วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มิจฉาทิฐิ


มิจฉาทิฐิ หรือ มิจฉาทิฏฐิ เรียกโดยย่อว่า "ทิฐิ" หมายถึง ความเห็นผิด ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การบวงสรวงไม่มีผล ผลของกรรมดีกรรมชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดาไม่มีบุญคุณ บิดาไม่มีบุญคุณ สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทราบถึงโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง และสามารถทำให้ผู้อื่นรู้ตามด้วย ไม่มี" ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ มี 2 อย่าง ได้แก่ ปรโตโฆสะ คือ การโฆษณาแต่บุคคลอื่น เสียงจากผู้อื่น ฟังคำบอกเล่าชักจูงของผู้อื่น อโยนิโสมนสิการ คือ การทำในใจโดยไม่แยบคาย การไม่ใช้ปัญญาพิจารณา ความไม่รู้จักคิด การปล่อยให้อวิชาครอบงำ ตรงกันข้ามกับคำว่า โยนิโสมนสิการ

วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อกตัญญู

อกตัญญู แปลว่า ผู้ไม่รู้สึกถึงบุญคุณที่ผู้อื่นทำแก่ตน ผู้ไม่มีความกตัญญู
อกตัญญู คือผู้ระลึกไม่ได้ว่าใครเคยทำดีเคยช่วยเหลือเกื้อกูลตนมา ผู้ลืมบุญคุณของคนอื่นที่ทำแก่ตนมา ผู้ไม่ยอมรับบุญคุณของใครทั้งนั้น เรียกว่า คนอกตัญญู มีลักษณะตรงข้ามกับคนกตัญญู
อกตัญญู มีลักษณะลบหลู่บุญคุณคน ไม่ปรารถนาที่จะตอบแทนความดีของใคร ชอบลืมเรื่องที่เขาเคยทำเคยช่วยเหลือตนมา แต่ก็ไม่มีความรู้สึกอิ่มที่จะรับจากคนอื่นอีก หากยังมีช่องทางจะได้จากเขาอีกก็จะพอใจ หากเห็นว่าหมดโอกาสแล้วก็จะตีจากไปทันที หรือไม่ก็แสดงกิริยาพูดจาให้ร้ายต่างๆ ท่านจึงว่า
"แม้จะยกแผ่นดินทั้งหมดให้แก่คนอกตัญญูก็จะให้เขายินดีพอใจไม่ได้"

มัชฌิมาปฏิปทา

มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง หมายถึง ทางปฏิบัติที่ไม่สุดโต่งไปในทางอุดมการณ์ใดอุดมการณ์หนึ่งเกินไป มุ่งเน้นใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา มักไม่ยืดถือหลักการอย่างงมงาย
มัชฌิมาปฏิปทาในทางจิตวิญญาณหมายถึงสติ สติเป็นความสมสมดุลทางจิตอย่างหนึ่ง คือสมดุลระหว่างศรัทธาและปัญญา สติจะอยู่ตรงกลางระหว่างอารมณ์และเหตุผล ถ้าความคิดเปรียบเป็นน้ำไหล สมาธิเปรียบเป็นน้ำนิ่ง สติจะเป็นน้ำไหลนิ่ง คือสติเป็นทางสายกลางทางจิตวิญญาณ

อวิชชา

อวิชชา (บาลี: อวิชฺชา, สันสกฤต: อวิทฺยา) หมายถึง ความไม่รู้แจ้ง คือ ความไม่รู้ความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ โดยถูกต้องแจ่มแจ้ง มิได้หมายถึงความไม่รู้ศิลปะวิชาการต่างๆ หรือไม่รู้ร้อนรู้หนาวเป็นต้น แต่สำหรับคนไทยส่วนใหญ่จะนำคำว่า อวิชชา ไปใช้เฉพาะกับวิชาในทางไสยศาสตร์เท่านั้น โดยเข้าใจกันว่า อวิชชาเป็นวิชาที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรือหาประโยชน์เข้ามาใส่ตนเองโดยไม่สนใจผู้อื่น
อวิชชา หมายถึงความไม่รู้ในอริยสัจ คือ
  • ไม่รู้ในทุกข์ ได้แก่ไม่รู้ว่าอะไรบ้างที่เป็นตัวทุกข์ เช่นไม่รู้ความเกิด ความแก่ ความตาย ความผิดหวัง เป็นตัวทุกข์
  • ไม่รู้ในเหตุเกิดทุกข์ ได้แก่ไม่รู้ว่าทุกข์นั้นเกิดมาจากตัณหาในจิตของตนเอง มิใช่เกิดจากผีสาง เทวดา มิใช่เกิดจากการบันดาล
  • ไม่รู้ในความดับทุกข์ ได้แก่ความไม่รู้ว่าทุกข์นั้นเมื่อเกิดแล้วสามารถดับได้ โดยการกำจัดตัณหาให้หมดไป
  • ไม่รู้ในข้อปฏิบัติสำหรับดับทุกข์ ได้แก่ไม่รู้ว่าทุกข์นั้นจะดับสนิทได้ด้วยมรรค 8 มีสัมมาทิฐิเป็นต้น มิใช่ดับได้ด้วยการวิงวอนขอร้องให้คนอื่นช่วย
ความไม่รู้สึกต้วทั่วพร้อมโดยสมบูรณ์ในความเป็นจริงของสิ่งต่างๆในขณะที่กำลังเผชิญหน้ากับมัน กล่าวคือไม่รู้กายในกาย ไม่รู้เวทนาในเวทนา ไม่รู้จิตในจิต และไม่รู้ธรรมในธรรม ก็คือไม่มีสติปัฏฐาน 4 ที่บริบูรณ์นั้นเองคือ อวิชชา

วิจารณญาณ



วิจารณญาณ (อ่านว่า วิจาระนะยาน)
หมายถึงปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผลที่ถูกต้อง ปัญญาสามารถในการพิจารณาจัดแจง วางแผน สืบสวน แสวงหา ไตร่ตรองเหตุผล เรียกว่า วิจารณปัญญา ก็มี

วิจารณญาณ เป็นเครื่องมือในการสังเกตคิดค้น และตัดสินวินิจฉัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นเครื่องมือของโยนิโสมนสิการ มีลักษณะเฟ้นหาไตร่ตรองข้อเท็จจริงด้วยเหตุผลรอบคอบและรอบด้าน ทำให้ฉุกคิดไม่ตัดสินใจโดยรีบด่วนจนเกิดความผิดพลาด เป็ตให้การสรุปผลหรือตัดสินเรื่องนั้นๆ ถูกต้องถ่องแท้ หรือผิดพลาดน้อยที่สุด

วิจารณญาณ เป็นเรื่องของปัญญา เหตุผลและข้อเท็จจริง มิใช่เป็นเรื่องของทัศนะและการคาดเดา

การศึกษาสมัยใหม่ในประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศได้นำกระบวนการคิดในลักษณะนี้มารวมไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรียกว่า "การคิดเชิงวิจารณ์"

มงคล

มงคล แปลว่า เหตุนำความสุขความเจริญมาให้ คือสิ่งที่นำความโชคดี ความสวัสดี และความสุขมาให้ตามที่ปรารถนา มงคลมี 2 อย่างคือ มงคลทางโลก กับ มงคลทางธรรม
มงคลทางโลก คือสิ่งที่เป็นวัตถุซึ่งชาวโลกถือว่าเป็นมงคล ได้แก่สิ่งของ สัตว์ และต้นไม้บางชนิด เช่นมงคลแฝด ของขลัง ช้างเผือก ใบเงินใบทอง รวมถึงชื่อ อักษร กาลเวลาหรือฤกษ์ยามเป็นต้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มงคลนอก
มงคลทางธรรม คือมงคลที่เป็นข้อปฏิบัติ ต้องทำต้องปฏิบัติให้ได้จริงจึงจะเป็นมงคล มี 38 ประการ เช่นไม่คบคนพาล คบแต่บัณฑิต การให้ทาน การประพฤติธรรม ความกตัญญู เป็นต้น เรียกอีกอย่างว่า มงคลใน หรือ มงคล 38 หรือ มงคลชีวิต ก็เรียก

อหิงสา

อหิงสา เป็นแนวคิดทางศาสนา คือการหลีกเลี่ยงความรุนแรง และไม่เบียดเบียนหรือเคารพในชีวิตของผู้อื่น คำว่า "อหิงสา"(अहिंसा) เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึงการหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บที่เรียกว่าหิงสา อหิงสาเป็นแก่นในศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู และ ศาสนาเชน อหิงสามีการกล่าวไว้ในปรัชญาอินเดีย ประมาณ 800 ปีก่อนพุทธศักราช
ผู้ที่ยึดถือหลักอหิงสามักจะเป็นมังสวิรัติ อหิงสามันจะมีการอ้างถึงว่าเป็นวิธีการประท้วงแบบสันติที่ไม่ใช้ความรุนแรง

อัตตา

อัตตา เป็นศัพท์ภาษาบาลี แปลว่า ตัวตน, ร่างกาย, รูปลักษณะ, ตัวเอง (ดูอัตภาพ) (ภาษาสันสกฤตใช้ อาตฺมัน) หมายถึงอาตมัน, วิญญาณ ตามทฤษฎีของผู้นับถือลัทธิว่าชีวิตเกิดขึ้นด้วยวิญญาณหรืออัตมัน ซึ่งชาวอินเดียทางภาคเหนือได้ยึดถือเช่นนั้น ในคัมภีร์อุปนิษัทอธิบายไว้ว่า อัตตาเป็นตัวตนเล็กๆ รูปร่างเหมือนคน อาศัยอยู่ในหัวใจเวลาปกติ และหนีออกจากร่างกายไปในเวลานอนหลับ หรือในเวลาสงบแน่นิ่ง เมื่ออัตตานั้นกลับมาสู่ร่างเหมือนเดิม ชีวิตและการเคลื่อนไหวจึงเกิดขึ้นเป็นไปตามเดิม ในเวลาตายอัตตาก็จะหนีออกจากร่าง ไปใช้ชีวิตในอมตะของตนเองวนเวียนไปอย่างนีโดยไม่มีสิ้นสุด แต่ทฤษฎีนี้พระพุทธศาสนาไม่ยอมรับทั้งหมด (นัยพจนา. บาลี-อังกฤษ ของสมาคมบาลีปกรณ์)
อัตตาในคำไทยทั่วไปใช้ในรูป อัตต, อัต เช่น อัตตาธิปไตย อัตชีวประวัติ อัตภาพ อัตโนมัติ

เขตอภัยทาน

เขตอภัยทาน (อังกฤษ: animal sanctuary)
 คือ เขตที่ให้ความไม่เป็นภัย หมายถึง เขตห้ามกระทำความชั่วแก่สัตว์ โดยในทางพุทธศาสนาไม่ได้หมายถึงแต่ความชั่วแก่สัตว์ แต่หมายถึงความชั่วต่อชีวิตทั้งปวงด้วย
เขตอภัยทานไม่ใช่สวนสัตว์ มีขึ้นเพื่อรักษาและบำรุงสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ กับทั้งเพื่อป้องกันมิให้สัตว์นั้นได้รับความเดือดร้อนจากมนุษย์ใจบาปหยาบช้าโดยเฉพาะ ซึ่งต่างกับเขตพำนักสัตว์ (อังกฤษ: animal shelter) ที่สัตว์ในเขตอภัยทานไม่ได้เป็นสมบัติของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด และสัตว์สามารถอยู่ในเขตนั้นได้ตั้งแต่เกิดจนตาย อนึ่ง สถานที่บางแห่งยังจัดให้มีทั้งเขตอภัยทานและเขตพำนักสัตว์ก็มี กับทั้งถือกันว่าทั้งคนและสัตว์ เมื่อมาอยู่ในเขตอภัยทานแล้วย่อมมีความสำคัญเสมอกันหมด
เดิมเขตอภัยทานมักเป็นพัทธสีมาของสำนักศาสนาต่าง ๆ เช่น ในวัด ในโบสถ์คริสต์ ในสุเหร่า แต่ต่อมาเขตใดจะเป็นเขตอภัยทานก็แล้วแต่จะถือกัน บางประเทศยังจัดให้มีเจ้าหน้าที่คอยบำรุงดูแลสัตว์ ณ เขตอภัยทาน และให้ความรู้แก่สาธารณชนเกี่ยวกับเขตอภัยทานอีกด้วย เช่น ในประเทศอเมริกามีสมาคมอภัยทานแห่งอเมริกา (อังกฤษ: American Sanctuary Association)
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99

โกลาหล



โกลาหลแปลว่าความแตกตื่น

ในทางพระพุทธศาสนาหมายถึงการแตกตื่นของเหล่าเทวดา มี 5 อย่าง คือ

กัปปโกลาหล ๑ แตกตื่นว่าอีกแสนปีโลกธาตุและจักรวาลจะสิ้นแล้ว

จักกวัตติโกลาหล ๑ แตกตื่นว่าอีกร้อยปีพระเจ้าจักรพรรดิ์จะประสูติ

พุทธโกลาหล ๑ แตกตื่นว่าอีกพันปีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นในโลก

มังคลโกลาหล ๑ แตกตื่นว่าอีก12ปี พระพุทธเจ้าจะตรัสบอกมงคล

โมเนยยโกลาหล ๑ แตกตื่นว่าอีก7ปีพระพุทธเจ้าจะตรัสบอกโมเนยยะปฏิบัติ

โกลาหลอาจใช้ในความหมายว่าวุ่นวาย

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5

ใบสุทธิ

ใบสุทธิ ในคำวัดหมายถึงเอกสารที่แสดงความบริสุทธิ์ของภิกษุสามเณรว่าเป็นภิกษุสามเณรที่ถูกต้องตามพระวินัย เหมือนบัตรประจำตัวประชาชน ต่างแต่มีลักษณะเป็นเล่มขนาดเล็กสำหรับพกติดตัวได้ ในภาษาหนังสือเรียกว่า หนังสือสุทธิ หรือสุทธิบัตร
ใบสุทธิ จะระบุรายละเอียดไว้มากมาย เช่น ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด สถานที่เกิด นามบิดามารดา วันเดือนปีที่บวช สังกัดที่อยู่ การย้ายสังกัด การเปลี่ยนแปลงชื่อ
ใบสุทธิ พระอุปัชฌาย์เป็นผู้ออกให้ มีพระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะอำเภอขึ้นไปลงลายมือชื่อและประทับตราประจำตำแหน่งรับรอง
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ครุกรรม

ครุกรรม (อ่านว่า คะรุกำ) แปลว่า กรรมหนัก คือกรรมที่มีผลมาก มีโทษรุนแรงที่สุด เป็นชื่อกรรมอย่างหนึ่งเรียกตามการให้ผลหนักเบา
ครุกรรมจัดเป็นกรรมที่หนักที่สุด ให้ผลเร็วและแรง มีทั้งฝ่ายที่เป็นกุศลคือฝ่ายดีและฝ่ายที่เป็นอกุศลคือฝ่ายไม่ดี ครุกรรมที่เป็นกุศลได้แก่ฌานสมาบัติ ๘ ผู้ได้ฌานสมาบัติชื่อว่าได้ทำกรรมฝ่ายกุศลที่ดีที่สุด เมื่อสิ้นชีวิตแล้วย่อมได้เกิดในพรหมโลกทันที ส่วนครุกรรมที่เป็นอกุศลได้แก่อนันตริยกรรม ๕ มี ฆ่าบิดา ฆ่ามารดา เป็น ผู้ทำอนันตริยกรรมชื่อว่าได้ทำกรรมฝ่ายอกุศลที่ร้ายแรงที่สุด เมื่อสิ้นชีวิตแล้วย่อมเกิดในนรกทันที
ครุกรรมย่อมให้ผลก่อนกรรมอื่นเสมอ อุปมาเหมือนวัวแก่มีกำลังน้อย แต่ยืนอยู่ตรงปากประตูคอกพอดี ย่อมจะออกจากคอกได้ก่อนวัวหนุ่มอื่นๆ ทั้งหลาย ฉะนั้น

 อ้างอิง