควรละ
    3. ความดับทุกข์ควรทำให้ประจักษ์แจ้ง
    4. ทางแห่งความดับทุกข์ควรฝึกหัดให้เจริญขึ้น
  3. กตญาณ หยั่งรู้ว่าได้ทำกิจที่ควรทำได้เสร็จสิ้นแล้ว
    1. ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว
    2. เหตุแห่งทุกข์ได้ละแล้ว
    3. ความดับทุกข์ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว
    4. ทางแห่งความดับทุกข์ได้ปฏิบัติแล้ว

 อ้างอิง

  • ราชบัณฑิตยสถาน. (2548). พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. หน้า 65-66.