วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กรรม 12


กรรม 12 หรือกรรม 3 หมวด ๆ ละ 4 นี้ มิได้มาในพระบาลีในรูปนี้ โดยตรง พระอาจารย์ในสมัยต่อมา เช่นพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นต้น ได้รวบรวมจัดเรียงเป็นแบบอย่างไว้ในภายหลัง
        ผลร้ายผลดีต่าง ๆ เนื่องจากกรรม คือการกระทำของสัตว์
       จากจูฬกัมมวิภังคสูตร สูตรว่าด้วยการจำแนกกรรมสูตรเล็ก
ผลดีของกรรม
1. มีอายุยืนเพราะ ไม่ฆ่าสัตว์
2. มีโรคน้อยเพราะ ไม่เบียดเบียนสัตว์
3. มีผิวพรรณดีเพราะ ไม่ขี้โกรธ
4. มีศักดามากเพราะ ไม่มักริษยา
5. มีโภคทรัพย์มากเพราะ ให้ทาน
6. เกิดในตระกูลสูงเพราะ ไม่กระด้าง ถือตัว แต่รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน
7. มีปัญญาดีเพราะ เข้าไปหาผู้รู้ครูอาจารย์ สมณพราหมณ์ ไต่ถามเรื่องกุศล อกุศล เป็นต้น
ผลร้ายของกรรม
1. มีอายุน้อยเพราะ ฆ่าสัตว์
2. มีโรคมากเพราะ เบียดเบียนสัตว์
3. มีผิวพรรณทรามเพราะ ขี้โกรธ
4. มีศักดาน้อยเพราะ มักริษยา
5. มีโภคทรัพย์น้อยเพราะ ไม่ให้ทาน
6. เกิดในตระกูลต่ำเพราะ กระด้าง ถือตัว ไม่อ่อนน้อมถ่อมตน
7. มีปัญญาทราม เพราะไม่เข้าไปหาผู้รู้ครูอาจารย์ สมณพราหมณ์ ไต่ถามเรื่องกุศล อกุศล เป็นต้น
(คำถามคำตอบเรื่องผลร้ายผลดีของกรรมนี้ ผู้ถามคือ สุภมาณพ บุตรแห่งโตเตยยพราหมณ์ เข้าไปทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขณะประทับอยู่ ณ เชตวนาราม)
http://www.wfb-hq.org/specth7.htm

มรรคสมังคี(ละสังโยชน์10)

มรรคสมังคี ละสังโยชน์ ละอวิชชา
มรรคสมังคี คือ มรรคแปดรวมเป็นหนึ่ง
คือ ศีล สมาธิ ปัญญา รวมเป็นหนึ่ง
เพื่อละสังโยชน์ จะเกิดไม่เกิน 4 ครั้ง
มรรคสมังคี หรือ จิตยิ้ม นี่ตัวเดียวกันเกิดไม่เกิน 4 ครั้ง
แล้วแต่บางองค์ท่านกำลังมาก อาจเป็นครั้งเดียว
ละอวิชชาได้เลย ก็เกิดครั้งเดียว
สังโยชน์ (บาลี: samyojana) คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์,
 ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือ
กิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี 10 อย่าง คือ
 ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แก่


  • 1. สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา มีความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่ง
  • 2. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
  • 3. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย
  • 4. กามราคะ - มีความติดใจในกามคุณ
  • 5. ปฏิฆะ - มีความกระทบกระทั่งในใจ
  • ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง 5 ได้แก่
    • 6. รูปราคะ - มีความติดใจในวัตถุหรือรูปฌาน
    • 7. อรูปราคะ - มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย
    • 8. มานะ - มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือคุณสมบัติของตน
    • 9. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน
    • 10. อวิชชา - มีความไม่รู้จริง