วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปฏิปทา

ปฏิปทา แปลว่า ทางดำเนิน ข้อปฏิบัติ แนวทางปฏิบัติ ความประพฤติ ในทางธรรมมักปรากฏต่อท้ายคำอื่นๆ เช่น มัชฌิมาปฏิปทา[1] ทุกขนิโรธปฏิปทา[2] เป็นต้น ส่วนปฏิปทาในทางโลกมักถูกนำมาใช้ในความหมายว่าความประพฤติ และใช้กับความประพฤติที่ดีงาม ไม่ใช้กับความประพฤติที่ไม่ดี เช่นใช้ว่า "เขาเป็นคนมีปฏิปทาอย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว" หมายความว่าเขาเป็นคนมีความประพฤติที่ดี เช่น ชอบช่วยเหลือคนอื่น มีอัธยาศัยดี หรือมีอุปนิสัยใจคอตามที่แสดงออกมาเช่นนั้น

สมาทาน

สมาทาน แปลว่า การถือเอา การรับเอา การถือปฏิบัติ สมาทาน หมายถึงการรับมาปฏิบัติ เช่น สมาทานศีล คือการรับศีลมาเป็นหลักปฏิบัติ สมาทานธุดงค์ คือการถือปฏิบัติตามหลักธุดงควัตร สมาทาน ตามปกติจะกระทำต่อหน้าผู้อื่นเช่น พระสงฆ์ ด้วยการเปล่งวาจา หรือนึกในใจว่าจะทำอย่างโน้นอย่างนี้ คล้ายกับให้คำมั่นสัญญาทั้งแก่ตนเองหรือผู้อื่นไว้ การสมาทานจึงเป็นอุบายวิธีให้ประพฤติปฏิบัติตามที่เปล่งวาจาไว้เพื่อรักษาคำมั่นสัญญา อันแสดงถึงความเป็นคนมีจิตใจมั่นคง พูดจริงทำจริง ไม่โลเลเหลาะแหละ อ้างอิง[แก้]พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548

วิญญาน

ในศาสนาพุทธ คำว่าวิญญาณ (บาลี: viññāṇa; สันสกฤต: विज्ञान) ใช้หมายถึงพิชาน (consciousness) คือความรู้แจ้งอารมณ์[1] พระไตรปิฎกระบุว่าพระพุทธเจ้าทรงจำแนกวิญญาณออกเป็น 6 ประเภท[2] ได้แก่ 1.จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา คือรู้รูปด้วยตา หรือการเห็น 2.โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู คือรู้เสียงด้วยหู หรือการได้ยิน 3.ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก คือรู้กลิ่นด้วยจมูก หรือการได้กลิ่น 4.ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น คือรู้รสด้วยลิ้น หรือการรู้รส 5.กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย คือรู้โผฏฐัพพะด้วยกาย หรือการรู้สึกกายสัมผัส 6.มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ คือรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ หรือการนึกคิด นอกจากนี้วิญญาณยังปรากฏในหลักธรรมอื่น ๆ ด้วย เช่น วิญญาณขันธ์ในขันธ์ 5 วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท คำว่าวิญญาณยังถือเป็นคำไวพจน์ของคำว่าจิต มีความหมายเหมือนกัน ใช้แทนกันได้[3] หน้าที่ของวิญญาณ (วิญญาณกิจ)[แก้]คัมภีร์วิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆสะและคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะของพระอนุรุทธาจารย์ กล่าวว่าวิญญาณมีหน้าที่ 14 อย่าง[4][5] คือ 1.ปฏิสนธิ สืบต่อภพใหม่ 2.ภวังคะ เป็นองค์ประกอบของภพ 3.อาวัชชนะ คำนึงถึงอารมณ์ใหม่ 4.ทัสสนะ เห็นรูป (ตรงกับจักขุวิญญาณ) 5.สวนะ ได้ยินเสียง (ตรงกับโสตวิญญาณ) 6.ฆายนะ ได้กลิ่น (ตรงกับฆานวิญญาณ) 7.สายนะ รู้รส (ตรงกับชิวหาวิญญาณ) 8.ผุสนะ ถูกต้องโผฏฐัพพะ (ตรงกับกายวิญญาณ) 9.สัมปฏิจฉนะ รับอารมณ์ 10.สันตีรณะ พิจารณาอารมณ์ 11.โวฏฐัพพนะ ตัดสินอารมณ์ 12.ชวนะ เสพอารมณ์ 13.ตทาลัมพณะ รับอารมณ์ต่อจากชวนะก่อนจะกลับสู่ภวังค์ 14.จุติ เคลื่อนจากภพปัจจุบันเพื่อจะไปสู่ภพหน้า อ้างอิง[แก้]1.↑ วิญญาณ 6. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) 2.↑ ที.ปา.11/306/255 3.↑ พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2546 4.↑ วิสุทธิ 3/29 5.↑ สงฺคห15 พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548 ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=วิญญาณ_(ศาสนาพุทธ)&oldid=4736583".

ทุน

ทุน ความหมาย น. ของเดิมหรือเงินเดิมที่มีไว้ ลงไว้ กําหนดไว้ จัดตั้งไว้ เพื่อประโยชน์ให้งอกงาม เช่น มีความรู้เป็นทุน มีเงินเป็นทุน; เงินหรือทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ตั้งไว้สําหรับดําเนินกิจการเพื่อหาผลประโยชน์.

ขาดทุน

ขาดทุน ความหมาย ก. ได้น้อยกว่าต้นทุน.

กำไร

กำไร ความหมาย น. ผลที่ได้เกินต้นทุน. ว. ยิ่ง, เกิน,

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อุเบกขา‎

อุเบกขา (ภาษาบาลี: อุเปกขา ภาษาสันสกฤต: อุเปกษา) แปลว่า ความวางเฉย ความวางใจ

อนัตตา

อนัตตา (บาลี: อนตฺตา) หรือ อนาตมัน (สันสกฤต: अनात्मन् อนาตฺมนฺ) แปลว่า ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน ไม่ใช่อัตตา (หรืออาตมัน) ไม่ใช่ตัวตน หรือ สภาพที่บังคับบัญชาไม่ได้ ...