วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

อคติ หมายถึง ความลำเอียง ความไม่ยุติธรรม มี 4 ประเภท


คำว่า อคติ แปลว่า ไม่เดิน, ไม่ไป หมายความว่า ไม่ควรเดิน ไม่ควรไป หรือไม่ควรประพฤติ อคติ ศัพท์นี้ตรงกับภาษาไทยว่า ความลำเอียง ความไม่เที่ยงธรรม, ความไม่ยุติธรรม
(ฐานะอันไม่พึงถึง, ทางความประพฤติที่ผิด, ความไม่เที่ยงธรรม, ความลำเอียง )
- wrong course of behavior; prejudice) มีอยู่ 4 อย่างคือ

1. ฉันทาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะรัก (prejudice caused by love or desire; partiality)
 2. โทสาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะเกลียด (prejudice caused by hatred or enmity)
3. โมหาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะเขลาหรือเพราะความโง่หลงงมงาย
ไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ว่าอย่างไร ถูกอย่างไรผิดอย่างไรควร อย่างไรไม่ควร (prejudice caused by delusion or stupidity)
4. ภยาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะกลัวหรือเพราะเกรงใจ (prejudice caused by fear)
ความลำเอียงทั้ง 4 ประการนี้ เป็นอันตรายอย่างมาก ทุกยุคทุกสมัยที่บุคคลที่เป็นผู้ใหญ่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการปกครองบังคับบัญชาบุคคลอื่นด้วยแล้ว มีความลำเอียง (อคติ) อยู่เพียงข้อใดข้อหนึ่งเท่านั้น ก็จะทำให้สูญเสียความยุติธรรมขาดความอบอุ่น ขาดความมั่นใจของคนที่เกี่ยวข้องเป็นผู้น้อย เป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของบุคคลเหล่านั้น แต่ความลำเอียง (อคติ) ทั้ง 4 อย่างนี้ ไม่ได้เจาะจงเฉพาะผู้ใหญ่เท่านั่น แม้แต่ผู้น้อยหรือเด็กๆ ก็อาจจะเกิดความลำเอียง (อคติ) ขึ้นมาได้เหมือนกัน เหตุนั้นพระองค์จึงตรัสเพื่อลดอคติและสร้างเสริมความเมตตาในกันและกัน ร่มกันเร่งปฏิบัติสรรพกิจการงานให้ประสานเกื้อกูลกัน เพื่อทุกคนจะได้สามารถนำพาประเทศชาติให้ก้าวหน้าไปอย่างมั่นคง และบรรลุถึงความวัฒนาผาสุกได้โดยสวัสดิ์ดี


http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538759434&Ntype=19



พระพุทธศาสนานั้น   สอนความจริงเป็นกลางไม่ขึ้นต่อบุคคล  กลุ่ม เหล่า  พรรคพวก   

 

โพชฌงค์ ๗

โพชฌงค์ ๗๑. สติ ความระลึกได้
๒. ธัมมวิจยะ ความสอดส่องธรรม
๓. วิริยะ ความเพียร
๔. ปีติ ความอิ่มใจ
๕. ปัสสัทธิ ความสงบใจและอารมณ์
๖. สมาธิ ความตั้งใจมั่น
๗. อุเปกขา ความวางเฉย
เรียกตามประเภทว่า สติสัมโพชฌงค์ไปโดยลำดับจนถึงอุเปกขาสัมโพชฌงค์

พระพุทธศาสนาก็จึงสอนให้เรามีอิสรภาพ ไม่ยึดติดถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย  จนกระทั่งเมื่อรู้ความจริง รู้เท่าทันชัดแจ้งทั่วตลอดแล้ว  ก็จะมีจิตหลุดพ้น เป็นอิสระ

หลักการของพุทธศาสนา ที่เรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์

หลักการของพุทธศาสนา ที่เรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์
การแสดงปาติโมกข์ที่ประกอบด้วยองค์ 4 เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต

ตามพระพุทธพจน์ 3 คาถากึ่ง อาจสรุปใจความได้เป็นสามส่วน  คือ หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 ดังนี้



พระพุทธพจน์คาถาแรก

ทรงกล่าวถึงอุดมการณ์อันสูงสุดของพระภิกษุและบรรพชิตในพระพุทธศาสนานี้ อันมีลักษณะที่แตกต่างจากศาสนาอื่น อันอาจเรียกได้ว่าอุดมการณ์ 4 ของพระพุทธศาสนา ได้แก่
  1. ความอดทนอดกลั้นเป็นสิ่งที่นักบวชในศาสนานี้พึงยึดถือและเป็นสิ่งที่ต้องใช้เมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจทุกอย่างที่ต้องเจอในชีวิตนักบวช เช่น ประสงค์ร้อนได้เย็น ประสงค์เย็นได้ร้อน
  2. การมุ่งให้ถึงพระนิพพานเป็นเป้าหมายหลักของผู้ออกบวช มิใช่สิ่งอื่นนอกจากพระนิพพาน
  3. พระภิกษุและบรรพชิตในพระธรรมวินัยนี้(เช่นภิกษุณี สามเณร สามเณรี สิกขมานา)ไม่พึงทำผู้อื่นให้ลำบากด้วยการทำความทุกข์กายหรือทุกข์ทางใจไม่ว่าจะในกรณีใดๆ
  4. พระภิกษุตลอดจนบรรพชิตในพระธรรมวินัยนี้ต้องขอแก่ทายกด้วยอาการที่ไม่เบียดเบียน( คือการไม่เอ่ยปากเซ้าซี้ขอและไม่ใช้ปัจจัยสี่อย่างฟุ่มเฟือยจนเดือดร้อนทายก)

พระพุทธพจน์คาถาที่สอง

ทรงกล่าวถึง "หลักการอันเป็นหัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาแก่พุทธบริษัททั้งปวงโดยย่อ" หรือ หลักการ 3 กล่าวกันเป็นเป็นการสรุปรวบยอดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอันเป็นแนวทางที่พุทธบริษัทพึงปฏิบัติ ได้แก่
  1. การไม่ทำบาปทั้งปวง
  2. การทำกุศลให้ถึงพร้อม
  3. การทำจิตใจให้บริสุทธิ์
มีผู้อธิบายว่าทั้งสามข้อนี้อาจอนุมานเข้ากับ ศีล สมาธิ และปัญญา 

พระพุทธพจน์คาถาที่สาม


หมายถึงวิธีการที่ธรรมทูตผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาถือเป็นกลยุทธ พระภิกษุที่ออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาซึ่งมีเป็นจำนวนมากให้ใช้วิธีการเหมือนกันเพื่อจะได้เป็นไปในแนวทางเดียวกันและถูกต้องเป็นธรรม ได้แก่ วิธีการทั้ง 6
  1. การไม่กล่าวร้าย (เผยแผ่ศาสนาด้วยการไม่กล่าวร้ายโจมตีดูถูกความเชื่อผู้อื่น)
  2. การไม่ทำร้าย (เผยแผ่ศาสนาด้วยการไม่ใช้กำลังบังคับข่มขู่ด้วยวิธีการต่างๆ)
  3. ความสำรวมในปาติโมกข์ (รักษาความประพฤติให้น่าเลื่อมใส)
  4. ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร (เสพปัจจัยสี่อย่างรู้ประมาณพอเพียง)
  5. ที่นั่งนอนอันสงัด (สันโดษไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ)
  6. ความเพียรในอธิจิต (พัฒนาจิตใจเสมอมิใช่ว่าเอาแต่สอนแต่ตนเองไม่กระทำตามที่สอน)



คาถาโอวาทปาติโมกข์และคำแปล

คาถาต้นฉบับคำแปล
๏ ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
๏ ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมธรรม
ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
๏ สพฺพปาปสฺส อกรณํ
กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ
เอตํ พุทฺธานสาสนํฯ
๏ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง 1
การบำเพ็ญแต่ความดี 1
การทำจิตของตนให้ผ่องใส 1
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
๏ อนูปวาโท อนูปฆาโต
ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ
ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค
เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ
๏ การไม่กล่าวร้าย 1 การไม่ทำร้าย 1
ความสำรวมในปาติโมกข์ 1
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร 1
ที่นั่งนอนอันสงัด 1
ความเพียรในอธิจิต 1
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

องค์ 4จาตุรงคสันนิบาต
















จาตุรงคสันนิบาต คือ

  
   1. พระภิกษุจำนวน 1250 รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดแนะกัน คือต่างองค์ต่างมา (ต่างองค์ต่างเดิน  ทางกันมา มาตรงกันมากมายเช่นนี้มีสันนิษฐานกันอย่างไร)

  
   2. พระภิกษุทั้งหมดนั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ (มีกิเลสอาสวะสิ้นแล้ว)
  
   3. ล้วนเป็นเอหิภิกขุ    (พระพุทธเจ้าเป็นผู้บวชให้ ด้วยกล่าววาจาว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด...เอหิ ภิกขุ)

  
   4. ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 3  (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 วันพระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์)
  
   และพระพุทธเจ้าจึงถือโอกาสนี้แสดงหลักการของพุทธศาสนา ที่เรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์
   

มงคลชีวิต38ประการ