วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

อิทัปปัจจยตา

อิทัปปัจจยตา เป็นหลักการทางพุทธศาสนากล่าวถึงความเกี่ยวเนื่องกันของเหตุและผล เมื่อมี เหตุย่อมมีผล และเมื่อเหตุดับผลก็ดับคือเมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้ย่อมมี

วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

มโน

มโน แปลว่า ใจ, ความคิด, อยู่ในกลุ่มคำที่มีความหมายคล้ายกันคือ จิต มนัส เป็นอายตนะภายในอย่างสุดท้ายใน 6 อย่างคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
มโน ปกติใช้นำหน้าคำอื่นๆ ที่แสดงถึงความเกี่ยวเนื่องกับใจ เช่น
มโนกรรม การกระทำทางใจ
มโนทวาร ทวารคือใจ
มโนทุจริต การประพฤติชั่วด้วยใจ
มโนสุจริต การประพฤติชอบด้วยใจ
มโนวิญญาณ ความรู้ทางใจ
มโนสัมผัส สัมผัสทางใจ
มโนรม เป็นที่ชอบใจ
มโนหมายถึง สภาวะของจิตที่น้อมจิตไปกำหนดสนใจ ตามเจตสิกที่เข้ามาปรุงแต่งให้จิตเพ่งความสนใจ ในอายตนะต่างๆ โดยเฉพาะ
มโนวิญญาณคือการน้อมจิตไปในธรรมารมณ์ทั้ง 3 คือ
1.การน้อมจิตเสพเวทนา
2.การน้อมจิตระลึกถึงความจำในสัญญา(การนึก)
3.การน้อมจิตปรุงแต่งสังขาร 3 คือกายสังขาร(เคลื่อนไหวร่างกาย) วจีสังขาร(การคิด) จิตสังขาร(ปรุงแต่งอารมณ์แก่จิต)
มโนเป็นทั้งภวังคจิต เป็นทั้งวิถีจิต ตามวาระขณะจิตนั้นๆ
ภวังคจิต หมายเอา มโนทวาร
วิถีจิต หมายเอา มโนวิญญาณ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%99

วิถีจิต

วิถีจิต คือ   จิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์โดยอาศัยทวารใดทวารหนึ่งใน 6 ทวาร
วิถีจิต  มี ๒ ประเภท  คือ  กามวิถีและอัปปนาวิถี
ทางพระพุทธศาสนา  เชื่อว่า  สิ่งมีชีวิตทั้งหลายสนองตอบต่อสิ่งเร้ารอบตัวเองได้
6 ทาง  คือ  ทางตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ   ระหว่างที่ไม่มีสิ่งเร้าภายภายนอกดังกล่าว
สิ่งมีชีวิตนั้นก็ไม่ได้ตาย   แต่ จิต กำลังทำหน้าที่หนึ่งเงียบๆ ของมัน  หน้าที่นั้นเรียกว่า
"ภวังค์" และเมื่อไหร่ที่สิ่งเร้ามากระทบ  เมื่อนั้นแหละที่จิตออกมาทำงานในหน้าที่ใหม่
ของมัน  สภาวะนั้นเรียกว่า "วิถี"


พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งธรรมทั้งปวง  ทรงแสดงพระธรรมตามที่
พระองค์ทรงรู้นั้นแก่สาวกทั้งหลาย 
ความเป็นไปของจิตที่เกิดขึ้นรู้แจ้งอารมณ์ที่มากระทบในทวารทั้ง ๖ 
เรียกว่า  วิถีจิต    เพราะจิตมี ๒ ประเภท  คือ  
จิตที่เป็นวิถี ๑
จิตที่พ้นวิถี ๑
http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=3368


http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=3368

ภวังคจิต

ภวังคจิต ภวังคะ หรือ ภะ-วัง-คะ ภว+องฺคะ แปลตามพยัญชนะว่า "องค์ของภพ" มักใช้รวมกับจิต เป็นภวังคจิต ในทางพระพุทธศาสนา ถือว่า จิตมีลักษณะเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการสืบต่อสันตติของจิต ย่อมอาศัยการถ่ายทอดข้อมูลจากภวังคจิตจิตดวงเดิม ไปสู่จิตดวงใหม่ ด้วยกระบวนการของการทำงานของภวังคจิต เพราะเหตุว่าภวังคจิตเป็นเหตุให้สร้างจิตดวงใหม่ตลอดเวลาก่อนจิตดวงเก่าจะดับไป จึงชื่อว่าเป็นเหตุแห่ง "ภพ" หรือเป็นเหตุสร้าง"ภพ"
จิต ในทางศาสนาพุทธแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ 1.วิถีจิต จิตสำนึก 2.ภวังคจิต จิตใต้สำนึก
ภวังคจิต คือจิตใต้สำนึกในทางศาสนาพุทธหมายถึงเป็นกระบวนการทำงานแบบอัตตโนมัติของจิต จิตใต้สำนึกในความหมายของภวังคจิตนี้จึงอาจแตกต่างจากทางจิตวิทยา
ภวังคจิต มี 3 อย่าง คือ
1.ภวังคบาท คือภวังคจิตที่ทรงอารมณ์เก่า อันเป็นอารมณ์ที่ได้มาจากภพหรือจิตดวงก่อน และกำลังกระทบอารมณ์ใหม่
2.ภวังคจลนะ คือ เป็นภวังคจิตที่ไหวตัว เพราะเหตุที่มีอารมณ์ใหม่ มากระทบ จึงน้อมไปในอารมณ์ใหม่(สร้างและถ่ายทอดข้อมูลสู่จิตดวงใหม่)
3.ภวังคปัจเฉทะ คือเป็นภวังคจิตที่ตัดกระแสภวังค คือ ปล่อยอารมณ์เก่า วางอารมณ์เก่า เพื่อรับอยู่กับอารมณ์ใหม่หรือจิตดวงใหม่
ภวังคจิต เป็น วิบากจิต คือ จิตใต้สำนึกส่วนลึกที่สุดของจิตเป็นที่สั่งสมอารมณ์จนกลายเป็นอุปนิสัย
ภวังคจิต จะเกิดคั่นระหว่างวิถีจิตในแต่ละวาระ ทำหน้าที่สืบต่อและดำรงภพชาติ
ภวังคจิต จะเกิดขึ้นเมื่อวิถีจิตดับ และเมื่อเกิดวิถีจิตภวังคจิตจะดับลง เมื่อวิถีจิตดับลงภวังคจิตจะเกิดขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่มีภวังคจิต พอขาดวิถีจิต จิตจะไม่มีการสืบต่อสันตติก็เท่ากับสิ้นชีวิต
ภวังคจิต ในขณะที่เปลี่ยนภพจุติใหม่สู่ชาติใหม่ จะใช้ชื่อว่า ปฏิสนธิจิตแทน ซึ่งเป็นขณะจิตแรกของแต่ละชาติ ภวังคจิตจึงสืบต่อภพในระดับเปลี่ยนชาติด้วย
ภวังคจิต คือมโนทวารเป็นอายตนะที่ ๖ อันเป็นวิบาก เป็นอัพยากฤต ซึ่งเป็นจิตตามสภาพปกติ เมื่อยังไม่ขึ้นสู่วิถีจิตรับรู้อารมณ์ จะเป็นเพียงมโน ยังไม่เป็นมโนวิญญาณ เมื่อรับอารมณ์คือเจตสิก จะกลายเป็นมโนวิญญาณ
มีพุทธพจน์ว่า “จิตนี้ประภัสสร (ผุดผ่อง ผ่องใส บริสุทธิ์) แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา" จิตที่ประภัสสรในที่นี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่าหมายถึงภวังคจิต

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95





http://www.nkgen.com/360.htm

จิตสังขาร

จิตสังขาร หนึ่งในขันธ์ 5 (กาย เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ)

 1. จิตของโลกียชน =
 2. จิตของโลกุตตรชน =    
      ส่วนจิตปภัสสรที่พระพุทธเจ้าหมายถึง  คือ จิตเดิมแท้จริงเลย 

วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556

เจตสิก

เจตสิกหมายถึงองค์ประกอบของจิต
อาการหรือการแสดงออกของจิต จัดเป็นสมรรถนะหรือคุณสมบัติของจิต มีลักษณะที่เกิดดับพร้อมกับจิต เป็นอารมณ์ของจิต มีวัตถุที่อาศัยเดียวกับจิต เป็นกฎเกณฑ์ให้ประกอบเป็นจิต

 เจตสิกแยกเป็นขันธ์ ได้ 3 ขันธ์
เวทนาเจตสิกเป็นเวทนาขันธ์ (คือความแปรปรวนทางนามธาตุ)
 สัญญาเจตสิกเป็นสัญญาขันธ์ (เปรียบเช่นภูมิคุ้มกันของร่างกายที่จดจำการแก้ทุกขัง)
 เจตสิกที่เหลืออีก 50 เป็น สังขารขันธ์ (ได้แก่นามธาตุต่างๆมีสภาวะเป็นข้อมูล ที่เป็นกฎเกณฑ์ให้เป็นไปทั่วของจิต
อันเป็นดุจรหัสพันธุ์กรรมของจิต )

เจตสิก หมายถึง ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิตให้มีความเป็นไปต่าง ๆ อาการที่ประกอบกับจิตนั้น มีลักษณะ 4 ประการ คือ
1.เกิดพร้อมกับจิต
2.ดับพร้อมกับจิต
3.มีอารมณ์เดียวกับจิต
4.อาศัยวัตถุเดียวกับจิต จิตและเจตสิกที่อิงอาศัยกันนี้ ถ้าเปรียบจิตเป็นน้ำ เจตสิกเป็นสีแดง ผสมกันเป็นน้ำแดง เมื่อผสมกันแล้วไม่สามารถแยกน้ำออกจากสีแดงได้ฉันใด จิตและเจตสิกก็ไม่สามารถแยกออกจากกันเป็นอิสระได้ฉันนั้น
 สภาวธรรม รวม 4 ประการของเจตสิก มีดังนี้
1.ลักษณะของเจตสิกคือ มีการอาศัยจิตเกิดขึ้น
2.กิจการงานของเจตสิกคือ เกิดร่วมกับจิต
 3.ผลงานของเจตสิกคือ เป็นอารมณ์ของจิต
4.เหตุที่ทำให้เจตสิกเกิดขึ้นได้ คือ การเกิดขึ้นของจิต

เจตสิกนี้แม้ว่าจะเป็นสิ่งปรุงแต่งจิต ให้จิตมีพฤติกรรมเป็นไปตามลักษณะของเจตสิกก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่าจิตเป็นใหญ่ เป็นประธาน เพราะเจตสิกเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยจิตเกิด ไม่ว่าจะเป็นความพอใจ ความไม่พอใจ ความรัก ความเกลียด ความสงบ หรือฟุ้งซ่าน ล้วนเป็นคุณสมบัติของเจตสิกทั้งสิ้น แต่เจตสิกเกิดขึ้นเอง และแสดงพฤติกรรมเองไม่ได้ ต้องอาศัยจิตเป็นตัวแสดงพฤติกรรมแทน จึงกล่าวได้ว่า ธรรมชาติของเจตสิกนั้น เกิดพร้อมกับจิต หรือประกอบกับจิตเป็นนิตย์ หรือธรรมชาติ ที่ประกอบกับจิตเป็นนิตย์ ชื่อว่า เจตสิก การที่ต้องแบ่งจิตออกไปมากมายนั้น เพราะเจตสิกที่ประกอบจิต มีประเภทต่าง ๆ กัน จิตสัมพันธ์กับโลกภายนอก โดยการเข้าไปรับรู้โลกเป็นอารมณ์ แต่การรับรู้นั้นต้องอาศัยเจตสิกที่เป็นตัวกระทบอารมณ์ครั้งแรก(ผัสสะเจตสิก) เป็นต้น และเจตสิกอื่น ๆ ก็จะร่วมปรุงแต่งจิตให้เป็นไปในอาการต่างๆ การปรุงแต่งของเจตสิก ที่เกิดพร้อมกับจิตนั้น ทำให้จิตมีความสามารถในการรู้อารมณ์พิเศษแตกต่างกันออกไป เช่น รู้เรื่องของกามคุณอารมณ์ เรื่องของรูปฌาน อรูปฌาน จนถึงรู้นิพพานอารมณ์

 เจตสิกจัดเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งของพระอภิธรรมปิฎกซึ่งมี 4 เรื่องคือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน และจัดเป็นเรื่องสำคัญของพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่งด้วย

ชีวิตินทรีย์

ชีวิตินทรีย์ อินทรีย์คือชีวิต , สภาวะที่เป็นใหญ่ในการตามรักษาสหชาตธรรม (ธรรมที่เกิดร่วมด้วย) ดุจน้ำหล่อเลี้ยง ดอกบัว เป็นต้น มี ๒ ฝ่ายคือ ๑. ชีวิตินทรีย์ที่เป็นชีวิตรูป เป็นอุปาทาย รูปอย่างหนึ่ง (ข้อที่ ๑๓) เป็นเจ้าการในการ รักษาหล่อเลี้ยงเหล่ากรรมชรูป (รูปที่เกิดแต่กรรม) บางทีเรียก รูปชีวิตินทรีย์ ๒. ชีวิตินทรีย์ที่เป็นเจตสิกเป็นสัพพ จิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิก ที่เกิดกับจิตทุกดวง) อย่างหนึ่ง (ข้อที่ ๖) เป็นเจ้าการในการรักษาหล่อเลี้ยงนามธรรมคือ จิตและเจตสิกทั้งหลาย บางทีเรียก อรูปชีวิตินทรีย์ หรือ นามชีวิตินทรีย์ --------------------------------------------------------------------------------

ทิฐิมานะ

1.ทิฏฐิมานะ ทิฏฐิแปลว่าความเห็น ในที่นี้หมายถึงความเห็นดื้อดึง ถึงผิดก็ไม่ยอมแก้ไข มานะความถือตัว รวม ๒ คำ เป็นทิฏฐิมานะ หมายถึงถือรั้น อวดดี หรือดึงดื้อถือตัว 2.มานะ ความถือตัว,ความสำคัญตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่ (ข้อ ๕ ในอนุสัย ๗, ข้อ ๘ ในสังโยชน์ ๑๐,ข้อ ๑๓ ในอุปกิเลส ๑๖) 3.อติมานะ ดูหมิ่นท่าน,ความถือตัวว่าเหนือกว่ายิ่งกว่าเขา (ข้อ ๑๔ ในอุปกิเลส ๑๖) 4.อัสมิมานะ การถือตัวว่านี่ฉันนี่กู กูเป็นนั่นเป็นนี่, การถือเราถือเขามีอุบายบรรเทาเบาบาง ทิฐิมานะได้อยางไรบ้างครับ จากคุณ : Mr.A แก้ มานะทิฐิ โดยการเจริญ อนิจจสัญญา ครับ คือให้พิจารณาว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยเฉพาะขันธ์ 5 ของตนนั้น เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มันต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ไปตามกาลเวลา ดังนั้นอย่าไปยึดมั่นถือมั่น จากคุณ : ว่างจากเวปอื่น จากhttp://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/010213.htm

จริง

จริง, จริง ๆ
ความหมาย
[จิง] ว. แน่ เช่น ทําจริง ชอบจริง ๆ; แท้, ไม่ปลอม, เช่น ของจริงไม่ใช่ของเทียม; เป็นอย่างนั้นแน่แท้ ไม่กลับเป็นอย่างอื่น 




ญาณทัศนะ

ญาณทัศนะ (ยา-นะ-)
แปลว่า การรู้และการเห็น การเห็นคือการรู้จริง, การเห็นด้วยการรู้จริง, การเห็นอย่างประเสริฐ คือการรู้อย่างแจ่มแจ้ง
ญาณทัศนะ เป็นที่ใช้แพร่หลายในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และมีความหมายหลายระดับตามเนื้อหาในเรื่องนั้น ๆ เช่นหมายถึงการเห็นพระธรรมที่พระอริยเจ้าเห็น การแทงตลอดธรรมอย่างที่พระอริยเจ้าแทงตลอด การบรรลุธรรมที่ทำให้เป็นพระอริยะ การบรรลุความเป็นพระอริยะ ซึ่งก็คือปัญญานั่นเอง
ญาณทัศนะ ยังหมายรวมไปถึงวิปัสสนาญาณ ทิพจักขุญาณ มรรคญาณ ผลญาณ ปัจเวกขณญาณ สูงสุดถึงสัพพัญญุตญาณ ในที่บางแห่งอธิบายว่าแม้ความเห็นที่บริสุทธิ์หรือทิฏฐิวิสุทธิ์ก็เรียกว่าญาณทัศนะได้

ดูเพิ่ม

วิสุทธิ 7
ญาณ
วิปัสสนากรรมฐาน

วิจารณญาณ

วิจารณญาณ (อ่านว่า วิจาระนะยาน)
หมายถึงปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผลที่ถูกต้อง ปัญญาสามารถในการพิจารณาจัดแจง วางแผน สืบสวน แสวงหา ไตร่ตรองเหตุผล เรียกว่า วิจารณปัญญา ก็มี
วิจารณญาณ เป็นเครื่องมือในการสังเกตคิดค้น และตัดสินวินิจฉัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นเครื่องมือของโยนิโสมนสิการ มีลักษณะเฟ้นหาไตร่ตรองข้อเท็จจริงด้วยเหตุผลรอบคอบและรอบด้าน ทำให้ฉุกคิดไม่ตัดสินใจโดยรีบด่วนจนเกิดความผิดพลาด เป็ตให้การสรุปผลหรือตัดสินเรื่องนั้นๆ ถูกต้องถ่องแท้ หรือผิดพลาดน้อยที่สุด
วิจารณญาณ เป็นเรื่องของปัญญา เหตุผลและข้อเท็จจริง มิใช่เป็นเรื่องของทัศนะและการคาดเดา
การศึกษาสมัยใหม่ในประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศได้นำกระบวนการคิดในลักษณะนี้มารวมไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรียกว่า "การคิดเชิงวิจารณ์"


 อ้างอิงพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548

ความเกียจคร้าน

ความเกียจคร้านเป็นอกุศลประเภทหนึ่ง คือ ขณะที่เกียจคร้านจิตเป็นอกุศล อนึ่ง
ในสิงคาลกสูตรทรงแสดงว่า    ความเกียจคร้านในการทำการงาน    เป็นอบายมุขอย่าง
หนึ่ง คือ ผู้ที่เกียจคร้านในการทำงานย่อมเสื่อมจากโภคทรัพย์ที่ควรได้     ย่อมไม่เจริญ
ทั้งทางโลก และทางธรรม  ในทางธรรมะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญความอดทน
ความเพียร ความพยายาม   ดังพุทธภาษิตว่า บุคคลล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร   ซึ่ง
ในที่นี้หมายถึงความเพียรในกุศล เพียรที่ถูกต้อง  ความเพียรในองค์มรรค สัมมาวายามะ
    
http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=5248


http://www.youtube.com/watch?v=lXHU46ujPrs

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

ปุณณ์

ปุณณ์ หมายถึง เต็ม พร้อม ปุณย์ หมายถึง ให้ถึงความสำเร็จ ให้สมความมุ่งหมาย ปุญ หมาย ถึง ความดี การทำความดี

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

กิเลส

กิเลส แปลว่า สิ่งเกาะติด สิ่งเปรอะเปื้อน สิ่งสกปรก

กิเลส คือ สิ่งที่แฝงติดอยู่ในใจแล้วทำให้ใจเศร้าหมองขุ่นมัว มีอุปมาเหมือนสีที่ใส่ลงไปในน้ำทำให้น้ำมีสีเหมือนสีที่ใส่ลงไป ใจก็เช่นกัน ปกติก็ใสสะอาด แต่กลายเป็นใจดำ ใจง่าย ใจร้ายก็เพราะมีกิเลสเข้าไปอิงอาศัยผสมปนเปอยู่
กิเลสที่ชอบซุกหมักหมมอยู่ในใจคนมากที่สุด คือ ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เพราะกิเลสชอบซุกหมักหมมอยู่ในใจของคน จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กิเลสาสวะ หรือ อาสวกิเลส แปลว่า กิเลสที่หมักดองอยู่ในจิต
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AA

สัมปยุตตธรรม

   
จิตและเจตสิกเป็นสภาพธรรมซึ่งเกิดร่วมกัน พร้อมกัน
ปราศจากกันไม่ได้ แยกกันไม่ได้ เมื่อเกิดขึ้นพร้อมกันแล้วก็ดับพร้อมกัน
รู้อารมณ์เดียวกัน   เกิดที่รูปเดียวกัน (ในภูมิที่มีขันธ์ ๕) นั้นคือลักษณะที่
เป็นสัมปยุตตธรรม

ปรมัตถธรรมมี ๔ คือ
จิตปรมัตถ์ ๑  
เจตสิกปรมัตถ์ ๑   
รูปปรมัตถ์ ๑
นิพพานปรมัตถ์ ๑

http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=8628

โยนิโสมนสิการ

โยนิโสมนสิการ (ปัญจาบ: yonisomanasikāra; คำอ่าน: โยนิโสมะนะสิกาน) หมายถึง การทำในใจให้แยบคาย กล่าวคือ การพิจารณาอย่างรอบคอบถี่ถ้วน ทางพุทธศาสนาถือว่ามีคุณค่าเท่ากับความไม่ประมาทหรือ "อัปมาท" ซึ่งเป็นแหล่งรวมแห่งธรรมฝ่ายดีหรือ "กุศลธรรม" ทั้งปวง ดังปรากฏในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๙ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ข้อ ๔๖๔ หน้า ๑๒๙ นอกจากนั้น ยังจัดเป็นธรรมะข้อหนึ่งในกลุ่มธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญด้วยปัญญา และเป็นธรรมะมีอุปการะมากแก่มนุษย์ดังพรรณาในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๒ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ข้อ ๒๖๘-๙ หน้า ๓๓๒[1]
การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น คือ ทำในใจโดยแยบคาย การใช้ความคิดถูกวิธี คือ การกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสายแยกแยะออกพิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดย อุบายวิธีให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย [2]เช่น
  • คิดจากเหตุไปหาผล
  • คิดจากผลไปหาเหตุ
  • คิดแบบเห็น ความสัมพันธ์ต่อเนื่อง เป็นลูกโซ่
  • คิดเน้นเฉพาะจุดที่ทำให้เกิด
  • คิดเห็น องค์ประกอบที่มา ส่งเสริมให้เจริญ
  • คิดเห็น องค์ประกอบที่มา ทำให้เสื่อม
  • คิดเห็นสิ่งที่มา ตัดขาดให้ดับ
  • คิดแบบ แยกแยะองค์ประกอบ
  • คิดแบบ มองเป็นองค์รวม
  • คิดแบบ อะไรเป็นไปได้ หรึอเป็นไปไม่ได้



http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AA

จิตและเจตสิก

 จิตและเจตสิกเป็นสภาพธรรมซึ่งเกิดร่วมกัน พร้อมกัน
ปราศจากกันไม่ได้ แยกกันไม่ได้ เมื่อเกิดขึ้นพร้อมกันแล้วก็ดับพร้อมกัน
รู้อารมณ์เดียวกัน   เกิดที่รูปเดียวกัน (ในภูมิที่มีขันธ์ ๕) นั้นคือลักษณะที่
เป็นสัมปยุตตธรรม

ความวิจิตร คือ ความต่างกันของจิตนั้น   ไม่มีที่สิ้นสุด   ตามสัมป-
ยุตตธรรม คือ เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย    ฉะนั้น จึงควรเข้าใจความหมายของสัมป-
ยุตตธรรม ปรมัตถธรรมมี ๔ คือ จิตปรมัตถ์ ๑    เจตสิกปรมัตถ์ ๑     รูปปรมัตถ์ ๑
นิพพานปรมัตถ์ ๑

 ขอบคุณข้อมูลดีๆจากhttp://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=8628

วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

ลักษณะพิเศษ

สันดาน

N. inborn trait
    syn:{อุปนิสัย}{ลักษณะพิเศษ}{นิสัย}

N. nature
    def:[อุปนิสัยที่มีมาแต่กำเนิด มักใช้ไปในทางไม่สู้จะดี]
    syn:{นิสัยถาวร}
    sample:[สิ่งที่ดีที่ถูกนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก ต้องหมั่นอบรมอยู่เสมอให้เป็นสันดาน]


second nature

N. นิสัย
    relate:{สันดาน}
N. นิสัยติดตัว
    relate:{สันดาน} 
    syn:(habit)(familiarity)


ธาตุแท้

N. element
    syn:{ธาตุบริสุทธิ์}
N. nature
    def:[อุปนิสัยใจคอที่แท้จริง]
    syn:{เนื้อแท้}{สันดานเดิม}{สันดาน}
    sample:[อีกไม่นานเราทุกคนจะได้เห็นธาตุแท้ของเขา]


โฉมหน้า

N. face
    syn:{เค้าหน้า}{หน้าตา}{ใบหน้า}
    sample:[ตำรวจเพิ่งเผยโฉมหน้าแก๊งค์โจรวัยรุ่น]
N. nature
    syn:{แก่นแท้}{สันดาน}
    sample:[โฉมหน้าที่แท้จริงภายใต้ความงามนี้คือความชั่วร้าย]


nature

nature  (เน'เชอะ)
n. ธรรมชาติ, สันดาน, นิสัย, ลักษณะ, ชนิด, วัตถุ, ทางโลก, จักรวาล by
nature โดยกำเนิด


constitution

constitution  (คอนสทิทิว'เชิน)
n. การประกอบขึ้น, การก่อตั้ง, การสถาปนา, ร่างกาย, อุปนิสัย, สันดาน,
รัฐธรรมนูญ, ระเบียบข้อบังคับ, รูปแบบการปกครอง, รากฐาน 

Synonym:  composition

ธาตุ

ธาตุ ในทางพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

ธาตุ 4

ในทางพระพุทธศาสนา กล่าวว่า คนเราประกอบด้วย ธาตุ 4 ประการ ได้แก่
  • ปฐวีธาตุ ธาตุดิน (สิ่งที่มีสถานะเป็นของแข็งในร่างกาย เช่น ผิวหนัง ตา จมูก ปาก ลำไส้ ตับ ฯลฯ)
  • อาโปธาตุ ธาตุน้ำ (สิ่งที่มีสถานะเป็นของเหลวในร่างกาย เช่น โลหิต น้ำปัสสาวะ เหงื่อ ฯลฯ)
  • วาโยธาตุ ธาตุลม (สิ่งที่มีสถานะเป็นแก๊สหรือก๊าซในร่างกาย เช่น ลมหายใจ แก๊สในกระเพาะอาหาร ฯลฯ)
  • เตโชธาตุ ธาตุไฟ (อุณหภูมิของร่างกาย พลังงานในการเผาผลาญอาหาร ให้เราร้อนในกายและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย)

 ธาตุ 6

ในทางพระพุทธศาสนากล่าวว่า คนเราประกอบด้วยธาตุ 6 ประการ ได้แก่
ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ซึ่งประกอบด้วยอะตอมเพียงหนึ่งประเภทตามการจำแนกด้วยเลขอะตอม อันเป็นจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้น

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8

สังขาร

สังขารหมายถึงร่างกาย ตัวตน สสาร สิ่งที่ประกอบกันขึ้นหรือถูกปรุงแต่งขึ้นจากธาตุ 4 สังขาร
ในความหมายนี้แบ่งเป็น 2
 คือ
สังขารมีใจครอง (อุปาทินนกสังขาร) คือสิ่งมีชีวิต มีจิตวิญญาณ สามารถเคลื่อนไหว รับ จำ คิด รู้อารมณ์ได้ ได้แก่มนุษย์ อมนุษย์ สัตว์ดิรัจฉาน
 สังขารไม่มีใจครอง (อนุปาทินนกสังขาร) คือ สิ่งไม่มีชีวิต ไม่มีจิตวิญญาณ รับ จำ คิด รู้อารมณ์ไม่ได้ ได้แก่ต้นไม้ ภูเขา ดิน น้ำ รถ เรือ เป็นต้น
สังขารในความหมายนี้ จัดเป็นรูปขันธ์ในขันธ์ 5 มิใช่สังขารขันธ์ และมีลักษณะเสมอกันโดยเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ทุกขัง

ทุกข์ หรือ ทุกขัง (บาลี: ทุกฺขํ) เป็นหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา แปลว่าทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก โดยทั่วไปหมายถึง สังขารธรรม
อันได้แก่ ขันธ์ 5 คือสังขารทั้งปวงล้วนเป็นที่ตั้งของกองทุกข์
ทุกข์ในทางพระพุทธศาสนา ถือเป็นกิจในอริยสัจ 4 ที่ชาวพุทธต้องกำหนดรู้เพื่อละและปล่อยวางในลำดับต่อไปในกิจทั้งสี่ในอริยสัจ อันได้แก่ รู้ทุกข์ เพื่อค้นหาสาเหตุในการดับทุกข์ (สมุทัย) แล้วจึงตั้งจุดมุ่งหมายในการดับทุกข์ (นิโรธ) และดำเนินตามเส้นทางสู่ความดับทุกข์ (มรรค) คือสละ ละ ปล่อยวาง ไม่ยึดติดในใจด้วยอำนาจกิเลส
ทุกข์ จัดเป็นหนึ่งในชื่อเรียกที่เป็นคำไวพจน์ของขันธ์ซึ่งถูกใช้เป็นอย่างมากในพระไตรปิฎก จะมาคู่กับคำไวพจน์ของขันธ์อีก 2 คำ คือ อนิจจัง กับ อนัตตา นั่นเอง
 

วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

ภาวนา


ภาวนา แปลว่า การเจริญ การอบรม การทำให้มีให้เป็นขึ้น หมายถึง การทำจิตใจให้สงบและทำปัญญาให้เกิดขึ้น ด้วยการฝึกฝนอบรมจิตไปตามแบบที่ท่านกำหนดไว้ ซึ่งเรียกชื่อไปต่างๆ เช่น การบำเพ็ญกรรมฐาน การทำสมาธิ การเจริญภาวนา การเจริญจิตภาวนา ภาวนา ในทางปฏิบัติท่านแบ่งไว้ ๒ แบบใหญ่ๆ คือ สมถภาวนา การอบรมจิตใจให้สงบ ซึ่งได้แก่สมถกรรมฐานนั่นเอง เรียกว่า จิตภาวนา ก็ได้ วิปัสสนาภาวนา การอบรมปัญญาให้เกิด ซึ่งได้แก่วิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง เรียกว่า ปัญญาภาวนา ก็ได้ ภาวนา เป็นบุญอย่างหนึ่ง เรียกว่าภาวนามัย คือบุญที่เกิดจากการภาวนา