ในพระพุทธศาสนาได้แบ่งมารออกเป็น 5 ประเภทได้แก่
- กิเลสมาร คือ กิเลสซึ่งทำให้เรามีความประพฤติ และนิสัยไม่ดีต่างๆ ในแง่ของมารหมายถึง กิเลสที่คอยขัดขวางไม่ให้เราทำความดี
- ขันธมาร คือ ร่างกายและจิตใจของเรา ซึ่งบกพร่องแล้วเป็นมารผลาญตัวเอง ในแง่ของมารหมายถึง ขันธ์ที่คอยกีดขวางการทำความดี เช่น ต้องการฟังธรรมะ แต่หูหนวก ไม่สามารถฟังธรรมได้ เป็นต้น
- อภิสังขารมาร อภิสังขารคือความคิดนึกอันประกอบกับอารมณ์ เป็นมารเพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม ทำให้เกิดชาติชรา เป็นต้น ขัดขวางไม่ให้หลุดพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏ
- เทวบุตรมาร ได้แก่ เทวดาที่เป็นมาร เช่น พระยามาร รวมไปถึงคนพาล คนชั่ว ที่มาขัดขวางการทำความดีของเรา
- มัจจุมาร คือ ความตายที่ตัดโอกาสการทำความดีของเรา
มาร (บาลี: มรฺ; อังกฤษ: Mara - แปลว่า "ตาย" มารจึงแปลว่า "ผู้ให้ตาย") ในความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน จะหมายถึง เทวดาจำพวกหนึ่ง มีใจบาปหยาบช้าคอยกีดกันไม่ให้ทำบุญ, ยักษ์, ผู้ฆ่า, ผู้ทำลาย, ในพระพุทธศาสนาหมายถึง ผู้กีดกันบุญกุศล มี 5 อย่าง เรียกว่า "เบญจพิธมาร" คือ ขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร และเทวบุตรมาร โดยปริยายหมายถึงผู้ที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น