วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ตัณหา 6

ตัณหา 6 หมวด ได้แก่
  1. รูปตัณหา คือ อยากได้รูป (ที่มองเห็นด้วยตา)
  2. สัททตัณหา คือ อยากได้เสียง
  3. คันธตัณหา คือ อยากได้กลิ่น
  4. รสตัณหา คือ อยากได้รส
  5. โผฏฐัพพตัณหา คือ อยากได้โผฏฐัพพะ (ความรู้สึกทางกายสัมผัส)
  6. ธัมมตัณหา คือ อยากในธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด)




 

ปัญญา3

ทำให้เกิดได้ 3 วิธี คือ
  1. โดยการสดับตรับฟัง การศึกษาเล่าเรียน (สุตมยปัญญา)
  2. โดยการคิดค้น การตรึกตรอง (จินตามยปัญญา)
  3. โดยการอบรมจิต การเจริญภาวนา (ภาวนามยปัญญา)
ปัญญา ที่เป็นระดับ อธิปัญญา คือปัญญาอย่างสูง จัดเป็นสิกขาข้อหนึ่งใน
 สิกขา 3 หรือ ไตรสิกขา คือ อธิศีล อธิสมาธิ อธิปัญญา

















http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2
 

อนุสัย ๗

 อนุสัย ๗ เป็น กิเลส ที่มีความละเอียดที่สุด สามารถกำจัดได้ด้วย ปัญญา เท่านั้น คือ
1.ราคานุสัย
2.ปฏิฆานุสัย
3.อวิชชานุสัย
4.วิจิกิจฉานุสัย
5.มานานุสัย
6.ภวานุสัย
7.ทิฏฐานุสัย 
 
 

วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2555

บุคคล ๔

บุคคล ๔ จำพวก คือ อุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู เนยย ปทปรมะ ก็เปรียบเหมือนดอกบัว ๔ เหล่านั้นแล. ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น
บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยกขึ้นแสดง ชื่ออุคฆฏิตัญญู.
บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมเมื่อท่านแจกความแห่งคำย่อโดยพิสดาร ชื่อว่าวิปจิตัญญู.
บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมโดยลำดับด้วยความพากเพียรท่องจำ ด้วยการไต่ถาม ด้วยทำไว้ในใจโดยแบบคายด้วยคบหาสมาคมกับกัลยาณมิตร ชื่อว่าเนยย.
บุคคลที่ไม่ตรัสรู้ธรรมได้ในชาตินั้น แม้เรียนมาก ทรงไว้มาก สอนเขามาก ชื่อว่าปทปรมะ.



http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2

วิชชา ๓

 ๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ รู้จักระลึกชาติได้
๒. จุตูปปาตญาณ รู้จักกำหนดจุติและเกิด
๓. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้น.
องฺ. ทสก. ๒๔/๒๒๖.
อธิบาย: นิทเทสแห่งปุพเพนิวาสานุสสติญาณว่า ระลึกชาติ ถอยหลังเข้าไปได้ตั้งแต่ชาติหนึ่งสองชาติจนตั้งหลาย ๆ กัลป์ ว่าในชาติที่เท่านั้นได้มีชื่อ มีโคตร มีผิวพรรณ มีอาหารอย่างนั้น ๆ ได้เสวยสุข ได้เสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีอายุเท่านั้น จุติจากนั้นแล้ว ได้เกิดในชาติที่เท่าโน้น ได้เป็นอย่างนั้น ๆ แล้วมาเกิดในชาตินี้.
     นิทเทสแห่งจุตูปปาตญาณว่า มีจักษุทิพย์บริสุทธิ์ล่วงจักษุสามัญมนุษย์ เห็นเหล่าสัตว์ที่กำลังจุติก็มี กำลังเกิดก็มี เลวก็มี ดีก็มี มีผิวพรรณงามก็มี มีผิวพรรณไม่งามก็มี ได้ดีก็มี ตกยากก็มี รู้ชัดว่าเหล่าสัตว์เป็นตามกรรม. วิชชาที่ ๒ นี้เรียกว่า ทิพพจักขุญาณก็มี.
     นิทเทสแห่งอาสวักขยญาณว่า รู้ชัดตามจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุเกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ทางไปถึงความดับอาสวะ เมื่อรู้เห็นอย่างนี้ จิตพ้นแล้วจากกามาสวะ ภาวสวะ อวิชชาสวะ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กรณียะทำเสร็จแล้วกิจอื่นอันจะต้องทำเช่นนี้ไม่มีอีก.วิชชา ๓ นี้ ญาณ ๓ ก็เรียก. วิชชา ๓ นี้ ท่านกล่าวว่าเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธญาณ อันสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบรรลุมาโดยลำดับในยามสามแห่งราตรี. ความระลึกชาติได้ดังแสดงไว้ในนิทเทส เป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณได้อย่างไรน่าพิจารณาดู หรือว่าระลึกชาติได้เช่นนั้นแล้ว หายตื่นหายหวาดในความเวียนเกิดเวียนตาย เห็นเป็นคติแห่งธรรมดา เกิดอนัตตานุปัสสนาขึ้นเอง เช่นนี้ชอบกลอยู่. ญาณนี้ท่านกล่าวว่ากำจัดโมหะกำบังขันธสันดาน ส่อว่าเป็นอนัตตานุปัสสนา สมเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ. จุตูปปาตญาณ ปรารภเหล่าสัตว์อื่นผู้เวียนเกิดเวียนตาย ดุจเดียวกับบุพเพนิวาสานุสสติญาณ ปรารภตนตามนิทเทส เติมปรารภคติแห่งสัตว์นั้นด้วย ดูเหมือนแสดงว่าไม่ใช่แต่เวียนเกิดเวียนตายเท่านั้นเป็นคติแห่งธรรมดา ความเป็นไปตามอำนาจกรรม ก็เป็นคติแห่งธรรมดาอีกเหมือนกัน. ญาณนี้ ท่านกล่าวว่ากำจัดโมหะกำบังกัมมัสสกตา จะกล่าวว่ากำจัดโมหะเป็นเหตุเชื่อถือไร้เหตุเช่นสีลัพพตปรามาสและมิจฉาทิฏฐิก็ได้ จัดเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณชอบอยู่. อาสวักขยญาณไม่ทำกิจเพียงรู้เท่านั้น รู้จักน้อมความรู้นั้นมาเป็นอุปการะทำอาสวะให้สิ้นได้ด้วย จัดเป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณชอบแท้. ในความแห่งวิชชา ๓ นี้มีอยู่เพียงไร ขอนักธรรมจงสอดส่องถือเอาเอง.


สมถะ เป็นภาษาบาลี แปลว่า สงบ ในคัมภีร์มีใช้ใน 3 แบบ ดังนี้ :
  1. จิตตสมถะ - ความสงบระงับจากอกุศลนิวรณ์แห่งจิต ดู : สมถกรรมฐาน.
  2. อธิกรณสมถะ - วิธีการสงบระงับอธิกรณ์การทะเลาะมีเรื่องมีราวกันในหมู่สงฆ์ มี 7 อย่าง เรียก สัตตาธิกรณสมถะ.
  3. สัพพสังขารสมถะ ความสงบระงับสังขารทั้งปวง หมายถึง พระนิพพาน
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%96%E0%B8%B0

เทพ ๓



๑. สมมติเทพ เทวดาโดยสมมติ
๒. อุปปัตติเทพ เทวดาโดยกำเนิด
๓. วิสุทธิเทพ เทวดาโดยความบริสุทธิ์.
ขุ. จูฬ. ๓๐/๑๑๒.

อธิบาย: พระราชา พระเทวี แลพระราชกุมาร จัดเป็นสมมติเทพ.
ภุมมเทวดาสิงอยู่ ณ ภพนี้ ที่ต้นไม้บ้าง และที่วัตถุอื่น ๆ บ้าง ซึ่งเรียกว่าพระภูมิบ้าง วัตถุเทวดาบ้าง และอากาสัฏฐกเทวดาสิงอยู่ในอากาศ ต่างโดยเป็นเทวดาบ้าง เป็นพรหมบ้าง จัดเป็น
อุปปัตติเทพ. พระอรหันต์ จัดเป็นวิสุทธิเทพ.

http://www.watsomanas.com/thai/dhammastory/group03.php

นิมิตต์ ๓

นิมิตต์ ๓ ๑. ปริกัมมนิมิตต์ นิมิตในบริกรรม
๒. อุคคหนิมิตต์ นิมิตติดตา
๓. ปฏิภาคนิมิตต์ นิมิตเทียบเคียง.
อภิ. สงฺ. ๕๑.
อธิบาย: ภิกษุผู้เจริญกัมมัฏฐาน เพ่งดูวัตถุอย่างในอย่างหนึ่ง เป็นอารมณ์ คือกสิณ ๑๐ หรืออสุภ ๑๐ วัตถุนั้นที่ภิกษุเพ่งดูและนึกเป็นอารมณ์ ซึ่งเรียกว่าบริกรรม จัดเป็นบริกัมมนิมิต. ภิกษุเพ่งดูวัตถุนั้นจนติดตา หลับตาเห็น จัดเป็นอุคคหนิมิต. ในลำดับนั้น ภิกษุอาจนึกขยายส่วนหรือย่นส่วนแห่งอุคคหนิมิตนั้นได้สมรูปสมสัณฐาน จัดเป็นปฏิภาคนิมิต.

*นิมิต ๑
ความหมาย

ก. นิรมิต, สร้าง, แปลง, ทํา. (ป. นิมฺมิต; ส. นิรฺมิต).
*นิมิต ๒
ความหมาย

น. เครื่องหมาย, ลาง, เหตุ, เค้ามูล; (แบบ) อวัยวะสืบพันธุ์. (ป., ส. นิมิตฺต).

http://www.watsomanas.com/thai/dhammastory/group03.php

ปริญญา ๓

รู้สัญญาด้วยปริญญา ๓ คือ

ญาตปริญญา
 ตีรณปริญญา
ปหานปริญญา

 ๑. ญาตปริญญา กำหนดรู้ด้วยการรู้
๒. ตีรณปริญญา กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา
๓. ปหานปริญญา กำหนดรู้ด้วยการละเสีย.
ขุ. มหา. ๒๙/๖๐.
อธิบาย: ญาตปริญญา กำหนดรู้ปัญจขันธ์เป็นต้นโดยวิภาค ได้แก่รู้จักแยกออกจากสังขาร คือสิ่งที่คุมกันอยู่. ตีรณปริญญากำหนดพิจารณาเห็นโดยไตรลักษณ์. ปหานปริญญา กำหนดละฉันทราคะในปัญจขันธ์เป็นต้นนั้นเสีย.

โลกุตรธรรม ๙

โลกุตระ (อ่านว่า โลกุดตะระ) แปลว่า พ้นโลก อยู่เหนือวิสัยของโลก เป็นคำที่ใช้คู่กับ โลกิยะ ซึ่งแปลว่า ยังเกี่ยวข้องกับโลก เรื่องของโลก
โลกตระ หมายถึงภาวะที่หลุดพ้นแล้วจากโลกิยะ ไม่เกี่ยวข้องกับกาม ตัณหา ทิฏฐิ อวิชชาอีกต่อไป ได้แก่ธรรม ๙ ประการซึ่งเรียกว่า
 นวโลกุตรธรรม หรือ โลกุตรธรรม ๙
โลกุตรธรรม ๙ ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ โดยมีรายละเอียดดังนี้
มรรค ๔ คือโสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค
ผล ๔ คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล
นิพพาน ๑ คือ พระนิพพาน

วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

มรรค 8
















คำว่ามรรค แปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์.....ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วย.....อำนาจของอวิชชา ....มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือก.....ฟั่นแปดเกลียว องค์แปดคือ :-
..........1.
สัมมาทิฏฐิ คือความเข้าใจถูกต้อง
..........2.
สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง
..........3.
สัมมาวาจา คือการพูดจาถูกต้อง
..........4.
สัมมากัมมันตะ คือการกระทำถูกต้อง
..........5.
สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพถูกต้อง
..........6.
สัมมาวายามะ คือความพากเพียรถูกต้อง
..........7.
สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจถูกต้อง
..........8.
สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง


http://www.learntripitaka.com/scruple/muck8.html

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

มีพุทธพจน์แห่งหนึ่ง สรุปธรรมทั้งหมดไว้ดังนี้

๑. ธรรมทั้งปวง มีฉันทะเป็นมูล (ฉนฺทมูลกา)๖. ธรรมทั้งปวง มีสติเป็นเจ้าใหญ่ (สตยาธิปเตยฺยา)
  ๒. ธรรมทั้งปวง มีมนสิการเป็นต้นกำเนิด (มนสิการสมฺภวา)๗. ธรรมทั้งปวง มีปัญญาเป็นยิ่งยอด (ปญฺญุตฺตรา)
  ๓. ธรรมทั้งปวง มีผัสสะเป็นที่ก่อตัวขึ้น (ผสฺสสมุทยา)๘. ธรรมทั้งปวง มีวิมุติเป็นแก่น (วิมุตฺติสารา)
  ๔. ธรรมทั้งปวง มีเวทนาเป็นที่ชุมนุม (เวทนาสโมสรณา)๙. ธรรมทั้งปวง มีอมตะเป็นที่หยั่งลง (อมโตคธา)
  ๕. ธรรมทั้งปวง มีสมาธิเป็นประมุข (สมาธิปมุขา)๑๐. ธรรมทั้งปวง มีนิพพานเป็นที่สิ้นสุด (นิพพานปริโยสานา)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) :
สัมมาสมาธิและสมาธิแบบพุทธ
http://www.thammapedia.com/dhamma/tripitaka.php

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

โลกปาลธรรม

หิริ ความละอายแก่ใจในการทำบาป
โอตัปปะ ความสะดุ้งกลัวต่อผลแห่งบาป

ธรรมทั้งสองประการนี้ทรงแสดงว่า เป็น
โลกปาลธรรม คือธรรมที่รักษาคุ้มครองโลก

board.palungjit.com ›

เนื้อที่ต้องห้าม ๑๐ อย่าง คือ

เนื้อที่ต้องห้าม ๑๐ อย่าง คือ
เนื้อมนุษย์
เนื้อช้าง
 เนื้อม้า
เนื้อสุนัข
เนื้องู
เนื้อราชสีห์
เนื้อเสือโคร่ง
เนื้อเสือเหลือง
 เนื้อหมี
และเนื้อเสือดาว
 

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

โอวาท ๑๐ ข้อ แก่พระนางวิสาขา

ธนัญชัยเศรษฐีผู้เป็นบิดาได้ให้โอวาท ๑๐ ข้อ แก่พระนางวิสาขาว่า



๑. ไฟในอย่านำออก

๒. ไฟนอกอย่านำเข้า

 ๓. พึงให้ทานแก่บุคคลที่ให้

๔. ไม่พึงให้แก่บุคคลที่ไม่ให้

๕. พึงให้ทานแก่บุคคลที่ให้และไม่ให้

๖. พึงนั่งให้เป็นสุข

๗. พึงบริโภคให้เป็นสุข

๘. พึงนอนให้เป็นสุข

 ๙. พึงบำเรอให้เป็นสุข

๑๐. พึงนอบน้อมเทวดา

http://www.watthaichetavan.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538706834&Ntype=1
 

สิ่งอันควรระลึกถึงมี ๓

พระพุทธองค์ตรัสถึงสิ่งอันควรระลึกถึงมี ๓ คือ
 ของในร่างกาย ๑
 เครื่องใช้สอย ๑
และรูปเคารพ ๑




















http://www.watthaichetavan.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538706834&Ntype=1

สิ่ง ๔ ประการ เหล่านี้ ไม่ควรดูหมิ่นว่าเล็กน้อย

 


สมัยหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลถามว่า “สมณพราหมณ์บางพวกเป็นคณาจารย์ เป็นเจ้าลัทธิ มีเกียรติ มีชื่อเสียง ชนส่วนมากยกย่องว่าดี คือ ปูรณกัสสปะ มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร และนิครนถนาฏบุตร สมณพราหมณ์เหล่านั้นเมื่อถูกข้าพระองค์ถามก็ยังมิกล้าปฏิญาณตนได้ว่าตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ส่วนพระโคดมผู้เจริญยังมีชันษาอยู่ในวัยหนุ่ม และเป็นผู้ใหม่ในบรรพชิต ไฉนจึงกล้าปฏิญาณได้เล่า”



ดูก่อนมหาบพิตร สิ่ง ๔ ประการ เหล่านี้ ไม่ควรดูหมิ่นว่าเล็กน้อย” คือ

๑. กษัตริย์ ไม่ควรดูหมิ่นว่ายังทรงพระเยาว์

๒. งู ไม่ควรดูหมิ่นว่าตัวเล็ก

๓. ไฟ ไม่ควรดูหมิ่นว่ากองเล็ก

๔. ภิกษุ ไม่ควรดูหมิ่นว่ายังใหม่ต่อเพศบรรพชิต


http://www.watthaichetavan.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538706834&Ntype=1