๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ รู้จักระลึกชาติได้
๒. จุตูปปาตญาณ รู้จักกำหนดจุติและเกิด
๓. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้น.
องฺ. ทสก. ๒๔/๒๒๖.
อธิบาย: นิทเทสแห่งปุพเพนิวาสานุสสติญาณว่า ระลึกชาติ ถอยหลังเข้าไปได้ตั้งแต่ชาติหนึ่งสองชาติจนตั้งหลาย ๆ กัลป์ ว่าในชาติที่เท่านั้นได้มีชื่อ มีโคตร มีผิวพรรณ มีอาหารอย่างนั้น ๆ ได้เสวยสุข ได้เสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีอายุเท่านั้น จุติจากนั้นแล้ว ได้เกิดในชาติที่เท่าโน้น ได้เป็นอย่างนั้น ๆ แล้วมาเกิดในชาตินี้.
นิทเทสแห่งจุตูปปาตญาณว่า มีจักษุทิพย์บริสุทธิ์ล่วงจักษุสามัญมนุษย์ เห็นเหล่าสัตว์ที่กำลังจุติก็มี กำลังเกิดก็มี เลวก็มี ดีก็มี มีผิวพรรณงามก็มี มีผิวพรรณไม่งามก็มี ได้ดีก็มี ตกยากก็มี รู้ชัดว่าเหล่าสัตว์เป็นตามกรรม. วิชชาที่ ๒ นี้เรียกว่า ทิพพจักขุญาณก็มี.
นิทเทสแห่งอาสวักขยญาณว่า รู้ชัดตามจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุเกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ทางไปถึงความดับอาสวะ เมื่อรู้เห็นอย่างนี้ จิตพ้นแล้วจากกามาสวะ ภาวสวะ อวิชชาสวะ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กรณียะทำเสร็จแล้วกิจอื่นอันจะต้องทำเช่นนี้ไม่มีอีก.วิชชา ๓ นี้ ญาณ ๓ ก็เรียก. วิชชา ๓ นี้ ท่านกล่าวว่าเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธญาณ อันสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบรรลุมาโดยลำดับในยามสามแห่งราตรี. ความระลึกชาติได้ดังแสดงไว้ในนิทเทส เป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณได้อย่างไรน่าพิจารณาดู หรือว่าระลึกชาติได้เช่นนั้นแล้ว หายตื่นหายหวาดในความเวียนเกิดเวียนตาย เห็นเป็นคติแห่งธรรมดา เกิดอนัตตานุปัสสนาขึ้นเอง เช่นนี้ชอบกลอยู่. ญาณนี้ท่านกล่าวว่ากำจัดโมหะกำบังขันธสันดาน ส่อว่าเป็นอนัตตานุปัสสนา สมเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ. จุตูปปาตญาณ ปรารภเหล่าสัตว์อื่นผู้เวียนเกิดเวียนตาย ดุจเดียวกับบุพเพนิวาสานุสสติญาณ ปรารภตนตามนิทเทส เติมปรารภคติแห่งสัตว์นั้นด้วย ดูเหมือนแสดงว่าไม่ใช่แต่เวียนเกิดเวียนตายเท่านั้นเป็นคติแห่งธรรมดา ความเป็นไปตามอำนาจกรรม ก็เป็นคติแห่งธรรมดาอีกเหมือนกัน. ญาณนี้ ท่านกล่าวว่ากำจัดโมหะกำบังกัมมัสสกตา จะกล่าวว่ากำจัดโมหะเป็นเหตุเชื่อถือไร้เหตุเช่นสีลัพพตปรามาสและมิจฉาทิฏฐิก็ได้ จัดเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณชอบอยู่. อาสวักขยญาณไม่ทำกิจเพียงรู้เท่านั้น รู้จักน้อมความรู้นั้นมาเป็นอุปการะทำอาสวะให้สิ้นได้ด้วย จัดเป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณชอบแท้. ในความแห่งวิชชา ๓ นี้มีอยู่เพียงไร ขอนักธรรมจงสอดส่องถือเอาเอง.
สมถะ เป็นภาษาบาลี แปลว่า สงบ ในคัมภีร์มีใช้ใน 3 แบบ ดังนี้ :
๒. จุตูปปาตญาณ รู้จักกำหนดจุติและเกิด
๓. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้น.
องฺ. ทสก. ๒๔/๒๒๖.
อธิบาย: นิทเทสแห่งปุพเพนิวาสานุสสติญาณว่า ระลึกชาติ ถอยหลังเข้าไปได้ตั้งแต่ชาติหนึ่งสองชาติจนตั้งหลาย ๆ กัลป์ ว่าในชาติที่เท่านั้นได้มีชื่อ มีโคตร มีผิวพรรณ มีอาหารอย่างนั้น ๆ ได้เสวยสุข ได้เสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีอายุเท่านั้น จุติจากนั้นแล้ว ได้เกิดในชาติที่เท่าโน้น ได้เป็นอย่างนั้น ๆ แล้วมาเกิดในชาตินี้.
นิทเทสแห่งจุตูปปาตญาณว่า มีจักษุทิพย์บริสุทธิ์ล่วงจักษุสามัญมนุษย์ เห็นเหล่าสัตว์ที่กำลังจุติก็มี กำลังเกิดก็มี เลวก็มี ดีก็มี มีผิวพรรณงามก็มี มีผิวพรรณไม่งามก็มี ได้ดีก็มี ตกยากก็มี รู้ชัดว่าเหล่าสัตว์เป็นตามกรรม. วิชชาที่ ๒ นี้เรียกว่า ทิพพจักขุญาณก็มี.
นิทเทสแห่งอาสวักขยญาณว่า รู้ชัดตามจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุเกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ทางไปถึงความดับอาสวะ เมื่อรู้เห็นอย่างนี้ จิตพ้นแล้วจากกามาสวะ ภาวสวะ อวิชชาสวะ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กรณียะทำเสร็จแล้วกิจอื่นอันจะต้องทำเช่นนี้ไม่มีอีก.วิชชา ๓ นี้ ญาณ ๓ ก็เรียก. วิชชา ๓ นี้ ท่านกล่าวว่าเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธญาณ อันสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบรรลุมาโดยลำดับในยามสามแห่งราตรี. ความระลึกชาติได้ดังแสดงไว้ในนิทเทส เป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณได้อย่างไรน่าพิจารณาดู หรือว่าระลึกชาติได้เช่นนั้นแล้ว หายตื่นหายหวาดในความเวียนเกิดเวียนตาย เห็นเป็นคติแห่งธรรมดา เกิดอนัตตานุปัสสนาขึ้นเอง เช่นนี้ชอบกลอยู่. ญาณนี้ท่านกล่าวว่ากำจัดโมหะกำบังขันธสันดาน ส่อว่าเป็นอนัตตานุปัสสนา สมเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ. จุตูปปาตญาณ ปรารภเหล่าสัตว์อื่นผู้เวียนเกิดเวียนตาย ดุจเดียวกับบุพเพนิวาสานุสสติญาณ ปรารภตนตามนิทเทส เติมปรารภคติแห่งสัตว์นั้นด้วย ดูเหมือนแสดงว่าไม่ใช่แต่เวียนเกิดเวียนตายเท่านั้นเป็นคติแห่งธรรมดา ความเป็นไปตามอำนาจกรรม ก็เป็นคติแห่งธรรมดาอีกเหมือนกัน. ญาณนี้ ท่านกล่าวว่ากำจัดโมหะกำบังกัมมัสสกตา จะกล่าวว่ากำจัดโมหะเป็นเหตุเชื่อถือไร้เหตุเช่นสีลัพพตปรามาสและมิจฉาทิฏฐิก็ได้ จัดเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณชอบอยู่. อาสวักขยญาณไม่ทำกิจเพียงรู้เท่านั้น รู้จักน้อมความรู้นั้นมาเป็นอุปการะทำอาสวะให้สิ้นได้ด้วย จัดเป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณชอบแท้. ในความแห่งวิชชา ๓ นี้มีอยู่เพียงไร ขอนักธรรมจงสอดส่องถือเอาเอง.
สมถะ เป็นภาษาบาลี แปลว่า สงบ ในคัมภีร์มีใช้ใน 3 แบบ ดังนี้ :
- จิตตสมถะ - ความสงบระงับจากอกุศลนิวรณ์แห่งจิต ดู : สมถกรรมฐาน.
- อธิกรณสมถะ - วิธีการสงบระงับอธิกรณ์การทะเลาะมีเรื่องมีราวกันในหมู่สงฆ์ มี 7 อย่าง เรียก สัตตาธิกรณสมถะ.
- สัพพสังขารสมถะ ความสงบระงับสังขารทั้งปวง หมายถึง พระนิพพาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น