วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555

หลักการ 3



พระพุทธพจน์คาถาที่สองทรงกล่าวถึง "หลักการอันเป็นหัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาแก่พุทธบริษัททั้งปวงโดยย่อ" หรือ หลักการ 3 กล่าวกันเป็นเป็นการสรุปรวบยอดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอันเป็นแนวทางที่พุทธบริษัทพึงปฏิบัติ ได้แก่
การไม่ทำบาปทั้งปวง
การทำกุศลให้ถึงพร้อม
การทำจิตใจให้บริสุทธิ์มีผู้อธิบายว่าทั้งสามข้อนี้อาจอนุมานเข้ากับ
ศีล สมาธิ ปัญญา

................................................................................................................................
ศีล (บาลี: สีล) คือข้อปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานในทางพระพุทธศาสนา เพื่อควบคุมความประพฤติทางกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงามมีความปกติสุข เพื่อให้เป็นกติกาข้อห้ามที่ใช้แก้ปัญหาขั้นพื้นฐาน 5 ปัญหาหลัก ซึ่งทำให้เกิดความสงบสุข และ ไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันในสังคม

สมาธิ (สันสกฤต : समाधि) คือ การตระหนักรู้ตนเอง และจิตสำนึกต่อการทำงาน

การทำสมาธิโดยทั่วไปมักเป็นการฝึกหัดส่วนบุคคล ยกเว้นในบางกรณีเช่น การสวดมนต์ ผู้ฝึกสมาธิส่วนใหญ่ มักจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเป็นลมหายใจ การเพ่งวัตถุต่าง ๆ หรือแม้แต่การจดจ่อกับกิจกรรมที่กระทำ การทำสมาธิ มักเกี่ยวกับการปลูกฝังความรู้สึกหรือความเชื่อมั่นภายใน อาจจะเป็นการตั้งเป้าหมาย หรือ อาจจะหมายถึงการเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจงก็ได้

ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่ว คือรู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน, รู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ, รู้สิ่งที่ควรทำควรเว้น 


วันมาฆบูชา วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์

 

  1. พระสุตตันตปิฎก เล่ม 2 ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร
  2. อรรถกถา มหาปทานสูตร
  1. ^ http://www.paisarn.com/makhabucha.html วันมาฆบูชา
  2. ^ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ). คัมภีร์วิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสเถระ รจนา. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ธนาเพรส. ๒๕๕๑

อุดมการณ์ 4




โอวาทปาติโมกข์มักถูกกล่าวถึงในแง่หลักธรรม 3 อย่างเดียวว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตามพระพุทธพจน์ 3 คาถากึ่ง อาจสรุปใจความได้เป็นสามส่วน คือ หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 ดังนี้

[แก้]พระพุทธพจน์คาถาแรก

ทรงกล่าวถึงอุดมการณ์อันสูงสุดของพระภิกษุและบรรพชิตในพระพุทธศาสนานี้ อันมีลักษณะที่แตกต่างจากศาสนาอื่น อันอาจเรียกได้ว่า
อุดมการณ์ 4 ของพระพุทธศาสนา ได้แก่
  1. ความอดทนอดกลั้นเป็นสิ่งที่นักบวชในศาสนานี้พึงยึดถือและเป็นสิ่งที่ต้องใช้เมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจทุกอย่างที่ต้องเจอในชีวิตนักบวช เช่น ประสงค์ร้อนได้เย็น ประสงค์เย็นได้ร้อน
  2. การมุ่งให้ถึงพระนิพพานเป็นเป้าหมายหลักของผู้ออกบวช มิใช่สิ่งอื่นนอกจากพระนิพพาน
  3. พระภิกษุและบรรพชิตในพระธรรมวินัยนี้(เช่นภิกษุณี สามเณร สามเณรี สิกขมานา)ไม่พึงทำผู้อื่นให้ลำบากด้วยการทำความทุกข์กายหรือทุกข์ทางใจไม่ว่าจะในกรณีใดๆ
  4. พระภิกษุตลอดจนบรรพชิตในพระธรรมวินัยนี้ต้องขอแก่ทายกด้วยอาการที่ไม่เบียดเบียน( คือการไม่เอ่ยปากเซ้าซี้ขอและไม่ใช้ปัจจัยสี่อย่างฟุ่มเฟือยจนเดือดร้อนทายก)


คาถาโอวาทปาติโมกข์และคำแปล

คาถาต้นฉบับคำแปล
๏ ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
๏ ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมธรรม
ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
๏ สพฺพปาปสฺส อกรณํ
กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ
เอตํ พุทฺธานสาสนํฯ
๏ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง 1
การบำเพ็ญแต่ความดี 1
การทำจิตของตนให้ผ่องใส 1
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
๏ อนูปวาโท อนูปฆาโต
ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ
ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค
เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ
๏ การไม่กล่าวร้าย 1 การไม่ทำร้าย 1
ความสำรวมในปาติโมกข์ 1
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร 1
ที่นั่งนอนอันสงัด 1
ความเพียรในอธิจิต 1
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

อปริหานิยธรรม7

อปริหานิยธรรม ๗ อย่าง
ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว ชื่อว่า อปรหานิยธรรม มี ๗ อย่าง
๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
๒. เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ
๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้
๔. ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน
๕. ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น
๖. ยินดีในเสนาสนะป่า
๗. ตั้งใจอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาส ขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข
ธรรม ๗ อย่างนี้ ตั้งอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นไม่มีความเสื่อมเลย มีแต่ความเจริญฝ่ายเดียว

วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

อบายมุข 6(ปากทางแห่งความเสื่อม)


อบายมุข 6 ช่องทางของความเสื่อม ทางแห่งความพินาศ เหตุย่อยยับแห่งโภคทรัพย์ ได้แก่ ดื่มน้ำเมา เที่ยวกลางคืน เที่ยวดูการเล่น เล่นการพนัน คบคนชั่วเป็นมิตร และเกียจคร้านการทำงาน
  • ติดสุราและของมึนเมา มีโทษ 6 อย่าง คือ
  1. ความเสื่อมทรัพย์อันผู้ดื่มพึงเห็นเอง
  2. ก่อการทะเลาะวิวาท
  3. เป็นบ่อเกิดแห่งโรค
  4. เป็นเหตุเสียชื่อเสียง
  5. เป็นเหตุไม่รู้จักละอาย
  6. ทอนกำลังปัญญา
  • ชอบเที่ยวกลางคืน มีโทษ 6 อย่าง คือ
  1. ผู้นั้นชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาตัว
  2. ผู้นั้นชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาบุตรภรรยา
  3. ผู้นั้นชื่อว่าไม่รักษาทรัพย์สมบัติ
  4. ผู้นั้นเป็นที่ระแวงของคนอื่น
  5. คำพูดอันไม่เป็นจริงในที่นั้นๆ ย่อมปรากฏในผู้นั้น
  6. อันเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมากแวดล้อม
  • ชอบเที่ยวดูการละเล่น มีโทษ โดยการงานเสื่อมเสียเพราะใจกังวลคอยคิดจ้อง กับเสียเวลาเมื่อไปดูสิ่งนั้นๆ ทั้ง 6 กรณี คือ
  1. รำที่ไหนไปที่นั่น
  2. ขับร้องที่ไหนไปที่นั่น
  3. ดนตรีที่ไหนไปที่นั่น
  4. เสภาที่ไหนไปที่นั่น
  5. เพลงที่ไหนไปที่นั่น
  6. เถิดเทิงที่ไหนไปที่นั่น
  • ติดการพนัน มีโทษ 6 อย่าง คือ
  1. ผู้ชนะย่อมก่อเวร
  2. ผู้แพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป
  3. ความเสื่อมทรัพย์ในปัจจุบัน
  4. ถ้อยคำของคนเล่นการพนัน ซึ่งไปพูดในที่ประชุมฟังไม่ขึ้น
  5. ถูกมิตรอมาตย์หมิ่นประมาท
  6. ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย เพราะเห็นว่า ชายนักเลงเล่นการพนันไม่สามารถจะเลี้ยงภรรยา
  • คบคนชั่ว มีโทษ โดยนำให้กลายไปเป็นคนชั่วอย่างคนที่ตนคบทั้ง 6 ประเภท คือ
  1. นำให้เป็นนักเลงการพนัน
  2. นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้
  3. นำให้เป็นนักเลงเหล้า
  4. นำให้เป็นคนลวงผู้อื่นด้วยของปลอม
  5. นำให้เป็นคนโกงเขาซึ่งหน้า
  6. นำให้เป็นคนหัวไม้
  • เกียจคร้านการงาน มีโทษ โดยทำให้ยกเหตุต่างๆ เป็นข้ออ้างผัดเพี้ยนไม่ทำการงาน โภคะใหม่ก็ไม่เกิด โภคะที่มีอยู่ก็หมดสิ้นไป คือให้อ้างไปทั้ง 6 กรณี คือ
  1. หนาวนักแล้วไม่ทำการงาน
  2. ร้อนนักแล้วไม่ทำการงาน
  3. เย็นไปแล้วไม่ทำการงาน
  4. ยังเช้านักแล้วไม่ทำการงาน
  5. หิวนักแล้วไม่ทำการงาน
  6. อิ่มนักแล้วไม่ทำการงาน
อบายมุขทั้งหมดนี้หากประพฤติเข้าแล้วก็เป็นเหตุให้เกิดความฉิบหาย ให้เกิดความเสื่อมเสียแก่ชีวิตร่างกายได้เหมือนกันทุกข้อ

อุดมคติ10

อุดมคติ ๑๐ ข้อ
ของอาจารย์พระมหาแสวง โชติปาโล
๑. คนที่หยุดอยู่กับที่ ก็คือคนที่ถอยหลัง เพราะเมื่อพวกเขาพากันเดิน แต่เรากลับหยุดเสีย ก็ชื่อว่าเป็นผู้ถอยหลัง เห็นชัดอยู่ ดังนั้นจึงไม่ควรหยุดทำความดี
๒. ปากเป็นเอก เลขเป็นโทโบราณว่า หนังสือเป็นตรี ชั่วดีท่านก็ว่าเป็นตำรา แม้ว่าเราจะพูดไม่เก่ง คิดเลขไม่ไว พออ่านออกเขียนได้ แต่เรื่องการทำดี เราถนัดเป็นมือขวา อย่างนี้ก็เป็นอันใช้ได้ เพราะคนที่ทำดี มีความซื่อ มือสะอาด โลกยังต้องการอยู่
๓. ดำกับขาว มืดกับสว่าง ข้างขึ้นกับข้างแรม ได้กับเสีย มีกับหมด กฎธรรมดาดังนี้ มีมาแต่ครั้งไหนไม่มีใครทราบ และจะเป็นข้าศึกกันไปอีกนานเท่าไร ก็ไม่มีใครทราบเช่นกันคนทำดีจะต้องยินดีต้อนรับสิ่งตรงกันข้ามกันนี้ ด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม เพราะถ้าไม่ได้อาศัยคนชั่วซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามเราก็ไม่อาจดีขึ้นมาได้
๔. ทุกคนกำลังพากันเดินวนเวียนอยู่ในวัฏฏะ ก็เพราะเราไปเชื่อผู้นำ คือ อวิชชา และตัณหา เมื่อไม่รู้ว่า โลกเป็นทุกข์ เราก็อยากอยู่ในโลก มองโลกเป็นแดนสุขาวดี แต่นักปราชญ์ทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น ท่านกลับเห็นวังวน คือ วัฏฏะ โลกเหมือนคุกตารางใหญ่ ที่กักขังสัตว์ อย่างหมดอิสระภาพก็เพราะท่านมี วิชชา และวิมุติ เป็นผู้นำทาง เมื่อทราบอย่างนี้แล้วจึงสมควรเปลี่ยนผู้นำเสียใหม่เถิด
๕. ความสุขที่เกิดมาจากสิ่งเสพติด ย่อมมีพิษไม่ต่างกับ น้ำผึ้งที่เจือด้วยสารร้าย หากไปทดลองเข้าก็มีทางเดียวคือ ต้องตกเป็นทาสของสิ่งเสพติดนั้นตลอดไป ไม่มีโอกาสจะหันมาทำความดีได้
๖. จะทำอะไร ขอให้ถือว่า กันไว้ดีกว่าแก้ ตัวระวังเป็นตัวสำคัญที่ช่วยป้องกันไม่ให้ผิดพลาด คนที่เสียท่า ก็เพราะ ขาดความระวัง เหตุนั้น พระจึงได้ตรัสว่า ตัวระวังนี้เป็นศูนย์รวมของความดีทุกอย่าง โดยที่สุด แม้พระนิพพาน ซึ่งเป็นสมบัตินอกโลก ท่านผู้ฉลาดมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ยังอาจเอื้อมเอามาเป็นสมบัติได้ ก็เพราะอาศัยตัวระวัง คือสตินี้เป็นรากฐานเช่นกัน
๗. คำสอนของศาสดาทุกศาสนา แม้จะเหมือนกันในข้อที่ว่า งดเว้นจากการก่อบาปทั้งปวง และการบำเพ็ญความดี ให้ถึงพร้อม แต่คำสอนที่ศาสนาอื่นมีไม่ได้คือ การทำจิตของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง อันมีความโลภ ความโกรธ และความหลงเป็นรากเหง้า เพราะคำสอนเกี่ยวกับเรื่อง อธิศีล อธิจิต และอธิปัญญานั้น จัดเป็น แนวนโยบายของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ ไม่มีในที่นอกพระพุทธศาสนา
๘. ชนะข้าศึกอะไร ก็สามารถเอาชนะได้ด้วยสรรพวิชาที่เรียนมา แต่จะเอาชนะตัวตัณหา คือความทยานอยาก ที่ข่มขี่ใจของตนเองนั้นเป็นเรื่องยากเย็นนักหนา พระจึงตรัสว่า ถ้าเอาชนะตัวเองได้แล้ว นับเป็นการชนะ ที่ไม่กลับแพ้อีกต่อไป
๙. ไฟไม่รู้จักอิ่มในเชื้อ ตัณหาไม่รู้จักอิ่มในรสของกามารมณ์ หากเราไม่ยอมเดินตามทางที่สมเด็จพ่อ เคยดำเนิน มาแล้ว เราจะรู้จักอิ่มละหรือ มิต้องเป็นทาสของตัณหาไปอีกนานเท่านานจนนับภพนับชาติไม่ถ้วนหรือ
๑๐. ความทุกข์อื่นใดก็ไม่มากมายท่ากับขันธ์เป็นทุกข์ การที่พระตรัสว่า สังขารทั้งหลาย เป็นทุกข์อย่างยิ่ง ก็เพราะทรงเห็นว่าความทุกข์ที่นอกเหนือจากขันธ์ ย่อมไม่มี จึงมองไม่เห็นวิธีใด ที่จะรอดพ้นทุกข์ไปได้ นอกจากกำหนดรู้ทุกข์ เป็นวิธีเดียวที่สามารถบรรลุถึงความบริสุทธิ์หมดจดได้ ดังพุทธภาษิตบทหนึ่งว่า
“ สพฺเพ สงฺขารา ทุกขาติ ยทา ปญญาย ปสฺสติ อถ นิพพินฺทติ ทุกเข เอส มคฺโค วิสุทฺ ทิขา “
แปลว่า เมื่อใดผู้มีปัญญาเล็งเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อมหน่ายในทุกข์ ข้อนี้เป็นหนทางแห่งความหมดจด ดังนี้

            จาก http://www.abhidhamonline.org/Ideal.htm