วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

บิณฑบาต

บิณฑบาต (อ่านว่า บิน-ทะ-บาด) เป็นภาษาบาลี มาจากคำว่า ปิณฺฑ + ปาต แปลว่า การตกลงแห่งก้อนข้าว โดยทั่วไปคำนี้หมายถึงกิจวัตรของพระภิกษุสงฆ์และสามเณรในพระพุทธศาสนา ในการออกเดินถือบาตรรับการถวายภัตตาหารหรือสิ่งของจากชาวบ้านในเวลาเช้า เรียกว่าการออกบิณฑบาต การออกบิณฑบาตของพระภิกษุเป็นกิจวัตรที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของพระภิกษุสามเณรมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญการบิณฑบาตว่าเป็นกิจอันประเสริฐ หรือในสามัญเรียกว่าการโปรดสัตว์ เพราะการออกบิณฑบาตนั้นนับว่าเป็นการเผยแผ่พระศาสนาทางหนึ่งด้วย ดังในสมัยพุทธกาลที่พระภิกษุสงฆ์จะเทศนาโปรดแก่บรรดาชาวบ้านซึ่งมาร่วมทำบุญ อันเป็นต้นเหตุแห่งการสวดให้พรหลังภัตตกิจในปัจจุบันนี้ ความหมายนัยหนึ่งคำนี้หมายถึงเป็นคำเรียกก้อนข้าวที่ชาวบ้านใส่ลงในภาชนะที่รองรับ เช่นบาตรของพระภิกษุ ในคำวัดหมายถึงอาหารสำหรับถวายพระซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งใน ๔ สำหรับพระสงฆ์ จะถวายโดยใส่บาตรหรือใส่ภาชนะอื่นใดก็เรียกเหมือนกัน หมายถึงการที่ภิกษุสามเณรไปรับอาหารที่เขาถวายโดยบาตรก็ได้ เช่นใช้ว่า "พระออกไปบิณฑบาตกันแต่เช้า ยังไม่กลับจากบิณฑบาตเลย" หมายถึงการที่พระสงฆ์ขอร้องมิให้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ เช่นใช้ว่า "อาตมาขอบิณฑบาตเถอะ อย่าได้ถึงกับฆ่าแกงกันเลย"[ต้องการอ้างอิง] บิณฑบาตมักเขียนผิดเป็น "บิณฑบาตร" โดยอาจเข้าใจว่าเป็นคำเดียวกับบาตร ซึ่งออกเสียงเหมือนกัน

บาตร

บาตรเป็นหนึ่งในอัฐบริขาร เป็นของที่พระภิกษุและสามเณรใช้ในการบิณฑบาต ลักษณะของบาตรในพระธรรมวินัยพระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ว่าบาตรมี 2 ชนิดเท่านั้นคือ บาตรดินเผาและบาตรเหล็กรมดำ โดยมีขนาดตั้งแต่ 7-11 นิ้ว และพระพุทธองค์ทรงห้ามไม่ให้ภิกษุใช้บาตรที่ทำจากวัสดุที่มีค่าเช่น เงิน ทอง ทองเหลือง ทองแดง ในปัจจุบัน วัดส่วนใหญ่อนุโลมให้ใช้บาตรที่ทำจากสแตนเลส เนื่องจากทำความสะอาดง่ายและสะดวกต่อการดูแล ส่วนฝาบาตรในสมัยก่อนนั้นทำจากไม้ ก็เปลี่ยนมาใช้เป็นฝาสแตนเลสแทน แต่ในบางที่ในภาคอีสานยังใช้ฝาบาตรที่ทำจากไม้อยู่ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3

เทวนิยม

เทวนิยม ความหมาย น. ลัทธิที่เชื่อว่ามีพระเจ้าผู้ทรงอํานาจยิ่งใหญ่พระองค์เดียว พระเจ้านั้นทรงมีอํานาจครอบครองโลกและสามารถดลบันดาลความเป็นไปในโลก. (อ. theism).

สุญญตา

สุญญตา เป็นคำศัพท์ภาษาบาลี แปลว่า ความว่างเปล่า, ความเป็นของสูญ คือความไม่มีสาระ ถือเอาเป็นสาระไม่ได้ เขียนว่า สุญตา ก็มี ภาษาสันสกฤตใช้ว่า "ศูนยตา" สุญญตาหมายถึงสภาวะที่ว่างจากความเป็นตัวตนหรืออัตตา ได้แก่เบญจขันธ์ ธาตุ อายตนะ ซึ่งเป็นอนัตตา ไม่มีสาระที่พึงยึดถือว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล, สภาวะที่ว่างหรือปราศจากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง คือราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ได้แก่พระนิพพาน, สภาวะที่ว่างเปล่าไม่มีอะไร (นัตถิกิญจิ) ที่จิตกำหนดหมายไว้ในใจ ในการเจริญอากิญจัญญายตนฌาน คือการทำใจให้ว่าง ไม่เกาะเกี่ยวอารมณ์อื่น เป็นการพักผ่อนที่สำคัญ สุญญตาส่วนใหญ่ใช้ประกอบคำที่เป็นคุณธรรมอันสำเร็จมาจากการพิจารณาสุญญตา เช่น สุญญตสมาธิ สุญญตสมาบัติ สุญญตวิโมกข์ สุญญตวิหาร เพราะมีอวิชชา ถ้านามพ้นนาม ก็สู่สภาวะนิพพาน จิตเมื่อมีวิปัสสนาญาณจะพ้นรูปย่อมเป็นอิสระจากรูป ย่อมรูปแจ้งในรูป ดุจคนมองโลกในที่สูง เมื่อจิตพ้นจิต ด้วยอาสวักขยญาณ ย่อมเป็นอิสระจากนาม ย่อมรู้แจ้งในนาม ดุจอยู่ในกระแสแต่ทวนกระแสพบความว่างแห่งกระแส สุญญตา เป็นสภาวะที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเปรียบเทียบว่าเป็นสภาวะที่ใกล้เคียงกับนิพพานมากที่สุด เช่นเดียวกับอากาศ เพราะมี จิต เจตสิก รูป จึงไม่เข้าถึงนิพพาน เช่นเดียวกับเลข 0 เมื่อมีเลขอื่นๆเกิดขึ้นมา เลข 0 อาจเหมือนหายไปและไม่มีอยู่ แต่แท้จริงเลข 0 ไม่หายไปไหน คงอยู่ตรงนั้นเองแต่เมื่อเลขอื่นๆหมดค่าลงจน เหลือ 0 เลข 0 ย่อมปรากฏตัวขึ้นอีกครั้ง อ้างอิง พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548 http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%95%E0%B8%B2

วรรณะ

วรรณะ ตามรากศัพท์ (สันสกฤต: วรฺณ वर्ण; บาลี: วณฺณ) แปลว่าสี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ห้าสี ในทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา วรรณะทางสังคม (อังกฤษ: caste) หมายถึง ระบบการแบ่งช่วงชั้นในสังคมพบได้ในหลายส่วนของโลก ไม่จำกัดศาสนาหรือเชื้อชาติ ระบบวรรณะในศาสนาฮินดู (อังกฤษ: Varna) เป็นการแบ่งคนเป็นสี่จำพวกด้วยฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม มีสิทธิหน้าที่ในวรรณะตนต่างกันมาแต่กำเนิดได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และ ศูทร โดยมาจากรากฐานความเชื่อที่แต่ละวรรณะมีกำเนิดมาจากส่วนต่างกันของพระพรหม ในทางวรรณคดี วรรณ หมายถึง หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B0

พรหมจักร

พรหมจักร น. จักรวาล; คําสอนของพระพุทธเจ้า. (ส.; ป. พฺรหฺมจกฺก).