วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

วิบัติ 4



วิบัติ 4

สีลวิบัติ ความวิบัติแห่งศีล ความวิบัติแห่งศีล
อาจารวิบัติ ความวิบัติแห่งอาจาระความวิบัติแห่งอาจาระ ได้แก่ท่านผู้ปฏิญาณตน
ทิฏฐิวิบัติ ความวิบัติแห่งทิฏฐิสัมมาทิฏฐิ แปลว่าความเห็นชอบ
อาชีววิบัติ ความวิบัติแห่งอาชีวะ เลี้ยงชีวิตในทางที่ผิดเรียกว่า มิจฉาอาชีวะ
ความวิบัติแต่ละอย่างนั้น สร้างความตกต่ำให้เกิดขึ้นในชีวิตและจิตใจของบุคคล ทำให้การประพฤติปฏิบัติของบุคคลเหล่านั้นเสื่อมถอยลงไป กุศลเสื่อมลง  อกุศลเพิ่มขึ้นความทุกข์อันเป็นผลมาจากอกุศลก็ติดตามมา ดังนั้น จึงทรงสอนให้บุคคลพยายามรักษาศีลคืออาการทางกาย วาจา ของตนให้เรียบร้อย อาจาระ คือ ความประพฤติปฏิบัติของตนให้ดีงาม  ทิฏฐิ คือควบคุมความคิดเห็นของตนให้ตรงตามทำนองคลองธรรม  และพยายามเลี้ยงชีวิตของตนในทางที่ชอบ  ไม่หลอกลวง ฉ้อโกงคนอื่นมาเลี้ยงชีวิต  เพื่อให้เกิดเป็นผลที่ดีงามแก่ตนเองและบุคคลอื่น.

http://www.bp-smakom.org/bp_school/social/Viban4.htm

เหตุให้สมหมาย ๔

พระพุทธศาสนายกความปรารถนาของบุคคลในโลกที่ได้สมหมายด้วยยากขึ้นกล่าวไว้ว่ามี ๔ อย่าง คือ
           ๑. ปรารถนาขอให้สมบัติจงเกิดมีแก่เราโดยทางที่ชอบ
           ๒. ปรารถนาขอให้ยศจงเกิดมีแก่เรากับญาติพวกพ้อง
           ๓. ปรารถนาขอให้เราจงรักษาอายุให้ยืนนาน
           ๔. เมื่อสิ้นชีพแล้ว ขอเราจงไปบังเกิดในสวรรค์
ข้อมูลจากhttp://mahamakuta.inet.co.th/study/study64/mk644.html

เมื่อทรงแสดงความปรารถนาของบุคคลในโลกที่ได้สมหมายด้วยยาก ๔ ประการข้างต้นแล้ว ก็ได้ทรงแสดงธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย ๔ อย่างควบคู่กันเพื่อขจัดความผิดหวังท้อ แท้ ธรรมเหตุให้สมหมาย ๔ อย่างคือ
๑. สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
๒. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล
๓ จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยบริจาคทาน
๔. ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา

ขอให้พิจารณาความปรารถนาของตน ว่ามีความปรารถนา ๔ อย่าง ที่ยกมากล่าวข้างต้น อันเป็นความปรารถนาที่ได้สมหมายด้วยยากหรือไม่ แม้มีก็ขอให้อบรมธรรมเหตุ ให้ สมปรารถนา ๔ อย่างที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แจ้งชัดแล้วด้วยพระมหากรุณานั้น

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

ไฟนรก7กอง

ไฟนรกกองที่ 1 ได้แก่ พระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ที่มีบุญบารมีมากที่สุดในโลก เป็นผู้เดียวในโลกที่มีสัพพัญญุตญาณ(ญาณที่รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลโดยไม่มีที่สิ้นสุด) และพระพุทธเจ้ายังเป็นนายกของโลกตามตำแหน่งของกฎธรรมชาติที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งผู้ใดก็ตามที่ได้ทำกุศลกรรมกับพระองค์ บุคคลนั้นจะต้องได้อานิสงฆ์ผลบุญมากที่สุดในโลก ซึ่งมนุษย์คนใดได้ไปทำทานด้วยแล้วจะได้ผลบุญมากเท่ากับทำทานแด่พระพุทธเจ้าเป็นไม่มี แต่หากผู้ใดทำอกุศลกรรมกับพระองค์ บุคคลนั้นจะต้องได้รับกรรมมากที่สุดในโลกที่เรียกว่า อนันตริยกรรม นั่นเอง
ไฟนรกกองที่ 2 ได้แก่ พระธรรม
พระธรรม คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ได้ถ่ายทอดออกมาจากการรู้ซึ่งความจริงของกฎธรรมชาติทุกอย่าง
ไม่มีผู้ใดในโลกที่จะฝืนหรือเปลี่ยนแปลงกฎธรรมชาติไปได้ แม่แต่พระพุทธเจ้า ผู้ใดก็ตามที่ไม่เชิ่อในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า บุคคลนั้นถือว่า เป็นผู้มีความเห็นผิด (มิจฉาทิฎฐิ) ซึ่งจะทำให้คนผู้นั้นได้รับความเดือดร้อนในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะการเชื่อว่าเกิดครั้งเดียว ตายครั้งเดียว ชาติหน้าไม่มี ตายแล้วสูญ ผู้ที่เชื่อเช่นนี้ เมื่อตายไปต้องไปเกิดในอบายภูมิอย่างแน่นอน หากผู้นั้นยังสอนให้ผู้อื่นเชื่อตามนี้ด้วยอีกแล้ว เมื่อตายไปต้องตรงไปเกิดที่โลกันต์นรกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ไฟนรกกองที่ 3 ได้แก่ พระสงฆ์
พระสงฆ์ คือ พระอริยสงฆ์ที่ตรัสรู้ธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าในขั้นใดขั้นหนึ่งแล้ว ได้แก่ พระโสบัน พระสาทาคามี พระอนาคามี หรือขั้นสูงสุด คือ พระอรหันต์ เมื่อเราได้ทำบุญกับพระอริยสงฆ์เราก็จะได้บุญมากมายมหาศาลนับไม่ถ้วน แต่ถ้าใครก็ตามไปล่วงเกินทำบาปกับท่าน ก็จะต้องได้รับผลกรรมอย่างรุนแรง และมหาศาลเช่นเดียวกัน
ไฟนรกกองที่ 4 ได้แก่ บิดามารดาผู้ให้กำเนิด
พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ว่า พ่อแม่นั้นคือ พระอรหันต์ของลูก ผู้ใดก็ตามที่พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ ถือว่าผู้นั้นมีบุญวาสนาอย่างมาก เพราะเราสามารถทำบุญกับพ่อแม่ได้และได้รับผลบุญเทียบเท่ากับพระอรหันต์เช่นกัน เพียงแต่ว่าอาจจะได้ผลบุญช้ากว่าพระอรหันต์ซักหน่อย สาเหตุที่ได้บุญมากก็เพราะว่าพ่อแม่อยู่ในฐานะผู้มีพระคุณอย่างมากมายมหาศาลต่อลูกตามกฎของธรรมชาติ แม้พ่อแม่จะให้แต่กำเนิดเท่านั้นแต่ไม่เลี้ยงดูเลยก็ตาม ก็ยังถือว่าบุญคุณของพ่อแม่นั้นหา ที่สุดมิได้ ถ้าใครก็ตามที่ล่วงเกินท่านด้วยกาย วาจา ใจ ผู้นั้นก็ย่อมจะได้รับกรรมอย่างมหาศาลเทียบเท่ากับล่วงเกินพระอรหันต์เลยทีเดียว
ไฟนรกกองที่ 5 ได้แก่ ครูบาอาจารย์
ครูบาอาจารย์ เป็นผู้ที่มีความสำคัญมากตามกฎของธรรมชาติ โดยเฉพาะอาจารย์ผู้ที่สั่งสอน หรือ เขียนตำราให้เราอ่านแล้วทำให้เรารู้ธรรมะ ถ้าผู้ใดเกิดมาแล้วไม่รู้ธรรมะอะไรเลย ผู้นั้นย่อมใช้ชีวิตอย่างผิดๆ ถูกๆ ไม่รู้ว่าอะไรเป็นบุญอะไรเป็นบาปและทำทุกอย่างตามความคิดของตัวเองว่าถูก เมื่อตายไปเขาย่อมไปเกิดในอบายภูมิซึ่งมีนรกเป็นที่ต่ำที่สุด แต่เมื่อใดก็ตามที่เขามีบุญวาสนาได้พบอาจารย์ที่มีความรู้ในธรรมะตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง เขาผู้นั้นก็เสมือนว่าได้เกิดใหม่ ทั้งที่ยังไม่ตาย เขาจะรู้ว่า การกระทำใดเป็นบุญและการกระทำใดเป็นบาป เขาจะสามารถตั้งมั่นอยู่ในศีลในธรรมตลอดชีวิต ทำให้ได้รับความสุขความเจริญทั้งในชาตินี้ เมื่อตายไปก็จะมีโลกสวรรค์เป็นที่รองรับ ทั้งนี้ ก็ด้วยพระคุณของครูบาอาจารย์ที่ฉุดเขาพ้นจากนรกนั่นเอง และการที่เราเคารพครูบาอาจารย์จะทำให้เราเป็นผู้มีความสำเร็จเร็วและเป็นผู้มีปัญญามากอีกด้วย ดูอย่างเช่าน พระสาริบุตรเมื่อได้ฟังธรรมจากพระอัสสชิ ก็เกิดความศรัทธาในพระพุทธศาสนา พระสารีบุตรรู้บุญคุณของพระอัสสชิที่ทำให้ตนได้รู้จักธรรมะที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา จึงยกย่องนับถือไว้เป็นอาจารย์ เมื่อพระสารีบุตรอยู่ที่ใดก็ตามก่อนจะจำวัด (นอน) จะต้องหันศรีษะไปทางที่พระอัสสชิอยู่ แล้วตั้งจิตอธิฐาน ถวายสิ่งที่อยู่เหนือเศียรเกล้าของตนเพื่อบูชาพระอาจารย์ จึงไม่น่าแปลกเลยที่ท่านเป็นพระอัครสาวก ผู้เป็นเลิศด้านผู้มีปัญญามาก
ไฟนรกกองที่ 6 ได้แก่ สมณะชีพราหมณ์
สมณะหรือพระที่บวชในพระพุทธศาสนา โดยปฎิบัติตามพระวินัย คือ รักษาศีล 227 ข้อ เรียกว่า สมมติสงฆ์ หลายคนเข้าใจว่า สมมติสงฆ์ ก็คือ พระสงฆ์ แท้จริงแล้ว พระสงฆ์หมายถึง พระอริยะสงฆ์ที่บรรลุธรรมตั้งแต่พระโสดาบรรณจนถึงพระอรหันต์เท่านั้น ส่วนพระทั่วไปที่ยังไม่ได้บรรลุธรรมนั้นเรียกว่า สมมติสงฆ์ แม้จะเป็นสมมติสงฆ์แต่ถ้ารักษาศีลดี และปฎิบัติธรรมเพื่อความเป็นไปตามทางแห่งพระอรหันต์แล้ว ถ้าเราไปทำบุญกับท่าน เราก็จะได้บุญมากมายจนนับไม่ถ้วนเลยทีเดียว แต่ถ้าเราไปทำบาปกับท่าน เราก็จะได้รับผลบาปนับไม่ถ้วนเช่นกัน หลายคนที่ไม่เข้าใจเห็นพระบางรูปกำลังทำชั่วอยู่ เช่น เดินช๊อปปิ้ง ซื้อซีดีโป๊ ก็อดไม่ได้ที่จะตำหนิ ในใจ หรือต่อว่าด่าทอต่างๆ นานา ซึ่งการไปตำหนิติเตียนหรือด่าว่าพระสมณะ ชี พราหมณ์ นั้น ถือเป็นบาปที่ต้องได้รับกรรม เพราะเรามีสิทธิ์ที่จะทำบุญกับพระรูปใดก็ได้ แต่เราไม่มีสิทธิ์ที่จะไปด่าว่าใคร เพราะเป็นการไปเบียดเบียนผู้อื่นนั่นเอง
ไฟนรกกองที่ 7 ได้แก่ สามี
ผู้ชายนั้นจะมีไฟนรกแค่ 6 กอง แต่ผู้หญิงที่มีสามีจะมีไฟนรก 7 กอง เพราะสามีนั้นเปรียบเสมือนพ่อคนที่ 2 ของภรรยา ที่คอยทำหน้าที่ป้องกันภัย และดูแลห่วงใยภรรยา สามีจึงเป็นไฟนรกของภรรยาตามกฎของธรรมชาติ ฉะนั้นผู้หญิงคนใดที่มีสามีไม่ดี ถือว่าเป็นความโชคร้ายของผู้หญิงคนนั้นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อมีการทะเลาะเบาะแว้งกัน ผู้หญิงจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบมาก เพราะจะมีโอกาส ทำกรรมหนัก จากการล่วงเกินไฟนรกนั่นเอง
ขอยกตัวอย่าง ถ้าเราทำบุญให้กับบิดามารดา เราก็จะได้รับผลบุญอย่างน้อยประมาณ 10,000 ล้านเท่า แต่ถ้าเราล่วงเกิน ก็จะได้บาปอย่างน้อยประมาณ 10,000 ล้านเท่าเหมือนกัน
ถ้าภรรยา ทำบุญให้กับสามี ภรรยาก็จะได้บุญอย่างน้อยประมาณ 5,000 ล้านเท่า ถ้าไปล่วงเกินเข้า ก็ต้องได้รับผลบาปอย่างน้อยประมาณ 5,000 ล้านเท่าเช่นกัน
ส่วนสามี ถ้าได้ล่วงเกินภรรยา ถ้าภรรยาเป็นผู้ไม่มีศีล สามีจะได้ผลบาป 1,000 เท่า แต่ถ้าภรรยาเป็นผู้รักษาศีล 5 สามีก็จะได้รับบาป 10,000 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว จะเห็นได้ว่า การไปล่วงเกินสามีด้วย กาย วาจา ใจ นั้นไม่คุ้มเลย
* แค่เห็นความไม่ดีของไฟนรก 7 กอง ก็ถือเป็นกรรมแล้ว *

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

เบญจธรรม 5



เบญจธรรม 5 ประการ ได้แก่
  1. เมตตากรุณา คือความรัก ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น
  2. สัมมาอาชีวะ คือการประกอบสัมมาชีพ
  3. กามสังวร คือการสำรวมในกาม
  4. สัจจะคือการพูดความจริง
  5. สติสัมปชัญญะ คือความระลึกได้และความรู้ตัว


ขันธ์ 5


ขันธ์ แปลว่า กอง, หมวด, หมู่, ส่วน ในทางพุทธศาสนาหมายถึงร่างกายของคนเรา คือแยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ ตามสภาพได้ 5 ส่วน หรือ 5 ขันธ์ คือ
  1. รูป ได้แก่ ส่วนที่ผสมกันของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เช่น ผม หนัง กระดูก โลหิต
  2. เวทนา ได้แก่ ระบบประมวลความรู้สึกว่า ชอบหรือไม่ชอบ และเฉยๆ
  3. สัญญา ได้แก่ จำสิ่งที่ได้รับและรู้สึกนั้นๆ
  4. สังขาร ได้แก่ ระบบคิดปรุงแต่ง แยกแยะสิ่งที่รับรู้สึกและจำได้นั้นๆ
  5. วิญญาณ ได้แก่ ระบบรู้สิ่งนั้นๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ขันธ์นี้ รูปจัดเป็นรูปธรรม เวทมา,สัญา,สังขาร,วิญญาณจัดเป็นนามธรรม เมื่อจัดขันธ์เข้าในปรมัตถธรรม
  • วิญญาณขันธ์ จัดเข้าในจิต
  • เวทนาขันธ์ ,สัญญาขันธ์ ,สังขารขันธ์ จัดเข้าในเจตสิก
  • รูปขันธ์ จัดเข้าในรูป
  • การหมดเหตุปัจจัยของนามรูป จัดเข้าในนิพพาน









พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต 
พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, 
วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548





เหตุ หมายถึง สิ่ง, สิ่งต่างๆ, สิ่งที่ก่อเรื่อง

ปัจจัย หมายถึง เครื่องสนับสนุน หรือเครื่องปรุงแต่งกัน ให้เกิดสิ่งอื่นหรือผลอื่นขึ้น

ศรัทธา ๔


ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนามีสี่อย่าง คือ
  • กัมมสัทธา เชื่อกรรม เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่า เมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา คือ จงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม คือ เป็นความชั่วความดีมีขึ้นในตน เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างเปล่า และเชื่อว่าผลที่ต้องการ จะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยอ้อนวอนหรือนอนคอยโชค เป็นต้น
  • วิปากสัทธา เชื่อวิบาก เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วย่อมมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว
  • กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบาก เป็นไปตามกรรมของตน
  • ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจในองค์พระตถาคต ว่าทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง 9 ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดีก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุด บริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ทรงบำเพ็ญไว้














http://www.buddha4u.org/index.php?
option=com_content&view=article&id=67&Itemid=69