วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปฏิปทา

ปฏิปทา แปลว่า ทางดำเนิน ข้อปฏิบัติ แนวทางปฏิบัติ ความประพฤติ ในทางธรรมมักปรากฏต่อท้ายคำอื่นๆ เช่น มัชฌิมาปฏิปทา[1] ทุกขนิโรธปฏิปทา[2] เป็นต้น ส่วนปฏิปทาในทางโลกมักถูกนำมาใช้ในความหมายว่าความประพฤติ และใช้กับความประพฤติที่ดีงาม ไม่ใช้กับความประพฤติที่ไม่ดี เช่นใช้ว่า "เขาเป็นคนมีปฏิปทาอย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว" หมายความว่าเขาเป็นคนมีความประพฤติที่ดี เช่น ชอบช่วยเหลือคนอื่น มีอัธยาศัยดี หรือมีอุปนิสัยใจคอตามที่แสดงออกมาเช่นนั้น

สมาทาน

สมาทาน แปลว่า การถือเอา การรับเอา การถือปฏิบัติ สมาทาน หมายถึงการรับมาปฏิบัติ เช่น สมาทานศีล คือการรับศีลมาเป็นหลักปฏิบัติ สมาทานธุดงค์ คือการถือปฏิบัติตามหลักธุดงควัตร สมาทาน ตามปกติจะกระทำต่อหน้าผู้อื่นเช่น พระสงฆ์ ด้วยการเปล่งวาจา หรือนึกในใจว่าจะทำอย่างโน้นอย่างนี้ คล้ายกับให้คำมั่นสัญญาทั้งแก่ตนเองหรือผู้อื่นไว้ การสมาทานจึงเป็นอุบายวิธีให้ประพฤติปฏิบัติตามที่เปล่งวาจาไว้เพื่อรักษาคำมั่นสัญญา อันแสดงถึงความเป็นคนมีจิตใจมั่นคง พูดจริงทำจริง ไม่โลเลเหลาะแหละ อ้างอิง[แก้]พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548

วิญญาน

ในศาสนาพุทธ คำว่าวิญญาณ (บาลี: viññāṇa; สันสกฤต: विज्ञान) ใช้หมายถึงพิชาน (consciousness) คือความรู้แจ้งอารมณ์[1] พระไตรปิฎกระบุว่าพระพุทธเจ้าทรงจำแนกวิญญาณออกเป็น 6 ประเภท[2] ได้แก่ 1.จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา คือรู้รูปด้วยตา หรือการเห็น 2.โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู คือรู้เสียงด้วยหู หรือการได้ยิน 3.ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก คือรู้กลิ่นด้วยจมูก หรือการได้กลิ่น 4.ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น คือรู้รสด้วยลิ้น หรือการรู้รส 5.กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย คือรู้โผฏฐัพพะด้วยกาย หรือการรู้สึกกายสัมผัส 6.มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ คือรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ หรือการนึกคิด นอกจากนี้วิญญาณยังปรากฏในหลักธรรมอื่น ๆ ด้วย เช่น วิญญาณขันธ์ในขันธ์ 5 วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท คำว่าวิญญาณยังถือเป็นคำไวพจน์ของคำว่าจิต มีความหมายเหมือนกัน ใช้แทนกันได้[3] หน้าที่ของวิญญาณ (วิญญาณกิจ)[แก้]คัมภีร์วิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆสะและคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะของพระอนุรุทธาจารย์ กล่าวว่าวิญญาณมีหน้าที่ 14 อย่าง[4][5] คือ 1.ปฏิสนธิ สืบต่อภพใหม่ 2.ภวังคะ เป็นองค์ประกอบของภพ 3.อาวัชชนะ คำนึงถึงอารมณ์ใหม่ 4.ทัสสนะ เห็นรูป (ตรงกับจักขุวิญญาณ) 5.สวนะ ได้ยินเสียง (ตรงกับโสตวิญญาณ) 6.ฆายนะ ได้กลิ่น (ตรงกับฆานวิญญาณ) 7.สายนะ รู้รส (ตรงกับชิวหาวิญญาณ) 8.ผุสนะ ถูกต้องโผฏฐัพพะ (ตรงกับกายวิญญาณ) 9.สัมปฏิจฉนะ รับอารมณ์ 10.สันตีรณะ พิจารณาอารมณ์ 11.โวฏฐัพพนะ ตัดสินอารมณ์ 12.ชวนะ เสพอารมณ์ 13.ตทาลัมพณะ รับอารมณ์ต่อจากชวนะก่อนจะกลับสู่ภวังค์ 14.จุติ เคลื่อนจากภพปัจจุบันเพื่อจะไปสู่ภพหน้า อ้างอิง[แก้]1.↑ วิญญาณ 6. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) 2.↑ ที.ปา.11/306/255 3.↑ พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2546 4.↑ วิสุทธิ 3/29 5.↑ สงฺคห15 พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548 ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=วิญญาณ_(ศาสนาพุทธ)&oldid=4736583".

ทุน

ทุน ความหมาย น. ของเดิมหรือเงินเดิมที่มีไว้ ลงไว้ กําหนดไว้ จัดตั้งไว้ เพื่อประโยชน์ให้งอกงาม เช่น มีความรู้เป็นทุน มีเงินเป็นทุน; เงินหรือทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ตั้งไว้สําหรับดําเนินกิจการเพื่อหาผลประโยชน์.

ขาดทุน

ขาดทุน ความหมาย ก. ได้น้อยกว่าต้นทุน.

กำไร

กำไร ความหมาย น. ผลที่ได้เกินต้นทุน. ว. ยิ่ง, เกิน,

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อุเบกขา‎

อุเบกขา (ภาษาบาลี: อุเปกขา ภาษาสันสกฤต: อุเปกษา) แปลว่า ความวางเฉย ความวางใจ

อนัตตา

อนัตตา (บาลี: อนตฺตา) หรือ อนาตมัน (สันสกฤต: अनात्मन् อนาตฺมนฺ) แปลว่า ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน ไม่ใช่อัตตา (หรืออาตมัน) ไม่ใช่ตัวตน หรือ สภาพที่บังคับบัญชาไม่ได้ ...

วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แบก

แบกก. ยกของที่มีนํ้าหนักขึ้นวางบนบ่า

สงเคราะห์

สงเคราะห์
ความหมาย
[เคฺราะ] น. การช่วยเหลือ, การอุดหนุน,
 เช่น ฌาปนกิจสงเคราะห์;การรวบรวม เช่น หนังสือนามสงเคราะห์. ก. อุดหนุน เช่น สงเคราะห์เด็กกำพร้า. (ส. สงฺคฺรห; ป. สงฺคห).
http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?qID=&wi=&hnl=&ob=&asc=&q=สงเคราะห์&select=2

วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อำนาจ

อำนาจ
ความหมาย
น. สิทธิ เช่น มอบอํานาจ; อิทธิพลที่จะบังคับให้ผู้อื่นต้องยอมทําตามไม่ว่าจะด้วยความสมัครใจหรือไม่ หรือความที่สามารถบันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น อํานาจบังคับของกฎหมาย อํานาจบังคับบัญชา; ความสามารถหรือสิ่งที่สามารถทําหรือบันดาลให้เกิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ เช่น อํานาจคุณพระศรีรัตนตรัย อํานาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์; กําลัง, พลัง เช่น อำนาจจิต อำนาจฝ่ายสูง อำนาจฝ่ายต่ำ; ความรุนแรง เช่น ชอบใช้อํานาจ; การบังคับบัญชา เช่น อยู่ใต้อํานาจ; การบังคับ เช่น ขออํานาจศาล.








อำ
ความหมาย
ก. ปิดบัง, ปกปิด; (ปาก) พูดหลอกเพื่อให้ตกใจหรือขบขันเป็นต้น, พูดดักคอ.

นาด
ความหมาย
ก. ทอดแขนให้อ่อนงาม.

นาถ
ความหมาย
[นาด, นาถะ] (แบบ) น. ที่พึ่ง, ผู้เป็นที่พึ่ง. (ป., ส.).

ความถูกต้อง

ความถูกต้อง คือต้องไม่เบียดเบียนตัวเองและคนรอบข้าง ดูได้เดี๋ยวนี้มิใช่เดี๋ยวก่อน ดูที่ความ รู้สึก การคิด การพูด และทำ จิตใจที่ดีมีปัญญาที่ถูกต้องคุ้มครอง ชีวิต ผ่องใส
ล้างราคะ โทสะ โมหะ ออกจากใจ
เห็นโลกตามที่เป็นจริง ทุกอย่างผันแปร ทนสภาพอยู่ไม่ได้ และไร้ตัวตน


http://www.oknation.net/blog/LearningforLife/2012/01/09/entry-2

วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สัมภเวสี

สัมภเวสี คือ สัตว์ผู้ยังแสวงหาที่เกิด ซึ่งได้แก่ปุถุชนและ พระเสขะผู้ยังแสวงหาภพที่เกิดอีก หรือสัตว์ในครรภ์และในไข่ที่ยังอยู่ระหว่างจะเกิด


 เสขะ แปลว่า ผู้ยังต้องศึกษาอยู่ คือยังต้องศึกษาไตรสิกขาคือศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อบรรลุมรรค ผลที่สูงขึ้นไปอีก เรียกเต็มว่า พระเสขะ หรือ เสขบุคคล เสขะ

โอปปาติกะ

โอปปาติกะ (อ่านว่า โอปะปาติกะ) แปลว่า ผู้เกิดผุดขึ้น คือผุดขึ้นเป็นตัวเป็นตนและโตเต็มที่ในทันที

โอปปาติกะ เป็นโยนิคือกำเนิดหรือวิธีเกิดของสัตว์โลกอย่างหนึ่งใน ๔ อย่าง เรียกว่าโอปปาติกกำเนิด
โอปปาติกะ เป็นการเกิดที่ไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยแต่อดีตกรรมอย่างเดียว เกิดแล้วก็สมบูรณ์เต็มตัว ไม่เจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เหมือนสัตว์โลกทั่วไป เวลาตายก็หายวับไปไม่มีซากร่างเหลือไว้เหมือนคนหรือสัตว์
โอปปาติกะ ได้แก่ เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย และมนุษย์สมัยต้นกัลป์

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B0

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อรหันต, อรหันต์

อรหันต, อรหันต์
ความหมาย
[อะระหันตะ, ออระหันตะ, อะระหัน, ออระหัน] น. ชื่อพระอริยบุคคลชั้นสูงสุดใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เรียกว่า พระอรหันต์. (ศัพท์นี้ใช้ อรหาหรือ อรหัง ก็มี แต่ถ้าใช้เป็นคําวิเศษณ์หรืออยู่หน้าสมาสต้องใช้อรหันต). (ป.; ส. อรฺหนฺต).
 

พิสดาร

พิสดาร
ความหมาย
[พิดสะดาน] ว. กว้างขวาง, ละเอียดลออ (ใช้แก่เนื้อความ) เช่น ประวัติศาสตร์ฉบับพิสดาร มีความพิสดารดังนี้; (ปาก) แปลกพิลึก เช่น เล่นพิสดาร. (ส. วิสฺตาร; ป. วิตฺถาร).
 

"ปรกติ"

ปกติ" มาจากคำในภาษาบาลี คำว่า "ปรกติ" มาจากคำในภาษาสันสกฤต ทั้งสองคำนี้มี ความหมายเหมือนกันคือ ธรรมดา, เป็นไปตามเคย
www.vcharkarn.com

วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

นิรุตติ

นิรุตติ น. ภาษา, คําพูด. (ป.; ส. นิรุกฺติ).
นิรุตติปฏิสัมภิทา น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉาน ในนิรุตติ คือ ความเข้าใจในภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำพูดอธิบายให้คนเข้าใจ ตลอดจนรู้ภาษาต่าง ๆ อาจชักนำคนให้เชื่อถือหรือนิยมตามคำพูด, กล่าวสั้น ๆ ว่า เข้าใจพูด. (ป.).
ธรรมปฏิสัมภิทา  น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในธรรม คือ ความเข้าใจสาวหาเหตุในหนหลัง, ความ เข้าใจถือเอาใจความแห่งอธิบายนั้น ๆ ตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อขึ้นได้. (ป.).
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา  [ปะติพานะ-] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ คือ ความเข้าใจทำให้สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ในเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือกล่าวโต้ตอบได้ทันท่วงที. (ป.).
ปฏิสัมภิทา (แบบ) น. ความแตกฉาน, ปัญญาอันแตกฉาน, มี ๔ อย่าง คือ อรรถปฏิสัมภิทา ธรรมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณ ปฏิสัมภิทา. (ป.).
อรรถปฏิสัมภิทา [อัดถะ] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในอรรถ คือ ความเข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้าอันจะเกิดสืบเนื่องไป จากเหตุ, ความเข้าใจอธิบายอรรถแห่งภาษิตย่อให้พิสดาร. (ป.).
http://dict.longdo.com/index.php?lang=en&search=%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B4

ปรมัตถธรรม

ปรมัตถธรรม คือ สภาพธรรมที่มีจริง เป็นอภิธรรม (อภิธรรม คือ ธรรมที่ยิ่งใหญ่ เพราะเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใด) เป็นสภาพธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%96%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1

วิกาล

วิกาล
N. night
    def:[ยามค่ำคืน, เวลากลางคืน]
    syn:{กลางคืน}{ยามวิกาล}
http://th.w3dictionary.org/index.php?q=%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5

วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

มรณ-, มรณ์, มรณะ

มรณ-, มรณ์, มรณะ
ความหมาย
[มอระนะ-, มะระนะ-, มอน, มอระนะ] น. ความตาย, การตาย. (ป., ส.). ก. ตาย.
 

ชรา

ชรา
ความหมาย
[ชะ] ว. แก่ด้วยอายุ, ชํารุดทรุดโทรม. (ป., ส.).
 

ความสุข...

ความสุข หรือ สุข พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า "น. ความสบาย กายสบายใจ..." คือความรู้สึกหรืออารมณ์ประเภทหนึ่ง ...

เมตตา

เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ...

วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กฎธรรมดา

กฎธรรมดา
ความหมายน. ข้อกําหนดระเบียบการปฏิบัติเนื่องจากธรรมดาวิสัยของมนุษย์และสังคม.

สังโยชน์

สังโยชน์
ความหมาย
น. เครื่องพัวพัน, เครื่องผูกรัด, หมายเอากิเลสที่ผูกคนไว้กับวัฏสงสารมี ๑๐ อย่าง มีสักกายทิฐิเป็นต้น พระอริยบุคคลเมื่อละสังโยชน์เป็นลําดับจนหมดก็เป็นพระอรหันต์. (ป. สํโยชน, สญฺโ?ชน; ส. สํโยชน).

อริย, อริยะ

อริย, อริยะ
ความหมาย
[อะริยะ] น. ในพระพุทธศาสนา เรียกบุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษมีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ว่า พระอริยะ หรือ พระอริยบุคคล. ว. เป็นของพระอริยะ, เป็นชาติอริยะ; เจริญ, เด่น, ประเสริฐ.

เที่ยง

เที่ยง
ความหมาย
ว. ตรง เช่น นาฬิกาเดินเที่ยง, แน่นอน
เช่น สังขารไม่เที่ยง คือ ไม่แน่นอน; ที่สะท้อนตรงกับความเป็นจริง ในคําว่า กระจกเที่ยง; แน่, แม่นยํา, ในคําว่า มือเที่ยง; เรียกเวลากึ่งกลางของกลางวันที่พระอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะว่า เที่ยง หรือ เที่ยงวัน ตรงกับ ๑๒ นาฬิกา, เรียกเวลากึ่งกลางของกลางคืนว่า เที่ยงคืน ตรงกับ ๒๔ นาฬิกา.

http://guru.sanook.com/dictionary/พจนานุกรม_ไทย-ไทย_ราชบัณฑิตยสถาน/ก/

ศรัทธา

ศรัทธา
ความหมาย
[สัดทา] น. ความเชื่อ, ความเลื่อมใส, เช่น สิ้นศรัทธา ฉันมีศรัทธาในความดีของเขา บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ประสาทะ เป็น ศรัทธาประสาทะ. ก. เชื่อ, เลื่อมใส, เช่น เขา ศรัทธาในการรักษาแบบแพทย์แผนโบราณ. (ส. ศฺรทฺธา; ป. สทฺธา).

ปัญญา

ปัญญา
ความหมาย
น. ความรอบรู้, ความรู้ทั่ว, ความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิด, เช่น คนมีปัญญา หมดปัญญา. (ป.).

http://guru.sanook.com/dictionary/พจนานุกรม_ไทย-ไทย_ราชบัณฑิตยสถาน/ก/

ภาวนา

ภาวนา แปลว่า การเจริญ การอบรม การทำให้มีให้เป็นขึ้น หมายถึง การทำจิตใจให้สงบและทำปัญญาให้เกิดขึ้น ด้วยการฝึกฝนอบรมจิตไปตามแบบที่ท่านกำหนดไว้ ซึ่งเรียกชื่อไปต่างๆ เช่น การบำเพ็ญกรรมฐาน การทำสมาธิ การเจริญภาวนา การเจริญจิตภาวนา
ภาวนา ในทางปฏิบัติท่านแบ่งไว้ ๒ แบบใหญ่ๆ คือ
  1. สมถภาวนา การอบรมจิตใจให้สงบ ซึ่งได้แก่สมถกรรมฐานนั่นเอง เรียกว่า จิตภาวนา ก็ได้
  2. วิปัสสนาภาวนา การอบรมปัญญาให้เกิด ซึ่งได้แก่วิปัสสนากรรมฐานนั่นเองเรียกว่าปัญญาภาวนา ก็ได้
ภาวนา เป็นบุญอย่างหนึ่ง เรียกว่าภาวนามัย คือบุญที่เกิดจากการภาวนา

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2

กัป หรือ กัลป์

กัป หรือ กัลป์ (บาลี: กปฺป; สันสกฤต: कल्प กลฺป) มีความหมายหลายทาง ได้แก่ กาล, เวลา, สมัย, อายุ, กำหนด, วัด, ประมาณ เป็นคำบอกถึงช่วงเวลาที่ยาวนานที่ใช้ในคัมภีร์พระไตรปิฎก

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9B

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กาลกิริยา (อ่านว่า กาละกิริยา หรือ กานกิริยา)

กาลกิริยา (อ่านว่า กาละกิริยา หรือ กานกิริยา) แปลว่า การกระทำกาละ

กาลกิริยา เป็นสำนวนวัด หมายถึง ตาย, มรณะ, ล่วงลับไป ใช้กับบุคคลทั่วไปไม่จำกัดเพศ เช่นใช้ว่า
“ผู้สั่งสมบุญความดีไว้มาก ครั้นทำกาลกิริยาไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติ
“สามีของนางครั้นสั่งเสียเสร็จแล้วก็ทำกาลกิริยาล่วงลับไปสู่ปรโลก
กาลกิริยา ความหมายตามรูปศัพท์อีกอย่างหนึ่งว่า ถึงเวลาที่กำหนดไว้, ถึงจุดของเวลา, ถึงเวลาสุดท้าย, ถึงชั่วโมงสุดท้าย (ของชีวิต) ซึ่งก็ได้ความหมายว่า “ตาย” เหมือนกัน

จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว

จริต (อ่านว่า จะหริด) จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตชอบท่องเที่ยว หรืออารมณ์ที่ชอบท่องเที่ยวของจิตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มี 6 ประการ หมายถึง ความประพฤติ คือกิริยาอาการที่แสดงออกมาให้เห็น มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า จริย จริยา หรือ จรรยา โดยทั่วไปจะใช้หมายถึงกิริยาอาการที่ไม่ดี เช่น เสียจริต วิกลจริต ดัดจริต จริตจะก้าน แต่ในทางพุทธศาสนา หมายถึง ความประพฤติ, พื้นเพ นิสัยใจคอ มี 6 อย่างคือ
  1. ราคจริต หนักไปทางรักสวยรักงามคือ พอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล ชอบการมีระเบียบ สะอาด ประณีต พูดจาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะ มักชอบพัฒนาศิลปะให้แก่สังคม
  2. โทสจริต หนักไปทางเจ้าอารมณ์มักโกรธ เป็นคนขี้โมโหโทโส พูดเสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ แต่งตัวไม่พิถีพิถัน เป็นคนใจเร็ว ชอบจับผิด จึงมองข้อตลกของคนได้ดี จึงมักเป็นคนที่พูดจาได้ตลกและสนุกสนาน เนื่องจากเป็นคนตรงไปตรงมา ปกป้องสังคมจากการเสื่อมได้ดี
  3. โมหจริต หนักไปทางลุ่มหลง ในทรัพย์สมบัติ นิสัยเห็นแก่ตัว อยากได้ของของคนอื่น ลุ่มหลงในลาภสักการะ ชื่อเสียงเกียรติยศ มักงมงายในบทบาทที่สังคมสมมุติให้ บ้าอำนาจ ถือความเห็นตัวเองเป็นใหญ่ ยึดความเป็นสถาบันสูง
  4. สัทธาจริต หนักไปทางเชื่อถือจริงใจ น้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ เชื่อโดยไร้เหตุผล พวกนี้ถูกหลอกได้ง่าย ใครแนะนำก็เชื่อโดยไม่พิจารณา ชอบเพื่อน ชอบร่วมกลุ่ม พวกมากลากไป แคร์สังคม กลัวคนนินทา ชอบช่วยเหลือผู้อ่อนแอ่
  5. พุทธิจริต หนักไปทางใช้ปัญญาเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ การคิดการอ่าน ความทรงจำดี ถือหลักการ อนุรักษนิยม ชอบสั่งสอนคนอื่น
  6. วิตกจริต หนักไปทางชอบคิดมาก ถ้าขี้ขลาดจะวิตก กังวล ฟู้งซ่านชอบคิด ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ไม่กล้าตัดสินใจ คิดอย่างไม่มีเหตุผล เกินจริง ชอบแหกกฎเกณฑ์ ข้อดีคิดนอกกรอบ ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆต่อสังคม

บาป

บาป หมายถึง สิ่งที่ทำให้จิตใจเสีย คือมีคุณภาพต่ำลง ไม่ว่าจะเสียในแง่ใดล้วนเรียกว่าบาปทั้งสิ้น สิ่งที่ทำแล้วเป็นบาป คือ อกุศลกรรมบถ 10 ได้แก่
  1. ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
  2. ลักทรัพย์
  3. ประพฤติผิดในกาม
  4. พูดเท็จ
  5. พูดส่อเสียด
  6. พูดคำหยาบ
  7. พูดเพ้อเจ้อ
  8. คิดโลภมาก
  9. คิดพยาบาท
  10. มีความเห็นผิด
"นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต บาปย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ทำบาป"
อีกนัยหนึ่ง บาปหมายถึงสิ่งที่มนุษย์นั้นไม่ควรกระทำ ไม่ว่าด้วยทาง กาย วาจา หรือใจ เพราะเป็นสิ่งที่พึงจะนำทุกข์ มาแก่ตนและผู้อื่น

 "อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ"

นิกาย แปลว่า หมวด, หมู่, พวก

นิกาย แปลว่า หมวด, หมู่, พวก
นิกาย นิยมใช้ใน 2 ความหมาย คือความหมายหนึ่งเป็นชื่อเรียกคัมภีร์พระสุตตันตปิฎกที่แยกออกเป็น 5 หมวด คือ ฑีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย
อีกความหมายหนึ่ง เป็นชื่อเรียกคณะนักบวชในศาสนาเดียวกัน แต่แยกไปเป็นพวกๆ ตามความเห็นที่ไม่ตรงกันซึ่งมีในทุกศาสนา ในพุทธศาสนาก็อย่างมหานิกาย กับธรรมยุตินิกาย ทักษิณนิกาย กับ อุตรนิกาย

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2

วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สติ

สติ
ความหมาย
[สะติ] น. ความรู้สึก, ความรู้สึกตัว, เช่น ได้สติ ฟื้นคืนสติ สิ้นสติ, ความรู้สึกผิดชอบ
 เช่น มีสติ ไร้สติ, ความระลึกได้ เช่น ตั้งสติ กำหนดสติ. (ป.; ส. สฺมฺฤติ).



พจนานุกรม ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

บิณฑบาต

บิณฑบาต (อ่านว่า บิน-ทะ-บาด) เป็นภาษาบาลี มาจากคำว่า ปิณฺฑ + ปาต แปลว่า การตกลงแห่งก้อนข้าว โดยทั่วไปคำนี้หมายถึงกิจวัตรของพระภิกษุสงฆ์และสามเณรในพระพุทธศาสนา ในการออกเดินถือบาตรรับการถวายภัตตาหารหรือสิ่งของจากชาวบ้านในเวลาเช้า เรียกว่าการออกบิณฑบาต การออกบิณฑบาตของพระภิกษุเป็นกิจวัตรที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของพระภิกษุสามเณรมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญการบิณฑบาตว่าเป็นกิจอันประเสริฐ หรือในสามัญเรียกว่าการโปรดสัตว์ เพราะการออกบิณฑบาตนั้นนับว่าเป็นการเผยแผ่พระศาสนาทางหนึ่งด้วย ดังในสมัยพุทธกาลที่พระภิกษุสงฆ์จะเทศนาโปรดแก่บรรดาชาวบ้านซึ่งมาร่วมทำบุญ อันเป็นต้นเหตุแห่งการสวดให้พรหลังภัตตกิจในปัจจุบันนี้ ความหมายนัยหนึ่งคำนี้หมายถึงเป็นคำเรียกก้อนข้าวที่ชาวบ้านใส่ลงในภาชนะที่รองรับ เช่นบาตรของพระภิกษุ ในคำวัดหมายถึงอาหารสำหรับถวายพระซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งใน ๔ สำหรับพระสงฆ์ จะถวายโดยใส่บาตรหรือใส่ภาชนะอื่นใดก็เรียกเหมือนกัน หมายถึงการที่ภิกษุสามเณรไปรับอาหารที่เขาถวายโดยบาตรก็ได้ เช่นใช้ว่า "พระออกไปบิณฑบาตกันแต่เช้า ยังไม่กลับจากบิณฑบาตเลย" หมายถึงการที่พระสงฆ์ขอร้องมิให้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ เช่นใช้ว่า "อาตมาขอบิณฑบาตเถอะ อย่าได้ถึงกับฆ่าแกงกันเลย"[ต้องการอ้างอิง] บิณฑบาตมักเขียนผิดเป็น "บิณฑบาตร" โดยอาจเข้าใจว่าเป็นคำเดียวกับบาตร ซึ่งออกเสียงเหมือนกัน

บาตร

บาตรเป็นหนึ่งในอัฐบริขาร เป็นของที่พระภิกษุและสามเณรใช้ในการบิณฑบาต ลักษณะของบาตรในพระธรรมวินัยพระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ว่าบาตรมี 2 ชนิดเท่านั้นคือ บาตรดินเผาและบาตรเหล็กรมดำ โดยมีขนาดตั้งแต่ 7-11 นิ้ว และพระพุทธองค์ทรงห้ามไม่ให้ภิกษุใช้บาตรที่ทำจากวัสดุที่มีค่าเช่น เงิน ทอง ทองเหลือง ทองแดง ในปัจจุบัน วัดส่วนใหญ่อนุโลมให้ใช้บาตรที่ทำจากสแตนเลส เนื่องจากทำความสะอาดง่ายและสะดวกต่อการดูแล ส่วนฝาบาตรในสมัยก่อนนั้นทำจากไม้ ก็เปลี่ยนมาใช้เป็นฝาสแตนเลสแทน แต่ในบางที่ในภาคอีสานยังใช้ฝาบาตรที่ทำจากไม้อยู่ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3

เทวนิยม

เทวนิยม ความหมาย น. ลัทธิที่เชื่อว่ามีพระเจ้าผู้ทรงอํานาจยิ่งใหญ่พระองค์เดียว พระเจ้านั้นทรงมีอํานาจครอบครองโลกและสามารถดลบันดาลความเป็นไปในโลก. (อ. theism).

สุญญตา

สุญญตา เป็นคำศัพท์ภาษาบาลี แปลว่า ความว่างเปล่า, ความเป็นของสูญ คือความไม่มีสาระ ถือเอาเป็นสาระไม่ได้ เขียนว่า สุญตา ก็มี ภาษาสันสกฤตใช้ว่า "ศูนยตา" สุญญตาหมายถึงสภาวะที่ว่างจากความเป็นตัวตนหรืออัตตา ได้แก่เบญจขันธ์ ธาตุ อายตนะ ซึ่งเป็นอนัตตา ไม่มีสาระที่พึงยึดถือว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล, สภาวะที่ว่างหรือปราศจากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง คือราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ได้แก่พระนิพพาน, สภาวะที่ว่างเปล่าไม่มีอะไร (นัตถิกิญจิ) ที่จิตกำหนดหมายไว้ในใจ ในการเจริญอากิญจัญญายตนฌาน คือการทำใจให้ว่าง ไม่เกาะเกี่ยวอารมณ์อื่น เป็นการพักผ่อนที่สำคัญ สุญญตาส่วนใหญ่ใช้ประกอบคำที่เป็นคุณธรรมอันสำเร็จมาจากการพิจารณาสุญญตา เช่น สุญญตสมาธิ สุญญตสมาบัติ สุญญตวิโมกข์ สุญญตวิหาร เพราะมีอวิชชา ถ้านามพ้นนาม ก็สู่สภาวะนิพพาน จิตเมื่อมีวิปัสสนาญาณจะพ้นรูปย่อมเป็นอิสระจากรูป ย่อมรูปแจ้งในรูป ดุจคนมองโลกในที่สูง เมื่อจิตพ้นจิต ด้วยอาสวักขยญาณ ย่อมเป็นอิสระจากนาม ย่อมรู้แจ้งในนาม ดุจอยู่ในกระแสแต่ทวนกระแสพบความว่างแห่งกระแส สุญญตา เป็นสภาวะที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเปรียบเทียบว่าเป็นสภาวะที่ใกล้เคียงกับนิพพานมากที่สุด เช่นเดียวกับอากาศ เพราะมี จิต เจตสิก รูป จึงไม่เข้าถึงนิพพาน เช่นเดียวกับเลข 0 เมื่อมีเลขอื่นๆเกิดขึ้นมา เลข 0 อาจเหมือนหายไปและไม่มีอยู่ แต่แท้จริงเลข 0 ไม่หายไปไหน คงอยู่ตรงนั้นเองแต่เมื่อเลขอื่นๆหมดค่าลงจน เหลือ 0 เลข 0 ย่อมปรากฏตัวขึ้นอีกครั้ง อ้างอิง พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548 http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%95%E0%B8%B2

วรรณะ

วรรณะ ตามรากศัพท์ (สันสกฤต: วรฺณ वर्ण; บาลี: วณฺณ) แปลว่าสี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ห้าสี ในทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา วรรณะทางสังคม (อังกฤษ: caste) หมายถึง ระบบการแบ่งช่วงชั้นในสังคมพบได้ในหลายส่วนของโลก ไม่จำกัดศาสนาหรือเชื้อชาติ ระบบวรรณะในศาสนาฮินดู (อังกฤษ: Varna) เป็นการแบ่งคนเป็นสี่จำพวกด้วยฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม มีสิทธิหน้าที่ในวรรณะตนต่างกันมาแต่กำเนิดได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และ ศูทร โดยมาจากรากฐานความเชื่อที่แต่ละวรรณะมีกำเนิดมาจากส่วนต่างกันของพระพรหม ในทางวรรณคดี วรรณ หมายถึง หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B0

พรหมจักร

พรหมจักร น. จักรวาล; คําสอนของพระพุทธเจ้า. (ส.; ป. พฺรหฺมจกฺก).

วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

อิทัปปัจจยตา

อิทัปปัจจยตา เป็นหลักการทางพุทธศาสนากล่าวถึงความเกี่ยวเนื่องกันของเหตุและผล เมื่อมี เหตุย่อมมีผล และเมื่อเหตุดับผลก็ดับคือเมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้ย่อมมี

วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

มโน

มโน แปลว่า ใจ, ความคิด, อยู่ในกลุ่มคำที่มีความหมายคล้ายกันคือ จิต มนัส เป็นอายตนะภายในอย่างสุดท้ายใน 6 อย่างคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
มโน ปกติใช้นำหน้าคำอื่นๆ ที่แสดงถึงความเกี่ยวเนื่องกับใจ เช่น
มโนกรรม การกระทำทางใจ
มโนทวาร ทวารคือใจ
มโนทุจริต การประพฤติชั่วด้วยใจ
มโนสุจริต การประพฤติชอบด้วยใจ
มโนวิญญาณ ความรู้ทางใจ
มโนสัมผัส สัมผัสทางใจ
มโนรม เป็นที่ชอบใจ
มโนหมายถึง สภาวะของจิตที่น้อมจิตไปกำหนดสนใจ ตามเจตสิกที่เข้ามาปรุงแต่งให้จิตเพ่งความสนใจ ในอายตนะต่างๆ โดยเฉพาะ
มโนวิญญาณคือการน้อมจิตไปในธรรมารมณ์ทั้ง 3 คือ
1.การน้อมจิตเสพเวทนา
2.การน้อมจิตระลึกถึงความจำในสัญญา(การนึก)
3.การน้อมจิตปรุงแต่งสังขาร 3 คือกายสังขาร(เคลื่อนไหวร่างกาย) วจีสังขาร(การคิด) จิตสังขาร(ปรุงแต่งอารมณ์แก่จิต)
มโนเป็นทั้งภวังคจิต เป็นทั้งวิถีจิต ตามวาระขณะจิตนั้นๆ
ภวังคจิต หมายเอา มโนทวาร
วิถีจิต หมายเอา มโนวิญญาณ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%99

วิถีจิต

วิถีจิต คือ   จิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์โดยอาศัยทวารใดทวารหนึ่งใน 6 ทวาร
วิถีจิต  มี ๒ ประเภท  คือ  กามวิถีและอัปปนาวิถี
ทางพระพุทธศาสนา  เชื่อว่า  สิ่งมีชีวิตทั้งหลายสนองตอบต่อสิ่งเร้ารอบตัวเองได้
6 ทาง  คือ  ทางตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ   ระหว่างที่ไม่มีสิ่งเร้าภายภายนอกดังกล่าว
สิ่งมีชีวิตนั้นก็ไม่ได้ตาย   แต่ จิต กำลังทำหน้าที่หนึ่งเงียบๆ ของมัน  หน้าที่นั้นเรียกว่า
"ภวังค์" และเมื่อไหร่ที่สิ่งเร้ามากระทบ  เมื่อนั้นแหละที่จิตออกมาทำงานในหน้าที่ใหม่
ของมัน  สภาวะนั้นเรียกว่า "วิถี"


พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งธรรมทั้งปวง  ทรงแสดงพระธรรมตามที่
พระองค์ทรงรู้นั้นแก่สาวกทั้งหลาย 
ความเป็นไปของจิตที่เกิดขึ้นรู้แจ้งอารมณ์ที่มากระทบในทวารทั้ง ๖ 
เรียกว่า  วิถีจิต    เพราะจิตมี ๒ ประเภท  คือ  
จิตที่เป็นวิถี ๑
จิตที่พ้นวิถี ๑
http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=3368


http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=3368

ภวังคจิต

ภวังคจิต ภวังคะ หรือ ภะ-วัง-คะ ภว+องฺคะ แปลตามพยัญชนะว่า "องค์ของภพ" มักใช้รวมกับจิต เป็นภวังคจิต ในทางพระพุทธศาสนา ถือว่า จิตมีลักษณะเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการสืบต่อสันตติของจิต ย่อมอาศัยการถ่ายทอดข้อมูลจากภวังคจิตจิตดวงเดิม ไปสู่จิตดวงใหม่ ด้วยกระบวนการของการทำงานของภวังคจิต เพราะเหตุว่าภวังคจิตเป็นเหตุให้สร้างจิตดวงใหม่ตลอดเวลาก่อนจิตดวงเก่าจะดับไป จึงชื่อว่าเป็นเหตุแห่ง "ภพ" หรือเป็นเหตุสร้าง"ภพ"
จิต ในทางศาสนาพุทธแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ 1.วิถีจิต จิตสำนึก 2.ภวังคจิต จิตใต้สำนึก
ภวังคจิต คือจิตใต้สำนึกในทางศาสนาพุทธหมายถึงเป็นกระบวนการทำงานแบบอัตตโนมัติของจิต จิตใต้สำนึกในความหมายของภวังคจิตนี้จึงอาจแตกต่างจากทางจิตวิทยา
ภวังคจิต มี 3 อย่าง คือ
1.ภวังคบาท คือภวังคจิตที่ทรงอารมณ์เก่า อันเป็นอารมณ์ที่ได้มาจากภพหรือจิตดวงก่อน และกำลังกระทบอารมณ์ใหม่
2.ภวังคจลนะ คือ เป็นภวังคจิตที่ไหวตัว เพราะเหตุที่มีอารมณ์ใหม่ มากระทบ จึงน้อมไปในอารมณ์ใหม่(สร้างและถ่ายทอดข้อมูลสู่จิตดวงใหม่)
3.ภวังคปัจเฉทะ คือเป็นภวังคจิตที่ตัดกระแสภวังค คือ ปล่อยอารมณ์เก่า วางอารมณ์เก่า เพื่อรับอยู่กับอารมณ์ใหม่หรือจิตดวงใหม่
ภวังคจิต เป็น วิบากจิต คือ จิตใต้สำนึกส่วนลึกที่สุดของจิตเป็นที่สั่งสมอารมณ์จนกลายเป็นอุปนิสัย
ภวังคจิต จะเกิดคั่นระหว่างวิถีจิตในแต่ละวาระ ทำหน้าที่สืบต่อและดำรงภพชาติ
ภวังคจิต จะเกิดขึ้นเมื่อวิถีจิตดับ และเมื่อเกิดวิถีจิตภวังคจิตจะดับลง เมื่อวิถีจิตดับลงภวังคจิตจะเกิดขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่มีภวังคจิต พอขาดวิถีจิต จิตจะไม่มีการสืบต่อสันตติก็เท่ากับสิ้นชีวิต
ภวังคจิต ในขณะที่เปลี่ยนภพจุติใหม่สู่ชาติใหม่ จะใช้ชื่อว่า ปฏิสนธิจิตแทน ซึ่งเป็นขณะจิตแรกของแต่ละชาติ ภวังคจิตจึงสืบต่อภพในระดับเปลี่ยนชาติด้วย
ภวังคจิต คือมโนทวารเป็นอายตนะที่ ๖ อันเป็นวิบาก เป็นอัพยากฤต ซึ่งเป็นจิตตามสภาพปกติ เมื่อยังไม่ขึ้นสู่วิถีจิตรับรู้อารมณ์ จะเป็นเพียงมโน ยังไม่เป็นมโนวิญญาณ เมื่อรับอารมณ์คือเจตสิก จะกลายเป็นมโนวิญญาณ
มีพุทธพจน์ว่า “จิตนี้ประภัสสร (ผุดผ่อง ผ่องใส บริสุทธิ์) แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา" จิตที่ประภัสสรในที่นี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่าหมายถึงภวังคจิต

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95





http://www.nkgen.com/360.htm

จิตสังขาร

จิตสังขาร หนึ่งในขันธ์ 5 (กาย เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ)

 1. จิตของโลกียชน =
 2. จิตของโลกุตตรชน =    
      ส่วนจิตปภัสสรที่พระพุทธเจ้าหมายถึง  คือ จิตเดิมแท้จริงเลย 

วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556

เจตสิก

เจตสิกหมายถึงองค์ประกอบของจิต
อาการหรือการแสดงออกของจิต จัดเป็นสมรรถนะหรือคุณสมบัติของจิต มีลักษณะที่เกิดดับพร้อมกับจิต เป็นอารมณ์ของจิต มีวัตถุที่อาศัยเดียวกับจิต เป็นกฎเกณฑ์ให้ประกอบเป็นจิต

 เจตสิกแยกเป็นขันธ์ ได้ 3 ขันธ์
เวทนาเจตสิกเป็นเวทนาขันธ์ (คือความแปรปรวนทางนามธาตุ)
 สัญญาเจตสิกเป็นสัญญาขันธ์ (เปรียบเช่นภูมิคุ้มกันของร่างกายที่จดจำการแก้ทุกขัง)
 เจตสิกที่เหลืออีก 50 เป็น สังขารขันธ์ (ได้แก่นามธาตุต่างๆมีสภาวะเป็นข้อมูล ที่เป็นกฎเกณฑ์ให้เป็นไปทั่วของจิต
อันเป็นดุจรหัสพันธุ์กรรมของจิต )

เจตสิก หมายถึง ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิตให้มีความเป็นไปต่าง ๆ อาการที่ประกอบกับจิตนั้น มีลักษณะ 4 ประการ คือ
1.เกิดพร้อมกับจิต
2.ดับพร้อมกับจิต
3.มีอารมณ์เดียวกับจิต
4.อาศัยวัตถุเดียวกับจิต จิตและเจตสิกที่อิงอาศัยกันนี้ ถ้าเปรียบจิตเป็นน้ำ เจตสิกเป็นสีแดง ผสมกันเป็นน้ำแดง เมื่อผสมกันแล้วไม่สามารถแยกน้ำออกจากสีแดงได้ฉันใด จิตและเจตสิกก็ไม่สามารถแยกออกจากกันเป็นอิสระได้ฉันนั้น
 สภาวธรรม รวม 4 ประการของเจตสิก มีดังนี้
1.ลักษณะของเจตสิกคือ มีการอาศัยจิตเกิดขึ้น
2.กิจการงานของเจตสิกคือ เกิดร่วมกับจิต
 3.ผลงานของเจตสิกคือ เป็นอารมณ์ของจิต
4.เหตุที่ทำให้เจตสิกเกิดขึ้นได้ คือ การเกิดขึ้นของจิต

เจตสิกนี้แม้ว่าจะเป็นสิ่งปรุงแต่งจิต ให้จิตมีพฤติกรรมเป็นไปตามลักษณะของเจตสิกก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่าจิตเป็นใหญ่ เป็นประธาน เพราะเจตสิกเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยจิตเกิด ไม่ว่าจะเป็นความพอใจ ความไม่พอใจ ความรัก ความเกลียด ความสงบ หรือฟุ้งซ่าน ล้วนเป็นคุณสมบัติของเจตสิกทั้งสิ้น แต่เจตสิกเกิดขึ้นเอง และแสดงพฤติกรรมเองไม่ได้ ต้องอาศัยจิตเป็นตัวแสดงพฤติกรรมแทน จึงกล่าวได้ว่า ธรรมชาติของเจตสิกนั้น เกิดพร้อมกับจิต หรือประกอบกับจิตเป็นนิตย์ หรือธรรมชาติ ที่ประกอบกับจิตเป็นนิตย์ ชื่อว่า เจตสิก การที่ต้องแบ่งจิตออกไปมากมายนั้น เพราะเจตสิกที่ประกอบจิต มีประเภทต่าง ๆ กัน จิตสัมพันธ์กับโลกภายนอก โดยการเข้าไปรับรู้โลกเป็นอารมณ์ แต่การรับรู้นั้นต้องอาศัยเจตสิกที่เป็นตัวกระทบอารมณ์ครั้งแรก(ผัสสะเจตสิก) เป็นต้น และเจตสิกอื่น ๆ ก็จะร่วมปรุงแต่งจิตให้เป็นไปในอาการต่างๆ การปรุงแต่งของเจตสิก ที่เกิดพร้อมกับจิตนั้น ทำให้จิตมีความสามารถในการรู้อารมณ์พิเศษแตกต่างกันออกไป เช่น รู้เรื่องของกามคุณอารมณ์ เรื่องของรูปฌาน อรูปฌาน จนถึงรู้นิพพานอารมณ์

 เจตสิกจัดเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งของพระอภิธรรมปิฎกซึ่งมี 4 เรื่องคือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน และจัดเป็นเรื่องสำคัญของพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่งด้วย

ชีวิตินทรีย์

ชีวิตินทรีย์ อินทรีย์คือชีวิต , สภาวะที่เป็นใหญ่ในการตามรักษาสหชาตธรรม (ธรรมที่เกิดร่วมด้วย) ดุจน้ำหล่อเลี้ยง ดอกบัว เป็นต้น มี ๒ ฝ่ายคือ ๑. ชีวิตินทรีย์ที่เป็นชีวิตรูป เป็นอุปาทาย รูปอย่างหนึ่ง (ข้อที่ ๑๓) เป็นเจ้าการในการ รักษาหล่อเลี้ยงเหล่ากรรมชรูป (รูปที่เกิดแต่กรรม) บางทีเรียก รูปชีวิตินทรีย์ ๒. ชีวิตินทรีย์ที่เป็นเจตสิกเป็นสัพพ จิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิก ที่เกิดกับจิตทุกดวง) อย่างหนึ่ง (ข้อที่ ๖) เป็นเจ้าการในการรักษาหล่อเลี้ยงนามธรรมคือ จิตและเจตสิกทั้งหลาย บางทีเรียก อรูปชีวิตินทรีย์ หรือ นามชีวิตินทรีย์ --------------------------------------------------------------------------------

ทิฐิมานะ

1.ทิฏฐิมานะ ทิฏฐิแปลว่าความเห็น ในที่นี้หมายถึงความเห็นดื้อดึง ถึงผิดก็ไม่ยอมแก้ไข มานะความถือตัว รวม ๒ คำ เป็นทิฏฐิมานะ หมายถึงถือรั้น อวดดี หรือดึงดื้อถือตัว 2.มานะ ความถือตัว,ความสำคัญตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่ (ข้อ ๕ ในอนุสัย ๗, ข้อ ๘ ในสังโยชน์ ๑๐,ข้อ ๑๓ ในอุปกิเลส ๑๖) 3.อติมานะ ดูหมิ่นท่าน,ความถือตัวว่าเหนือกว่ายิ่งกว่าเขา (ข้อ ๑๔ ในอุปกิเลส ๑๖) 4.อัสมิมานะ การถือตัวว่านี่ฉันนี่กู กูเป็นนั่นเป็นนี่, การถือเราถือเขามีอุบายบรรเทาเบาบาง ทิฐิมานะได้อยางไรบ้างครับ จากคุณ : Mr.A แก้ มานะทิฐิ โดยการเจริญ อนิจจสัญญา ครับ คือให้พิจารณาว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยเฉพาะขันธ์ 5 ของตนนั้น เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มันต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ไปตามกาลเวลา ดังนั้นอย่าไปยึดมั่นถือมั่น จากคุณ : ว่างจากเวปอื่น จากhttp://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/010213.htm

จริง

จริง, จริง ๆ
ความหมาย
[จิง] ว. แน่ เช่น ทําจริง ชอบจริง ๆ; แท้, ไม่ปลอม, เช่น ของจริงไม่ใช่ของเทียม; เป็นอย่างนั้นแน่แท้ ไม่กลับเป็นอย่างอื่น 




ญาณทัศนะ

ญาณทัศนะ (ยา-นะ-)
แปลว่า การรู้และการเห็น การเห็นคือการรู้จริง, การเห็นด้วยการรู้จริง, การเห็นอย่างประเสริฐ คือการรู้อย่างแจ่มแจ้ง
ญาณทัศนะ เป็นที่ใช้แพร่หลายในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และมีความหมายหลายระดับตามเนื้อหาในเรื่องนั้น ๆ เช่นหมายถึงการเห็นพระธรรมที่พระอริยเจ้าเห็น การแทงตลอดธรรมอย่างที่พระอริยเจ้าแทงตลอด การบรรลุธรรมที่ทำให้เป็นพระอริยะ การบรรลุความเป็นพระอริยะ ซึ่งก็คือปัญญานั่นเอง
ญาณทัศนะ ยังหมายรวมไปถึงวิปัสสนาญาณ ทิพจักขุญาณ มรรคญาณ ผลญาณ ปัจเวกขณญาณ สูงสุดถึงสัพพัญญุตญาณ ในที่บางแห่งอธิบายว่าแม้ความเห็นที่บริสุทธิ์หรือทิฏฐิวิสุทธิ์ก็เรียกว่าญาณทัศนะได้

ดูเพิ่ม

วิสุทธิ 7
ญาณ
วิปัสสนากรรมฐาน

วิจารณญาณ

วิจารณญาณ (อ่านว่า วิจาระนะยาน)
หมายถึงปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผลที่ถูกต้อง ปัญญาสามารถในการพิจารณาจัดแจง วางแผน สืบสวน แสวงหา ไตร่ตรองเหตุผล เรียกว่า วิจารณปัญญา ก็มี
วิจารณญาณ เป็นเครื่องมือในการสังเกตคิดค้น และตัดสินวินิจฉัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นเครื่องมือของโยนิโสมนสิการ มีลักษณะเฟ้นหาไตร่ตรองข้อเท็จจริงด้วยเหตุผลรอบคอบและรอบด้าน ทำให้ฉุกคิดไม่ตัดสินใจโดยรีบด่วนจนเกิดความผิดพลาด เป็ตให้การสรุปผลหรือตัดสินเรื่องนั้นๆ ถูกต้องถ่องแท้ หรือผิดพลาดน้อยที่สุด
วิจารณญาณ เป็นเรื่องของปัญญา เหตุผลและข้อเท็จจริง มิใช่เป็นเรื่องของทัศนะและการคาดเดา
การศึกษาสมัยใหม่ในประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศได้นำกระบวนการคิดในลักษณะนี้มารวมไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรียกว่า "การคิดเชิงวิจารณ์"


 อ้างอิงพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548

ความเกียจคร้าน

ความเกียจคร้านเป็นอกุศลประเภทหนึ่ง คือ ขณะที่เกียจคร้านจิตเป็นอกุศล อนึ่ง
ในสิงคาลกสูตรทรงแสดงว่า    ความเกียจคร้านในการทำการงาน    เป็นอบายมุขอย่าง
หนึ่ง คือ ผู้ที่เกียจคร้านในการทำงานย่อมเสื่อมจากโภคทรัพย์ที่ควรได้     ย่อมไม่เจริญ
ทั้งทางโลก และทางธรรม  ในทางธรรมะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญความอดทน
ความเพียร ความพยายาม   ดังพุทธภาษิตว่า บุคคลล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร   ซึ่ง
ในที่นี้หมายถึงความเพียรในกุศล เพียรที่ถูกต้อง  ความเพียรในองค์มรรค สัมมาวายามะ
    
http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=5248


http://www.youtube.com/watch?v=lXHU46ujPrs

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

ปุณณ์

ปุณณ์ หมายถึง เต็ม พร้อม ปุณย์ หมายถึง ให้ถึงความสำเร็จ ให้สมความมุ่งหมาย ปุญ หมาย ถึง ความดี การทำความดี

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

กิเลส

กิเลส แปลว่า สิ่งเกาะติด สิ่งเปรอะเปื้อน สิ่งสกปรก

กิเลส คือ สิ่งที่แฝงติดอยู่ในใจแล้วทำให้ใจเศร้าหมองขุ่นมัว มีอุปมาเหมือนสีที่ใส่ลงไปในน้ำทำให้น้ำมีสีเหมือนสีที่ใส่ลงไป ใจก็เช่นกัน ปกติก็ใสสะอาด แต่กลายเป็นใจดำ ใจง่าย ใจร้ายก็เพราะมีกิเลสเข้าไปอิงอาศัยผสมปนเปอยู่
กิเลสที่ชอบซุกหมักหมมอยู่ในใจคนมากที่สุด คือ ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เพราะกิเลสชอบซุกหมักหมมอยู่ในใจของคน จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กิเลสาสวะ หรือ อาสวกิเลส แปลว่า กิเลสที่หมักดองอยู่ในจิต
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AA

สัมปยุตตธรรม

   
จิตและเจตสิกเป็นสภาพธรรมซึ่งเกิดร่วมกัน พร้อมกัน
ปราศจากกันไม่ได้ แยกกันไม่ได้ เมื่อเกิดขึ้นพร้อมกันแล้วก็ดับพร้อมกัน
รู้อารมณ์เดียวกัน   เกิดที่รูปเดียวกัน (ในภูมิที่มีขันธ์ ๕) นั้นคือลักษณะที่
เป็นสัมปยุตตธรรม

ปรมัตถธรรมมี ๔ คือ
จิตปรมัตถ์ ๑  
เจตสิกปรมัตถ์ ๑   
รูปปรมัตถ์ ๑
นิพพานปรมัตถ์ ๑

http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=8628

โยนิโสมนสิการ

โยนิโสมนสิการ (ปัญจาบ: yonisomanasikāra; คำอ่าน: โยนิโสมะนะสิกาน) หมายถึง การทำในใจให้แยบคาย กล่าวคือ การพิจารณาอย่างรอบคอบถี่ถ้วน ทางพุทธศาสนาถือว่ามีคุณค่าเท่ากับความไม่ประมาทหรือ "อัปมาท" ซึ่งเป็นแหล่งรวมแห่งธรรมฝ่ายดีหรือ "กุศลธรรม" ทั้งปวง ดังปรากฏในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๙ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ข้อ ๔๖๔ หน้า ๑๒๙ นอกจากนั้น ยังจัดเป็นธรรมะข้อหนึ่งในกลุ่มธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญด้วยปัญญา และเป็นธรรมะมีอุปการะมากแก่มนุษย์ดังพรรณาในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๒ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ข้อ ๒๖๘-๙ หน้า ๓๓๒[1]
การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น คือ ทำในใจโดยแยบคาย การใช้ความคิดถูกวิธี คือ การกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสายแยกแยะออกพิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดย อุบายวิธีให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย [2]เช่น
  • คิดจากเหตุไปหาผล
  • คิดจากผลไปหาเหตุ
  • คิดแบบเห็น ความสัมพันธ์ต่อเนื่อง เป็นลูกโซ่
  • คิดเน้นเฉพาะจุดที่ทำให้เกิด
  • คิดเห็น องค์ประกอบที่มา ส่งเสริมให้เจริญ
  • คิดเห็น องค์ประกอบที่มา ทำให้เสื่อม
  • คิดเห็นสิ่งที่มา ตัดขาดให้ดับ
  • คิดแบบ แยกแยะองค์ประกอบ
  • คิดแบบ มองเป็นองค์รวม
  • คิดแบบ อะไรเป็นไปได้ หรึอเป็นไปไม่ได้



http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AA

จิตและเจตสิก

 จิตและเจตสิกเป็นสภาพธรรมซึ่งเกิดร่วมกัน พร้อมกัน
ปราศจากกันไม่ได้ แยกกันไม่ได้ เมื่อเกิดขึ้นพร้อมกันแล้วก็ดับพร้อมกัน
รู้อารมณ์เดียวกัน   เกิดที่รูปเดียวกัน (ในภูมิที่มีขันธ์ ๕) นั้นคือลักษณะที่
เป็นสัมปยุตตธรรม

ความวิจิตร คือ ความต่างกันของจิตนั้น   ไม่มีที่สิ้นสุด   ตามสัมป-
ยุตตธรรม คือ เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย    ฉะนั้น จึงควรเข้าใจความหมายของสัมป-
ยุตตธรรม ปรมัตถธรรมมี ๔ คือ จิตปรมัตถ์ ๑    เจตสิกปรมัตถ์ ๑     รูปปรมัตถ์ ๑
นิพพานปรมัตถ์ ๑

 ขอบคุณข้อมูลดีๆจากhttp://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=8628

วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

ลักษณะพิเศษ

สันดาน

N. inborn trait
    syn:{อุปนิสัย}{ลักษณะพิเศษ}{นิสัย}

N. nature
    def:[อุปนิสัยที่มีมาแต่กำเนิด มักใช้ไปในทางไม่สู้จะดี]
    syn:{นิสัยถาวร}
    sample:[สิ่งที่ดีที่ถูกนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก ต้องหมั่นอบรมอยู่เสมอให้เป็นสันดาน]


second nature

N. นิสัย
    relate:{สันดาน}
N. นิสัยติดตัว
    relate:{สันดาน} 
    syn:(habit)(familiarity)


ธาตุแท้

N. element
    syn:{ธาตุบริสุทธิ์}
N. nature
    def:[อุปนิสัยใจคอที่แท้จริง]
    syn:{เนื้อแท้}{สันดานเดิม}{สันดาน}
    sample:[อีกไม่นานเราทุกคนจะได้เห็นธาตุแท้ของเขา]


โฉมหน้า

N. face
    syn:{เค้าหน้า}{หน้าตา}{ใบหน้า}
    sample:[ตำรวจเพิ่งเผยโฉมหน้าแก๊งค์โจรวัยรุ่น]
N. nature
    syn:{แก่นแท้}{สันดาน}
    sample:[โฉมหน้าที่แท้จริงภายใต้ความงามนี้คือความชั่วร้าย]


nature

nature  (เน'เชอะ)
n. ธรรมชาติ, สันดาน, นิสัย, ลักษณะ, ชนิด, วัตถุ, ทางโลก, จักรวาล by
nature โดยกำเนิด


constitution

constitution  (คอนสทิทิว'เชิน)
n. การประกอบขึ้น, การก่อตั้ง, การสถาปนา, ร่างกาย, อุปนิสัย, สันดาน,
รัฐธรรมนูญ, ระเบียบข้อบังคับ, รูปแบบการปกครอง, รากฐาน 

Synonym:  composition

ธาตุ

ธาตุ ในทางพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

ธาตุ 4

ในทางพระพุทธศาสนา กล่าวว่า คนเราประกอบด้วย ธาตุ 4 ประการ ได้แก่
  • ปฐวีธาตุ ธาตุดิน (สิ่งที่มีสถานะเป็นของแข็งในร่างกาย เช่น ผิวหนัง ตา จมูก ปาก ลำไส้ ตับ ฯลฯ)
  • อาโปธาตุ ธาตุน้ำ (สิ่งที่มีสถานะเป็นของเหลวในร่างกาย เช่น โลหิต น้ำปัสสาวะ เหงื่อ ฯลฯ)
  • วาโยธาตุ ธาตุลม (สิ่งที่มีสถานะเป็นแก๊สหรือก๊าซในร่างกาย เช่น ลมหายใจ แก๊สในกระเพาะอาหาร ฯลฯ)
  • เตโชธาตุ ธาตุไฟ (อุณหภูมิของร่างกาย พลังงานในการเผาผลาญอาหาร ให้เราร้อนในกายและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย)

 ธาตุ 6

ในทางพระพุทธศาสนากล่าวว่า คนเราประกอบด้วยธาตุ 6 ประการ ได้แก่
ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ซึ่งประกอบด้วยอะตอมเพียงหนึ่งประเภทตามการจำแนกด้วยเลขอะตอม อันเป็นจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้น

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8

สังขาร

สังขารหมายถึงร่างกาย ตัวตน สสาร สิ่งที่ประกอบกันขึ้นหรือถูกปรุงแต่งขึ้นจากธาตุ 4 สังขาร
ในความหมายนี้แบ่งเป็น 2
 คือ
สังขารมีใจครอง (อุปาทินนกสังขาร) คือสิ่งมีชีวิต มีจิตวิญญาณ สามารถเคลื่อนไหว รับ จำ คิด รู้อารมณ์ได้ ได้แก่มนุษย์ อมนุษย์ สัตว์ดิรัจฉาน
 สังขารไม่มีใจครอง (อนุปาทินนกสังขาร) คือ สิ่งไม่มีชีวิต ไม่มีจิตวิญญาณ รับ จำ คิด รู้อารมณ์ไม่ได้ ได้แก่ต้นไม้ ภูเขา ดิน น้ำ รถ เรือ เป็นต้น
สังขารในความหมายนี้ จัดเป็นรูปขันธ์ในขันธ์ 5 มิใช่สังขารขันธ์ และมีลักษณะเสมอกันโดยเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ทุกขัง

ทุกข์ หรือ ทุกขัง (บาลี: ทุกฺขํ) เป็นหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา แปลว่าทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก โดยทั่วไปหมายถึง สังขารธรรม
อันได้แก่ ขันธ์ 5 คือสังขารทั้งปวงล้วนเป็นที่ตั้งของกองทุกข์
ทุกข์ในทางพระพุทธศาสนา ถือเป็นกิจในอริยสัจ 4 ที่ชาวพุทธต้องกำหนดรู้เพื่อละและปล่อยวางในลำดับต่อไปในกิจทั้งสี่ในอริยสัจ อันได้แก่ รู้ทุกข์ เพื่อค้นหาสาเหตุในการดับทุกข์ (สมุทัย) แล้วจึงตั้งจุดมุ่งหมายในการดับทุกข์ (นิโรธ) และดำเนินตามเส้นทางสู่ความดับทุกข์ (มรรค) คือสละ ละ ปล่อยวาง ไม่ยึดติดในใจด้วยอำนาจกิเลส
ทุกข์ จัดเป็นหนึ่งในชื่อเรียกที่เป็นคำไวพจน์ของขันธ์ซึ่งถูกใช้เป็นอย่างมากในพระไตรปิฎก จะมาคู่กับคำไวพจน์ของขันธ์อีก 2 คำ คือ อนิจจัง กับ อนัตตา นั่นเอง
 

วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

ภาวนา


ภาวนา แปลว่า การเจริญ การอบรม การทำให้มีให้เป็นขึ้น หมายถึง การทำจิตใจให้สงบและทำปัญญาให้เกิดขึ้น ด้วยการฝึกฝนอบรมจิตไปตามแบบที่ท่านกำหนดไว้ ซึ่งเรียกชื่อไปต่างๆ เช่น การบำเพ็ญกรรมฐาน การทำสมาธิ การเจริญภาวนา การเจริญจิตภาวนา ภาวนา ในทางปฏิบัติท่านแบ่งไว้ ๒ แบบใหญ่ๆ คือ สมถภาวนา การอบรมจิตใจให้สงบ ซึ่งได้แก่สมถกรรมฐานนั่นเอง เรียกว่า จิตภาวนา ก็ได้ วิปัสสนาภาวนา การอบรมปัญญาให้เกิด ซึ่งได้แก่วิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง เรียกว่า ปัญญาภาวนา ก็ได้ ภาวนา เป็นบุญอย่างหนึ่ง เรียกว่าภาวนามัย คือบุญที่เกิดจากการภาวนา

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มิจฉาทิฐิ


มิจฉาทิฐิ หรือ มิจฉาทิฏฐิ เรียกโดยย่อว่า "ทิฐิ" หมายถึง ความเห็นผิด ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การบวงสรวงไม่มีผล ผลของกรรมดีกรรมชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดาไม่มีบุญคุณ บิดาไม่มีบุญคุณ สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทราบถึงโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง และสามารถทำให้ผู้อื่นรู้ตามด้วย ไม่มี" ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ มี 2 อย่าง ได้แก่ ปรโตโฆสะ คือ การโฆษณาแต่บุคคลอื่น เสียงจากผู้อื่น ฟังคำบอกเล่าชักจูงของผู้อื่น อโยนิโสมนสิการ คือ การทำในใจโดยไม่แยบคาย การไม่ใช้ปัญญาพิจารณา ความไม่รู้จักคิด การปล่อยให้อวิชาครอบงำ ตรงกันข้ามกับคำว่า โยนิโสมนสิการ

วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อกตัญญู

อกตัญญู แปลว่า ผู้ไม่รู้สึกถึงบุญคุณที่ผู้อื่นทำแก่ตน ผู้ไม่มีความกตัญญู
อกตัญญู คือผู้ระลึกไม่ได้ว่าใครเคยทำดีเคยช่วยเหลือเกื้อกูลตนมา ผู้ลืมบุญคุณของคนอื่นที่ทำแก่ตนมา ผู้ไม่ยอมรับบุญคุณของใครทั้งนั้น เรียกว่า คนอกตัญญู มีลักษณะตรงข้ามกับคนกตัญญู
อกตัญญู มีลักษณะลบหลู่บุญคุณคน ไม่ปรารถนาที่จะตอบแทนความดีของใคร ชอบลืมเรื่องที่เขาเคยทำเคยช่วยเหลือตนมา แต่ก็ไม่มีความรู้สึกอิ่มที่จะรับจากคนอื่นอีก หากยังมีช่องทางจะได้จากเขาอีกก็จะพอใจ หากเห็นว่าหมดโอกาสแล้วก็จะตีจากไปทันที หรือไม่ก็แสดงกิริยาพูดจาให้ร้ายต่างๆ ท่านจึงว่า
"แม้จะยกแผ่นดินทั้งหมดให้แก่คนอกตัญญูก็จะให้เขายินดีพอใจไม่ได้"

มัชฌิมาปฏิปทา

มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง หมายถึง ทางปฏิบัติที่ไม่สุดโต่งไปในทางอุดมการณ์ใดอุดมการณ์หนึ่งเกินไป มุ่งเน้นใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา มักไม่ยืดถือหลักการอย่างงมงาย
มัชฌิมาปฏิปทาในทางจิตวิญญาณหมายถึงสติ สติเป็นความสมสมดุลทางจิตอย่างหนึ่ง คือสมดุลระหว่างศรัทธาและปัญญา สติจะอยู่ตรงกลางระหว่างอารมณ์และเหตุผล ถ้าความคิดเปรียบเป็นน้ำไหล สมาธิเปรียบเป็นน้ำนิ่ง สติจะเป็นน้ำไหลนิ่ง คือสติเป็นทางสายกลางทางจิตวิญญาณ

อวิชชา

อวิชชา (บาลี: อวิชฺชา, สันสกฤต: อวิทฺยา) หมายถึง ความไม่รู้แจ้ง คือ ความไม่รู้ความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ โดยถูกต้องแจ่มแจ้ง มิได้หมายถึงความไม่รู้ศิลปะวิชาการต่างๆ หรือไม่รู้ร้อนรู้หนาวเป็นต้น แต่สำหรับคนไทยส่วนใหญ่จะนำคำว่า อวิชชา ไปใช้เฉพาะกับวิชาในทางไสยศาสตร์เท่านั้น โดยเข้าใจกันว่า อวิชชาเป็นวิชาที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรือหาประโยชน์เข้ามาใส่ตนเองโดยไม่สนใจผู้อื่น
อวิชชา หมายถึงความไม่รู้ในอริยสัจ คือ
  • ไม่รู้ในทุกข์ ได้แก่ไม่รู้ว่าอะไรบ้างที่เป็นตัวทุกข์ เช่นไม่รู้ความเกิด ความแก่ ความตาย ความผิดหวัง เป็นตัวทุกข์
  • ไม่รู้ในเหตุเกิดทุกข์ ได้แก่ไม่รู้ว่าทุกข์นั้นเกิดมาจากตัณหาในจิตของตนเอง มิใช่เกิดจากผีสาง เทวดา มิใช่เกิดจากการบันดาล
  • ไม่รู้ในความดับทุกข์ ได้แก่ความไม่รู้ว่าทุกข์นั้นเมื่อเกิดแล้วสามารถดับได้ โดยการกำจัดตัณหาให้หมดไป
  • ไม่รู้ในข้อปฏิบัติสำหรับดับทุกข์ ได้แก่ไม่รู้ว่าทุกข์นั้นจะดับสนิทได้ด้วยมรรค 8 มีสัมมาทิฐิเป็นต้น มิใช่ดับได้ด้วยการวิงวอนขอร้องให้คนอื่นช่วย
ความไม่รู้สึกต้วทั่วพร้อมโดยสมบูรณ์ในความเป็นจริงของสิ่งต่างๆในขณะที่กำลังเผชิญหน้ากับมัน กล่าวคือไม่รู้กายในกาย ไม่รู้เวทนาในเวทนา ไม่รู้จิตในจิต และไม่รู้ธรรมในธรรม ก็คือไม่มีสติปัฏฐาน 4 ที่บริบูรณ์นั้นเองคือ อวิชชา

วิจารณญาณ



วิจารณญาณ (อ่านว่า วิจาระนะยาน)
หมายถึงปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผลที่ถูกต้อง ปัญญาสามารถในการพิจารณาจัดแจง วางแผน สืบสวน แสวงหา ไตร่ตรองเหตุผล เรียกว่า วิจารณปัญญา ก็มี

วิจารณญาณ เป็นเครื่องมือในการสังเกตคิดค้น และตัดสินวินิจฉัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นเครื่องมือของโยนิโสมนสิการ มีลักษณะเฟ้นหาไตร่ตรองข้อเท็จจริงด้วยเหตุผลรอบคอบและรอบด้าน ทำให้ฉุกคิดไม่ตัดสินใจโดยรีบด่วนจนเกิดความผิดพลาด เป็ตให้การสรุปผลหรือตัดสินเรื่องนั้นๆ ถูกต้องถ่องแท้ หรือผิดพลาดน้อยที่สุด

วิจารณญาณ เป็นเรื่องของปัญญา เหตุผลและข้อเท็จจริง มิใช่เป็นเรื่องของทัศนะและการคาดเดา

การศึกษาสมัยใหม่ในประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศได้นำกระบวนการคิดในลักษณะนี้มารวมไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรียกว่า "การคิดเชิงวิจารณ์"

มงคล

มงคล แปลว่า เหตุนำความสุขความเจริญมาให้ คือสิ่งที่นำความโชคดี ความสวัสดี และความสุขมาให้ตามที่ปรารถนา มงคลมี 2 อย่างคือ มงคลทางโลก กับ มงคลทางธรรม
มงคลทางโลก คือสิ่งที่เป็นวัตถุซึ่งชาวโลกถือว่าเป็นมงคล ได้แก่สิ่งของ สัตว์ และต้นไม้บางชนิด เช่นมงคลแฝด ของขลัง ช้างเผือก ใบเงินใบทอง รวมถึงชื่อ อักษร กาลเวลาหรือฤกษ์ยามเป็นต้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มงคลนอก
มงคลทางธรรม คือมงคลที่เป็นข้อปฏิบัติ ต้องทำต้องปฏิบัติให้ได้จริงจึงจะเป็นมงคล มี 38 ประการ เช่นไม่คบคนพาล คบแต่บัณฑิต การให้ทาน การประพฤติธรรม ความกตัญญู เป็นต้น เรียกอีกอย่างว่า มงคลใน หรือ มงคล 38 หรือ มงคลชีวิต ก็เรียก

อหิงสา

อหิงสา เป็นแนวคิดทางศาสนา คือการหลีกเลี่ยงความรุนแรง และไม่เบียดเบียนหรือเคารพในชีวิตของผู้อื่น คำว่า "อหิงสา"(अहिंसा) เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึงการหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บที่เรียกว่าหิงสา อหิงสาเป็นแก่นในศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู และ ศาสนาเชน อหิงสามีการกล่าวไว้ในปรัชญาอินเดีย ประมาณ 800 ปีก่อนพุทธศักราช
ผู้ที่ยึดถือหลักอหิงสามักจะเป็นมังสวิรัติ อหิงสามันจะมีการอ้างถึงว่าเป็นวิธีการประท้วงแบบสันติที่ไม่ใช้ความรุนแรง

อัตตา

อัตตา เป็นศัพท์ภาษาบาลี แปลว่า ตัวตน, ร่างกาย, รูปลักษณะ, ตัวเอง (ดูอัตภาพ) (ภาษาสันสกฤตใช้ อาตฺมัน) หมายถึงอาตมัน, วิญญาณ ตามทฤษฎีของผู้นับถือลัทธิว่าชีวิตเกิดขึ้นด้วยวิญญาณหรืออัตมัน ซึ่งชาวอินเดียทางภาคเหนือได้ยึดถือเช่นนั้น ในคัมภีร์อุปนิษัทอธิบายไว้ว่า อัตตาเป็นตัวตนเล็กๆ รูปร่างเหมือนคน อาศัยอยู่ในหัวใจเวลาปกติ และหนีออกจากร่างกายไปในเวลานอนหลับ หรือในเวลาสงบแน่นิ่ง เมื่ออัตตานั้นกลับมาสู่ร่างเหมือนเดิม ชีวิตและการเคลื่อนไหวจึงเกิดขึ้นเป็นไปตามเดิม ในเวลาตายอัตตาก็จะหนีออกจากร่าง ไปใช้ชีวิตในอมตะของตนเองวนเวียนไปอย่างนีโดยไม่มีสิ้นสุด แต่ทฤษฎีนี้พระพุทธศาสนาไม่ยอมรับทั้งหมด (นัยพจนา. บาลี-อังกฤษ ของสมาคมบาลีปกรณ์)
อัตตาในคำไทยทั่วไปใช้ในรูป อัตต, อัต เช่น อัตตาธิปไตย อัตชีวประวัติ อัตภาพ อัตโนมัติ

เขตอภัยทาน

เขตอภัยทาน (อังกฤษ: animal sanctuary)
 คือ เขตที่ให้ความไม่เป็นภัย หมายถึง เขตห้ามกระทำความชั่วแก่สัตว์ โดยในทางพุทธศาสนาไม่ได้หมายถึงแต่ความชั่วแก่สัตว์ แต่หมายถึงความชั่วต่อชีวิตทั้งปวงด้วย
เขตอภัยทานไม่ใช่สวนสัตว์ มีขึ้นเพื่อรักษาและบำรุงสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ กับทั้งเพื่อป้องกันมิให้สัตว์นั้นได้รับความเดือดร้อนจากมนุษย์ใจบาปหยาบช้าโดยเฉพาะ ซึ่งต่างกับเขตพำนักสัตว์ (อังกฤษ: animal shelter) ที่สัตว์ในเขตอภัยทานไม่ได้เป็นสมบัติของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด และสัตว์สามารถอยู่ในเขตนั้นได้ตั้งแต่เกิดจนตาย อนึ่ง สถานที่บางแห่งยังจัดให้มีทั้งเขตอภัยทานและเขตพำนักสัตว์ก็มี กับทั้งถือกันว่าทั้งคนและสัตว์ เมื่อมาอยู่ในเขตอภัยทานแล้วย่อมมีความสำคัญเสมอกันหมด
เดิมเขตอภัยทานมักเป็นพัทธสีมาของสำนักศาสนาต่าง ๆ เช่น ในวัด ในโบสถ์คริสต์ ในสุเหร่า แต่ต่อมาเขตใดจะเป็นเขตอภัยทานก็แล้วแต่จะถือกัน บางประเทศยังจัดให้มีเจ้าหน้าที่คอยบำรุงดูแลสัตว์ ณ เขตอภัยทาน และให้ความรู้แก่สาธารณชนเกี่ยวกับเขตอภัยทานอีกด้วย เช่น ในประเทศอเมริกามีสมาคมอภัยทานแห่งอเมริกา (อังกฤษ: American Sanctuary Association)
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99

โกลาหล



โกลาหลแปลว่าความแตกตื่น

ในทางพระพุทธศาสนาหมายถึงการแตกตื่นของเหล่าเทวดา มี 5 อย่าง คือ

กัปปโกลาหล ๑ แตกตื่นว่าอีกแสนปีโลกธาตุและจักรวาลจะสิ้นแล้ว

จักกวัตติโกลาหล ๑ แตกตื่นว่าอีกร้อยปีพระเจ้าจักรพรรดิ์จะประสูติ

พุทธโกลาหล ๑ แตกตื่นว่าอีกพันปีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นในโลก

มังคลโกลาหล ๑ แตกตื่นว่าอีก12ปี พระพุทธเจ้าจะตรัสบอกมงคล

โมเนยยโกลาหล ๑ แตกตื่นว่าอีก7ปีพระพุทธเจ้าจะตรัสบอกโมเนยยะปฏิบัติ

โกลาหลอาจใช้ในความหมายว่าวุ่นวาย

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5

ใบสุทธิ

ใบสุทธิ ในคำวัดหมายถึงเอกสารที่แสดงความบริสุทธิ์ของภิกษุสามเณรว่าเป็นภิกษุสามเณรที่ถูกต้องตามพระวินัย เหมือนบัตรประจำตัวประชาชน ต่างแต่มีลักษณะเป็นเล่มขนาดเล็กสำหรับพกติดตัวได้ ในภาษาหนังสือเรียกว่า หนังสือสุทธิ หรือสุทธิบัตร
ใบสุทธิ จะระบุรายละเอียดไว้มากมาย เช่น ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด สถานที่เกิด นามบิดามารดา วันเดือนปีที่บวช สังกัดที่อยู่ การย้ายสังกัด การเปลี่ยนแปลงชื่อ
ใบสุทธิ พระอุปัชฌาย์เป็นผู้ออกให้ มีพระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะอำเภอขึ้นไปลงลายมือชื่อและประทับตราประจำตำแหน่งรับรอง
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ครุกรรม

ครุกรรม (อ่านว่า คะรุกำ) แปลว่า กรรมหนัก คือกรรมที่มีผลมาก มีโทษรุนแรงที่สุด เป็นชื่อกรรมอย่างหนึ่งเรียกตามการให้ผลหนักเบา
ครุกรรมจัดเป็นกรรมที่หนักที่สุด ให้ผลเร็วและแรง มีทั้งฝ่ายที่เป็นกุศลคือฝ่ายดีและฝ่ายที่เป็นอกุศลคือฝ่ายไม่ดี ครุกรรมที่เป็นกุศลได้แก่ฌานสมาบัติ ๘ ผู้ได้ฌานสมาบัติชื่อว่าได้ทำกรรมฝ่ายกุศลที่ดีที่สุด เมื่อสิ้นชีวิตแล้วย่อมได้เกิดในพรหมโลกทันที ส่วนครุกรรมที่เป็นอกุศลได้แก่อนันตริยกรรม ๕ มี ฆ่าบิดา ฆ่ามารดา เป็น ผู้ทำอนันตริยกรรมชื่อว่าได้ทำกรรมฝ่ายอกุศลที่ร้ายแรงที่สุด เมื่อสิ้นชีวิตแล้วย่อมเกิดในนรกทันที
ครุกรรมย่อมให้ผลก่อนกรรมอื่นเสมอ อุปมาเหมือนวัวแก่มีกำลังน้อย แต่ยืนอยู่ตรงปากประตูคอกพอดี ย่อมจะออกจากคอกได้ก่อนวัวหนุ่มอื่นๆ ทั้งหลาย ฉะนั้น

 อ้างอิง

วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556

ตอของจิต ๕

 

    กิเลสที่เปรียบเหมือนตอของจิต ๕ ประการ คือ
๑. สงสัยในพระศาสดา
๒. สงสัยในพระธรรม
๓. สงสัยในพระสงฆ์
๔. สงสัยในสิกขา ( ข้อที่จะต้องศึกษา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา )
๕. โกรธเคืองในเพื่อนพรหมจารี เมื่อมีความสงสัยหรือโกรธเคืองข้อใดข้อหนึ่งนี้แล้ว จิตก็ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร.

http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/4.2.html

วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

( ความยึดมั่นถือมั่น ) ๔ อย่าง

 ( ความยึดมั่นถือมั่น )   ๔ อย่าง คือความยึดมั่นในกาม ,   ทิฏฐิ ,   ศีลพรต   (ข้อปฏิบัติประจำลัทธิ พิธี ) และวาทะว่าตัวตน

http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/4.2.html