วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สังคหวัตถุ 4

สังคหวัตถุ 4 หมายถึง
หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่
1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้

2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้

เว้นจากการพูดเท็จ
เว้นจากการพูดส่อเสียด
เว้นจากการพูดคำหยาบ
เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย

อิทธิบาท 4

อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ
๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน

ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ

วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง

จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่

วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่

http://www.learntripitaka.com/scruple/Itibaht4.html
 

กิจในอริยสัจ 4

กิจในอริยสัจ 4
กิจในอริยสัจ คือสิ่งที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ ได้แก่
  1. ปริญญา - ทุกข์ ควรรู้ คือการทำความเข้าใจปัญหาหรือสภาวะที่เป็นทุกข์อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง เป็นการเผชิญหน้ากับปัญหา
  2. ปหานะ - สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ
  3. สัจฉิกิริยา - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย
  4. ภาวนา - มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ไร้ปัญหา
กิจทั้งสี่นี้จะต้องปฏิบัติให้ตรงกับมรรคแต่ละข้อให้ถูกต้อง การรู้จักกิจในอริยสัจนี้เรียกว่ากิจญาณ
กิจญาณเป็นส่วนหนึ่งของญาณ 3 หรือญาณทัสสนะ (สัจญาณ, กิจญาณ, กตญาณ) ซึ่งหมายถึงการหยั่งรู้ครบสามรอบ ญาณทั้งสามเมื่อเข้าคู่กับกิจในอริยสัจทั้งสี่จึงได้เป็นญาณทัสนะมีอาการ 12 ดังนี้
  1. สัจญาณ หยั่งรู้ความจริงสี่ประการว่า
    1. นี่คือทุกข์
    2. นี่คือเหตุแห่งทุกข์
    3. นี่คือความดับทุกข์
    4. นี่คือทางแห่งความดับทุกข์
  2. กิจญาณ หยั่งรู้หน้าที่ต่ออริยสัจว่า
    1. ทุกข์ควรรู้
    2. เหตุแห่งทุกข์ควรละ
    3. ความดับทุกข์ควรทำให้ประจักษ์แจ้ง
    4. ทางแห่งความดับทุกข์ควรฝึกหัดให้เจริญขึ้น
  3. กตญาณ หยั่งรู้ว่าได้ทำกิจที่ควรทำได้เสร็จสิ้นแล้ว
    1. ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว
    2. เหตุแห่งทุกข์ได้ละแล้ว
    3. ความดับทุกข์ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว
    4. ทางแห่งความดับทุกข์ได้ปฏิบัติแล้ว

 อ้างอิง

  • ราชบัณฑิตยสถาน. (2548). พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. หน้า 65-66.

อริยสัจ 4



อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4

เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ



1. ทุกข์
 คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์ หรือขันธ์ 5

 2. ทุกขสมุทัย
คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ

 3. ทุกขนิโรธ
 คือความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิง
 4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
 คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ ได้แก่



มรรคอันมีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ

1. สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ

2. สัมมาสังกัปปะ-ความดำริชอบ

3. สัมมาวาจา-เจรจาชอบ

4. สัมมากัมมันตะ-ทำการงานชอบ

5. สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ

6. สัมมาวายามะ-พยายามชอบ

7. สัมมาสติ-ระลึกชอบ

 8. สัมมาสมาธิ-ตั้งใจชอบ

ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง

มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังนี้

1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ

2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ และ

3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ

อริยสัจ 4 นี้ เรียกสั้น ๆ ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค

ขุมกำลังความดีทั้ง4

เบญจพิธมาร ผู้กีดกันบุญกุศล มี 5 อย่าง



ในพระพุทธศาสนาได้แบ่งมารออกเป็น 5 ประเภทได้แก่
  1. กิเลสมาร คือ กิเลสซึ่งทำให้เรามีความประพฤติ และนิสัยไม่ดีต่างๆ ในแง่ของมารหมายถึง กิเลสที่คอยขัดขวางไม่ให้เราทำความดี
  2. ขันธมาร คือ ร่างกายและจิตใจของเรา ซึ่งบกพร่องแล้วเป็นมารผลาญตัวเอง ในแง่ของมารหมายถึง ขันธ์ที่คอยกีดขวางการทำความดี เช่น ต้องการฟังธรรมะ แต่หูหนวก ไม่สามารถฟังธรรมได้ เป็นต้น
  3. อภิสังขารมาร อภิสังขารคือความคิดนึกอันประกอบกับอารมณ์ เป็นมารเพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม ทำให้เกิดชาติชรา เป็นต้น ขัดขวางไม่ให้หลุดพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏ
  4. เทวบุตรมาร ได้แก่ เทวดาที่เป็นมาร เช่น พระยามาร รวมไปถึงคนพาล คนชั่ว ที่มาขัดขวางการทำความดีของเรา
  5. มัจจุมาร คือ ความตายที่ตัดโอกาสการทำความดีของเรา

มาร (บาลี: มรฺ; อังกฤษ: Mara - แปลว่า "ตาย" มารจึงแปลว่า "ผู้ให้ตาย") ในความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน จะหมายถึง เทวดาจำพวกหนึ่ง มีใจบาปหยาบช้าคอยกีดกันไม่ให้ทำบุญ, ยักษ์, ผู้ฆ่า, ผู้ทำลาย, ในพระพุทธศาสนาหมายถึง ผู้กีดกันบุญกุศล มี 5 อย่าง เรียกว่า "เบญจพิธมาร" คือ ขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร และเทวบุตรมาร โดยปริยายหมายถึงผู้ที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บารมี 10

“ธรรม ๑๐ ประการ อัน บุคคลปฏิบัติแล้วจักบรรลุพระโพธิญาณ”

บารมี แปลว่า กำลังใจเต็ม บารมี 10 ทัศ มีดังนี้
  1. ทานบารมีี จิตของเราพร้อมที่จะให้ทานเป็นปกติ
  2. ศีลบารมี จิตของเราพร้อมในการทรงศีล
  3. เนกขัมมบารมี จิตพร้อมในการทรงเนกขัมมะเป็นปกติ เนกขัมมะ แปลว่า การถือบวช แต่ไม่ใช่ว่า ต้องโกนหัวไม่จำเป็น
  4. ปัญญาบารมี จิตพร้อมที่จะใช้ปัญญาเป็นเครื่องประหัตประหารให้พินาศไป
  5. วิริยบารมี วิิริยะ มีความเพียรทุกขณะ ควบคุมใจไว้เสมอ
  6. ขันติบารมี ขันติ มีทั้งอดทน อดกลั้นต่อสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์
  7. สัจจะบารมี สัจจะ ทรงตัวไว้ตลอดเวลา ว่าเราจะจริงทุกอย่าง ในด้านของการทำความดี
  8. อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ให้ตรงโดยเฉพาะ
  9. เมตตาบารมี สร้างอารมณ์ความดี ไม่เป็นศัตรูกับใคร มีความรักตนเสมอด้วยบุคคลอื่น
  10. อุเบกขาบารมี วางเฉยเข้าไว้ เมื่อร่างกายมันไม่ทรงตัว ใช้คำว่า "ช่างมัน" ไว้ในใจ

บารมี หมายถึง การกระทำที่ประเสริฐ

พรหมจรรย์นั้น มี ๑๐ อย่าง



ข้อวัตร ที่เรียกว่า พรหมจรรย์นั้น มี ๑๐ อย่าง คือ

๑. ทาน

๒. เวยยาวัจจะ

๓. เบญจศีล

๔. เมตตาอัปปมัญญา

๕. เมถุนวิรัติ

๖. สทารสันโดษ

๗. วิริยะ

๘. อุโบสถ

๙. อริยมรรค

๑๐. ศาสนา



หมายความว่า ข้อปฏิบัติ สิบข้อนี้ แต่ละข้อ เรียกว่า พรหมจรรย์
พรหมจรรย์ ทั้งสิบนี้ ถ้าแบ่งเป็นชั้น ก็ได้ ๓ ชั้น ต่ำ กลาง สูง และให้สังเกตว่า ทุกชั้น ต้องมีศีล กับธรรม ควบกันไปเสมอ

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วิญญาณฐิติ 7

















วิญญาณฐิติ 7 (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ — abodes or supports of consciousness)
1. สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า วินิปาติกะ (เปรต) บางเหล่า (beings different in body and in perception)
2. สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เหล่าเทพจำพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน (beings different in body, but equal in perception)
3. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพอาภัสสระ (beings equal in body, but different in perception)
4. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพสุภกิณหะ (beings equal in body and in perception)
5. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ* (beings reborn in the sphere of Boundless Space)
6. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ *(beings reborn in the sphere of Boundless Consciousness)
7. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ (beings reborn in the sphere of Nothingness)

*อากาสานัญจายตนะ-กำหนดช่องว่างหาที่สุดไม่ได้ (ซึ่งเกิดจากการเพิกกสิณออกไป) เป็นอารมณ์
*วิญญาณัญจายตนะ-กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ (คือเลิกกำหนดที่ว่าง เลยไปกำหนดวิญญาณแผ่ไปสู่ที่ว่างแทน) เป็นอารมณ์
อากิญจัญญายตนะ
-


(เลิกกำหนดวิญญาณเป็นอารมณ์ เลยไป) กำหนดภาวะไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์
เนวสัญญานาสัญญายตนะ-
(เลิกกำหนดแม้แต่ภาวะที่ไม่มีอะไรเลย) เข้าสู่ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=284

วิสุทธิ 7



วิสุทธิ 7 (ความหมดจด, ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นไปเป็นขั้นๆ, ธรรมที่ชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์ ยังไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดมุ่งหมายคือนิพพาน — purity; stages of purity; gradual purification)
1. สีลวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งศีล คือ รักษาศีลตามภูมิขั้นของตนให้บริสุทธิ์ และให้เป็นไปเพื่อสมาธิ — purity of morality) วิสุทธิมรรคว่าได้แก่ ปาริสุทธิศีล 4 [160]
2. จิตตวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งจิต คือ ฝึกอบรมจิตจนบังเกิดสมาธิพอเป็นบาทฐานแห่งวิปัสสนา — purity of mind) วิสุทธิมรรคว่า ได้แก่ สมาบัติ 8 พร้อมทั้งอุปจาร
3. ทิฏฐิวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งทิฏฐิ คือ ความรู้เข้าใจมองเห็นนามรูปตามสภาวะเป็นจริง เป็นเหตุข่มความเข้าใจผิดว่าเป็นสัตว์บุคคลเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความหลงผิด — purity of view; purity of understanding) จัดเป็นขั้นกำหนดทุกขสัจ
4. กังขาวิตรณวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณเป็นเหตุข้ามพ้นความสงสัย, ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัยในกาลทั้ง 3 — purity of transcending doubts) ข้อนี้ ตรงกับ ธรรมฐิติญาณ หรือ ยถาภูตญาณ หรือ สัมมาทัสสนะ จัดเป็นขั้นกำหนดสมุทัยสัจ
5. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง คือ เริ่มเจริญวิปัสสนาต่อไปด้วยพิจารณากลาป จนมองเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย อันเรียกว่าอุทยัพยานุปัสสนา เป็นตรุณวิปัสสนา คือวิปัสสนาญาณอ่อนๆ แล้วมีวิปัสสนูปกิเลส เกิดขึ้น กำหนดได้ว่าอุปกิเลสทั้ง 10 แห่งวิปัสสนานั้นมิใช่ทาง ส่วนวิปัสสนาที่เริ่มดำเนินเข้าสู่วิถีนั่นแลเป็นทางถูกต้อง เตรียมที่จะประคองจิตไว้ในวิถีคือ วิปัสสนาญาณนั้นต่อไป — purity of the knowledge and vision regarding path and not-path) ข้อนี้จัดเป็นขั้นกำหนดมัคคสัจ
6. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน คือ ประกอบความเพียรในวิปัสสนาญาณทั้งหลายเริ่มแต่อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ที่พ้นจากอุปกิเลสดำเนินเข้าสู่วิถีทางแล้วนั้น เป็นต้นไป จนถึงสัจจานุโลมิกญาณหรืออนุโลมญาณ อันเป็นที่สุดแห่งวิปัสสนา ต่อแต่นี้ก็จะเกิดโคตรภูญาณ คั่นระหว่างวิสุทธิข้อนี้กับข้อสุดท้าย เป็นหัวต่อแห่งความเป็นปุถุชนกับความเป็นอริยบุคคล โดยสรุป วิสุทธิข้อนี้ ก็คือ วิปัสสนาญาณ 9 — purity of the knowledge and vision of the way of progress)
7. ญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ คือ ความรู้ในอริยมรรค 4 หรือ มรรคญาณ อันเกิดถัดจากโคตรภูญาณเป็นต้นไป เมื่อมรรคเกิดแล้วผลจิตแต่ละอย่างย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไปจากมรรคญาณนั้นๆ ความเป็นอริยบุคคลย่อมเกิดขึ้นโดยวิสุทธิข้อนี้ เป็นอันบรรลุผลที่หมายสูงสุดแห่งวิสุทธิ หรือไตรสิกขา หรือการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น — purity of knowledge and vision)

วิสุทธิ 7 เป็นปัจจัยส่งต่อกันขึ้นไปเพื่อบรรลุนิพพาน ดุจรถ 7 ผลัดส่งต่อกันให้บุคคลถึงที่หมาย โดยนัยดังแสดงแล้ว
ดู [328] วิปัสสนูปกิเลส 10; [311] วิปัสสนาญาณ 9
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=285


M.I.149;
Vism.1-710.
ม.มู. 12/298/295;
คัมภีร์วิสุทธิมรรคทั้งหมด.



สัปปายะ 7


สัปปายะ 7 (สิ่งที่เหมาะกัน สิ่งที่เกื้อกูล ช่วยสนับสนุนในการบำเพ็ญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิตั้งมั่น ไม่เสื่อมถอย — suitable things; things favorable to mental development)
1. อาวาสสัปปายะ
 (ที่อยู่ซึ่งเหมาะกัน เช่น ไม่พลุกพล่านจอแจ — suitable abode)
2. โคจรสัปปายะ
 (ที่หาอาหาร ที่เที่ยวบิณฑบาตที่เหมาะดี เช่น มีหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีอาหารบริบูรณ์อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป — suitable resort)
3. ภัสสสัปปายะ
(การพูดคุยที่เหมาะกัน เช่น พูดคุยเล่าขานกันแต่ในกถาวัตถุ 10 และพูดแต่พอประมาณ — suitable speech)
4. ปุคคลสัปปายะ
(บุคคลที่ถูกกันเหมาะกัน เช่น มีท่านผู้ทรงคุณธรรม ทรงภูมิปัญญาเป็นที่ปรึกษาเหมาะใจ — suitable person)
5. โภชนสัปปายะ
(อาหารที่เหมาะกัน เช่น ถูกกับร่างกาย เกื้อกูลต่อสุขภาพ ฉันไม่ยาก — suitable food)
6. อุตุสัปปายะ
  (ดินฟ้าอากาศธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะกัน เช่น ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป เป็นต้น — suitable climate)
7. อิริยาปถสัปปายะ
(อิริยาบถที่เหมาะกัน เช่น บางคนถูกกับจงกรม บางคนถูกกับนั่ง ตลอดจนมีการเคลื่อนไหวที่พอดี — suitable posture)
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=286

Vism.127;
Vin.A.II.429;
MA.II.911
วิสุทฺธิ. 1/161;
วินย.อ. 1/524;
ม.อ. 3/570




พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=286

อนุสัย 7















อนุสัย 7 (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน — latent tendencies)
1. กามราคะ (ความกำหนัดในกาม, ความอยากได้ติดใจในกาม — lust for sense-pleasure)
2. ปฏิฆะ (ความขัดใจ, ความหงุดหงิดขัดเคืองคือโทสะ — repulsion; irritation; grudge)
3. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด, การถือความเห็น เอาความคิดเห็นเป็นความจริง — wrong view; speculative opinion)
4. วิจิกิจฉา (ความลังเล, ความสงสัย — doubt; uncertainty)
5. มานะ (ความถือตัว — conceit)
6. ภวราคะ (ความกำหนัดในภพ, ความอยากเป็น อย่างยิ่งใหญ่ อยากยั่งยืน — lust for becoming)
7. อวิชชา (ความไม่รู้จริง คือ โมหะ — ignorance)

อนุสัย 7 นี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังโยชน์ 7


D.III.254,.282;
A.IV. 8;
Vbh;383
ที.ปา. 11/337/266;
องฺ.สตฺตก. 23/11/8;
อภิ.วิ. 35/1005/517.

http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=288

อริยทรัพย์ 7


อริยทรัพย์ 7 (ทรัพย์อันประเสริฐ, ทรัพย์คือคุณธรรมประจำใจอย่างประเสริฐ — noble treasures)
1. ศรัทธา (ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในหลักที่ถือและในการดีที่ทำ — confidence)
2. ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ประพฤติถูกต้องดีงาม — morality; good conduct; virtue)
3. หิริ (ความละอายใจต่อการทำความชั่ว — moral shame; conscience)
4. โอตตัปปะ (ความเกรงกลัวต่อความชั่ว — moral dread; fear-to-err)
5. พาหุสัจจะ (ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก — great learning)
6. จาคะ (ความเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ — liberality)
7. ปัญญา (ความรู้ความเข้าใจถ่องแท้ในเหตุผล ดีชั่ว ถูกผิด คุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ รู้คิด รู้พิจารณา และรู้ที่จะจัดทำ — wisdom)

อริยทรัพย์ เป็นทรัพย์อันประเสริฐอยู่ภายในจิตใจ ดีกว่าทรัพย์ภายนอกเพราะไม่มีผู้ใดแย่งชิง ไม่สูญหายไปด้วยภัยอันตรายต่างๆ ทำใจให้ไม่อ้างว้าง ยากจน และเป็นทุนสร้างทรัพย์ภายนอกได้ด้วย
ธรรม 7 นี้ เรียกอีกอย่างว่า พหุการธรรม หรือ ธรรมมีอุปการะมาก (virtues of great assistance; D.III.282; ที.ปา. 11/433/310) เพราะเป็นกำลังหนุนช่วยส่งเสริมในการบำเพ็ญคุณธรรมต่างๆ ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้สำเร็จได้อย่างกว้างขวางไพบูลย์ เปรียบเหมือนคนมีทรัพย์มาก ย่อมสามารถใช้จ่ายทรัพย์เลี้ยงตนเลี้ยงผู้อื่นให้มีความสุข และบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ ได้เป็นอันมาก.


D.III.163, 267;
A.IV.5.
ที.ปา. 11/326/264;
องฺ.สตฺตก. 23/6/5.

[***] อริยบุคคล 7 ดู [63] อริยบุคคล 7
[***] อุบาสกธรรม 7 ดู [260] อุบาสกธรรม 7

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
 
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=292

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ธรรมธาตุ 7












ธรรมธาตุ 7

หมายถึง ระบบการทำงานของนามธาตุ คือ

เวทนา

สัญญา

สังขาร

วิญญาณ

มโน จิต

และ ภวังค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี อ่านเพิ่ม>>

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความตระหนี่ ๕ ประการ

ความตระหนี่  ๕ ประการ  คือ 

ความตระหนี่ที่อยู่,  ความตระหนี่ตระกูล,  ความตระหนี่ลาภ,ความตระหนี่วรรณะ,     ความตระหนี่ธรรม,

อกุศลมูล3

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พระพุทธศาสโนวาทหมวดธรรมข้อเดียว

พระพุทธศาสโนวาทบางข้อ
จัดเป็นหมวดตามลำดับจำนวน


<><>
<><>
<><>
<><>
<><>
<><>
<><>
หมวดธรรมข้อเดียว
๑.
จิตที่มิได้อบรม    เป็นไปเพื่อความเสียหายอันยิ่งใหญ่
๒.
จิตที่อบรมแล้ว    เป็นไปเพื่อประโยชน์อันยิ่งใหญ่
๓.
ความประมาท    เป็นไปเพื่อความเสียหายอันยิ่งใหญ่
๔.
ความไม่ประมาท    เป็นไปเพื่อประโยชน์อันยิ่งใหญ่
๕.
การไม่พิจารณาโดยแยบคาย    เป็นไปเพื่อความเสียหายอันยิ่งใหญ่
๖.
การพิจารณาโดยแยบคาย    เป็นไปเพื่อประโยชน์อันยิ่งใหญ่





หมวดธรรมสองข้อ


๑. ธรรมมีอุปการะมาก ๒

๑. สติ ความระลึกได้

๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว

๒. ธรรมคุ้มครองโลก ๒

๑. หิริ ความละอายใจ (ที่จะทำความชั่ว)

๒. โอตตัปปะ ความเกรงกลัว (ที่จะทำความชั่ว)
๓.ธรรมทำให้งาม ๒
๑.ขันติ    ความอดทน
๒.โสรัจจะ    ความสงบเสงี่ยม
๔.ธรรมทำให้ประเสริฐ ๒
๑.วิชชา    ความรู้ดี
๒.จรณะ    ความประพฤติดี
๕.ธรรมที่นำไปสู่ความดับทุกข์ ๒
๑.สมถะ    ความสงบระงับแห่งจิต
๒.วิปัสสนา    ปัญญาอันเห็นแจ่มแจ้ง
๖.ธรรมที่นับเป็นความดับทุกข์ ๒
๑.วิชชา    ความรู้ดี
๒.วิมุตติ    ความหลุดพ้น
๗.คนดีประกอบด้วยธรรม ๒
๑.กตัญญุตา    ความเป็นผู้รู้คุณ
๒.กตเวทิตา    ความเป็นผู้ตอบแทนคุณ

หมวดธรรมสามข้อ
๑.พระรัตนตรัย   หรือสิ่งมีค่า ๓
๑.พระพุทธ    ท่านผู้ตรัสรู้ดี
๒.พระธรรม    ความจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้และสั่งสอน
๓.พระสงฆ์    หมู่พระสาวกผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
(ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสั่งสอน)
๒.หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ๓ ข้อ
๑.เว้นความชั่วทั้งปวง
๒.บำเพ็ญความดี
๓.ชำระจิตของตนให้สะอาด
๓.หลักการศึกษาทางพระพุทธศาสนา    หรือสิกขา ๓
๑.การศึกษาเรื่องศีล    (สีลสิกขา)  คือ   ความประพฤติทางกาย  วาจา
๒.การศึกษาเรื่องจิต   (จิตตสิกขา)  คือ   การทำจิตให้สงบ
๓.การศึกษาเรื่องปัญญา (ปัญญาสิกขา)  คือ   ความรู้แจ้งเห็นจริง
๔.บุญกิริยาวัตถุ    ที่ตั้งแห่งการทำบุญ ๓
๑.การเอื้อเฟื้อให้ปัน   (ทาน)
๒. ความประพฤติดีทางกาย วาจา  (ศีล)
๓.การอบรมจิตและปัญญา   (ภาวนา)
๕. ความประพฤติชอบหรือสุจริต ๓
๑.ความประพฤติชอบทางกาย   (กายสุจริต)
๒.ความประพฤติชอบทางวาจา   (วจีสุจริต)
๓.ความประพฤติชอบทางใจ   (มโนสุจริต)
หมวดธรรมสี่ข้อ
๑.ความจริงอันประเสริฐ   หรืออริยสัจ  ๔  ประการ
๑.ทุกข์  (ทุกข์)
๒.เหตุให้เกิดทุกข์   (สมุทัย)
๓.ความดับทุกข์   (นิโรธ)
๔.ทางหรือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์   (มรรค)
๒.อธิษฐานธรรม   (ธรรมที่ควรไว้ในใจ)  ๔
๑. ปัญญา    พิจารณาเหตุผล
๒. สัจจะ    จริงวาจาและจริงใจ
๓. จาคะ    การสละสิ่งที่ชั่วหรือผิดพลาด
๔. อุปสมะ    ความสงบระงับ
๓. อิทธิบาท   (คุณธรรมที่ทำให้บรรลุความสำเร็จ)   ๔
๑. พอใจในสิ่งนั้น   (ฉันทะ)
๒. เพียรพยายามในสิ่งนั้น   (วิริยะ)
๓. เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น   (จิตตะ)
๔. พิจารณาสอบสวนในสิ่งนั้น   (วิมังสา)
๔. พรหมวิหาร   (ธรรมประจำใจของผู้ประเสริฐ)   ๔
๑. ไมตรีจิตคิดจะให้เป็นสุข   (เมตตา)
๒. คิดจะช่วยให้พ้นทุกข์   (กรุณา)
๓. พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี   (มุทิตา)
๔.วางใจเป็นกลางไม่ลำเอียง   (อุเบกขา)
๕. สังคหวัตถุ   (ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งการสงเคราะห์)   ๔
๑. เอื้อเฟื้อให้ปัน   (ทาน)
๒. พูดจาอ่อนหวาน   (ปิยวาจา)
๓. บำเพ็ญประโยชน์   (อัตถจริยา)
๔. วางตัวให้เข้ากันได้    ไม่ยกตนข่มท่าน   (สมานัตตตา)
๖. ความเพียรชอบ   ๔
๑. เพียรระวังความชั่วความผิดพลาด
๒. เพียรละเว้นความชั่วความผิดพลาด
๓. เพียรทำคุณงามความดีให้เกิดขึ้น
๔. เพียรรักษาคุณงามความดีไว้ไม่ให้เสื่อม
หมวดธรรมห้าข้อ
๑. ธรรมะที่ทำให้อาจหาญมั่นใจในตนเอง   (เวสารัชชกรณธรรม)  ๕
๑. เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ   (ศรัทธา)
๒. มีความประพฤติดี   (ศีล)
๓. มีความรู้ดี    ศึกษาหาความรู้   (พาหุสัจจะ)
๔. มีความขยันหมั่นเพียร   (วิริยารัมภะ)
๕. ใช้ปัญญาพิจารณาเหตุผล   (ปัญญา)
๒. ธรรมะที่เป็นกำลัง   (พลธรรม)  ๕
๑. เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ   (ศรัทธา)
๒. มีความเพียร   (วิริยะ)
๓. มีสติควบคุม   (สติ)
๔. มีใจตั้งมั่น   ไม่ฟุ้งซ่าน  (สมาธิ)
๕. ใช้ปัญญาพิจารณาเหตุผล  (ปัญญา)
๓. ความเจริญแบบอารยะ   (อริยวัฑฒิ)  ๕
๑. เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ   (ศรัทธา)
๒. มีความประพฤติดี   (ศีล)
๓. มีความรู้ดี   (สุตะ)
๔. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้ปัน   (จาคะ)
๕. ใช้ปัญญาพิจารณาเหตุผล   (ปัญญา)
๔. ศีล  ๕   (คู่กับธรรม  ๕)
๑. เว้นจากการฆ่า
๒. เว้นจากการลักขโมย
๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เว้นจากการพูดปด
๕. เว้นจากสิ่งเสพติดหรือเครื่องดองของเมา
๕. ธรรม  ๕   (คู่กับศีล  ๕)
๑. มีความปรารถนาดีไมตรีจิต
๒. ประกอบอาชีพสุจริต
๓. สำรวมในกาม
๔. พูดคำสัตย์จริง
๕. มีสติสำรวมระวัง
หมวดธรรมหกข้อ
          ธรรม   ๖    ข้อ     ที่สร้างความกลมเกลียวและสามัคคี    (สาราณียธรรม    ธรรมะ
ที่ทำให้ระลึกถึงกัน)
๑. แสดงไมตรีจิตด้วยพฤติกรรมทางกาย
๒. แสดงไมตรีจิตด้วยพฤติกรรมทางวาจา
๓. มีไมตรีจิตทางความนึกคิด
๔. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้ปัน
๕. มีระเบียบวินัยร่วมกับคนอื่น
๖. มีความเห็นที่ถูกต้องร่วมกับคนอื่น
หมวดธรรมเจ็ดข้อ
๑. สัปปุริสธรรม   หรือธรรมของคนดี  ๗
๑. การรู้เหตุ
๒. การรู้ผล
๓. การรู้ตน
๔. การรู้ประมาณ
๕. การรู้กาลเวลา
๖. การรู้ประชุมชน
๗. การรู้ปัจเจกบุคคล
๒. สัปปุริสธรรม   ๗   หรือธรรมของคนดีอีกอย่างหนึ่ง
๑. ความเชื่ออย่างมีเหตุผล   (ศรัทธา)
๒. ความละอายต่อความชั่ว   (หิริ)
๓. ความเกรงกลัวต่อความชั่ว   (โอตตัปปะ)
๔. ความรู้หรือการศึกษาดี
๕. ความเพียร
๖. สติ
๗. ปัญญา
๓. อริยทรัพย์   หรือทรัพย์ประเสริฐ  ๗   อย่าง
๑. ความเชื่ออย่างมีเหตุผล
๒. ความประพฤติดีมีศีล
๓. ความละอายต่อความชั่ว
๔. ความเกรงกลัวต่อความชั่ว
๕. ความรู้หรือการศึกษาดี
๖. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
๗. ปัญญา
๔. วัตตบท  ๗   เหมาะสำหรับบุคคลผู้เป็นหัวหน้า
๑. เลี้ยงดูบิดามารดา
๒. อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล
๓. พูดจาอ่อนหวานผูกมิตร
๔. เว้นจากการพูดยุยงหรือส่อเสียดให้แตกร้าว
๕. ขจัดความตระหนี่
๖. มีสัจจะ
๗. ระงับหรือควบคุมความโกรธ
หมวดธรรมแปดข้อ
๑. โลกธรรม   หรือธรรมประจำโลก  ๘  ประการ
๑. ได้ลาภ
๒. เสื่อมลาภ
๓. ได้ยศ
๔. เสื่อมยศ
๕. สรรเสริญ
๖. นินทา
๗. สุข
๘. ทุกข์
๒. อริยมรรค หรือหนทางอันประเสริฐ  ๘   ประการ
๑. ปัญญาเห็นชอบ   (สัมมาทิฎฐิ)
๒. ความดำริหรือความคิดชอบ   (สัมมาสังกัปปะ)
๓. วาจาชอบ   (สัมมาวาจา)
๔. การกระทำชอบ   (สัมมากัมมันตะ)
๕. การเลี้ยงชีพชอบ  (สัมมาอาชีวะ)
๖. ความเพียรชอบ   (สัมมาวายามะ)
๗.การระลึกชอบ   (สัมมาสติ)
๘. การทำใจให้ตั้งมั่นชอบ   (สัมมาสมาธิ)

          คุณธรรมเหล่านี้อาจย่อได้ลงในหลัก   ๓  ประการ กล่าวคือ   ปัญญาเห็นชอบ
ความดำริหรือความคิดชอบ    ย่อลงใน   ปัญญา     การเจรจาชอบ      การกระทำชอบ
การเลี้ยงชีพชอบ  ย่อลงใน  ศีล     ส่วนความเพียรชอบ     การระลึกชอบและการทำใจ
ให้ตั้งมั่นชอบ   ย่อลงใน  สมาธิ

หมวดธรรม ๙ ข้อ
          พระคุณของพระพุทธเจ้า   หรือพระพุทธคุณ  ๙  ประการ
๑. ทรงเป็นพระอรหันต์ผู้ไกลกิเลส
๒. ทรงตรัสรู้เองโดยชอบ
๓. ทรงสมบูรณ์ด้วยวิชชา   (ความรู้)  และจรณะ   (ความประพฤติ)
๔. เสด็จไปดี   (เพื่อทรงทำประโยชน์ทุกแห่ง)
๕.ทรงเป็นผู้รู้จักและรู้เท่าทันโลก
๖. ทรงเป็นผู้ฝึกคนอย่างยอดเยี่ยม
๗. ทรงเป็นพระศาสดาแห่งเทพและมนุษย์
๘. ทรงตรัสรู้สัจธรรม
๙. ทรงเป็นผู้มีโชค (เพราะทรงสร้างหรือกระทำแต่สิ่งดีงามอันเป็นเหตุแห่งโชค)
หมวดธรรม ๑๐ ข้อ
ทางแห่งการกระทำอันดีงาม   (กุศลกรรมบถ)  ๑๐  ประการ
๑. เว้นจากการฆ่า
๒. เว้นจากการลักขโมย
๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เว้นจากการพูดปด
๕. เว้นจากการพูดยุยงหรือส่อเสียดให้แตกร้าว
๖. เว้นจากพูดคำหยาบ
๗. เว้นจากพูดเพ้อเจ้อหรือไร้สาระ
๘. ควบคุมหรือลดละความโลภ   หรือความคิดอยากได้ของผู้อื่น
๙. ควบคุมหรือลดละความโกรธ   หรือความพยาบาท
๑๐.ควบคุมหรือลดละความหลง   หรือความเห็นผิดทำนองคลองธรรม

          กุศลกรรมบถทั้ง  ๑๐  นี้  
 ข้อ  ๑  ถึง  ๓  จัดเป็นกายสุจริต  
ข้อ  ๔  ถึง  ๗  จัดเป็นวจีสุจริต  
ข้อ    ๘    ถึง   ๑๐   จัดเป็นมโนสุจริต     
 เพราะฉะนั้น     ทางแห่งการกระทำ
อันดีงามหรือกุศลกรรมบถ  ทั้ง   ๑๐ นี้    จึงจัดเป็นกายสุจริต   วจีสุจริต  และมโนสุจริต

http://www.seameo.org/vl/buddhist/budd6.htm