วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

อคติ หมายถึง ความลำเอียง ความไม่ยุติธรรม มี 4 ประเภท


คำว่า อคติ แปลว่า ไม่เดิน, ไม่ไป หมายความว่า ไม่ควรเดิน ไม่ควรไป หรือไม่ควรประพฤติ อคติ ศัพท์นี้ตรงกับภาษาไทยว่า ความลำเอียง ความไม่เที่ยงธรรม, ความไม่ยุติธรรม
(ฐานะอันไม่พึงถึง, ทางความประพฤติที่ผิด, ความไม่เที่ยงธรรม, ความลำเอียง )
- wrong course of behavior; prejudice) มีอยู่ 4 อย่างคือ

1. ฉันทาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะรัก (prejudice caused by love or desire; partiality)
 2. โทสาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะเกลียด (prejudice caused by hatred or enmity)
3. โมหาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะเขลาหรือเพราะความโง่หลงงมงาย
ไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ว่าอย่างไร ถูกอย่างไรผิดอย่างไรควร อย่างไรไม่ควร (prejudice caused by delusion or stupidity)
4. ภยาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะกลัวหรือเพราะเกรงใจ (prejudice caused by fear)
ความลำเอียงทั้ง 4 ประการนี้ เป็นอันตรายอย่างมาก ทุกยุคทุกสมัยที่บุคคลที่เป็นผู้ใหญ่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการปกครองบังคับบัญชาบุคคลอื่นด้วยแล้ว มีความลำเอียง (อคติ) อยู่เพียงข้อใดข้อหนึ่งเท่านั้น ก็จะทำให้สูญเสียความยุติธรรมขาดความอบอุ่น ขาดความมั่นใจของคนที่เกี่ยวข้องเป็นผู้น้อย เป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของบุคคลเหล่านั้น แต่ความลำเอียง (อคติ) ทั้ง 4 อย่างนี้ ไม่ได้เจาะจงเฉพาะผู้ใหญ่เท่านั่น แม้แต่ผู้น้อยหรือเด็กๆ ก็อาจจะเกิดความลำเอียง (อคติ) ขึ้นมาได้เหมือนกัน เหตุนั้นพระองค์จึงตรัสเพื่อลดอคติและสร้างเสริมความเมตตาในกันและกัน ร่มกันเร่งปฏิบัติสรรพกิจการงานให้ประสานเกื้อกูลกัน เพื่อทุกคนจะได้สามารถนำพาประเทศชาติให้ก้าวหน้าไปอย่างมั่นคง และบรรลุถึงความวัฒนาผาสุกได้โดยสวัสดิ์ดี


http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538759434&Ntype=19



พระพุทธศาสนานั้น   สอนความจริงเป็นกลางไม่ขึ้นต่อบุคคล  กลุ่ม เหล่า  พรรคพวก   

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น