วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พระพุทธศาสโนวาทหมวดธรรมข้อเดียว

พระพุทธศาสโนวาทบางข้อ
จัดเป็นหมวดตามลำดับจำนวน


<><>
<><>
<><>
<><>
<><>
<><>
<><>
หมวดธรรมข้อเดียว
๑.
จิตที่มิได้อบรม    เป็นไปเพื่อความเสียหายอันยิ่งใหญ่
๒.
จิตที่อบรมแล้ว    เป็นไปเพื่อประโยชน์อันยิ่งใหญ่
๓.
ความประมาท    เป็นไปเพื่อความเสียหายอันยิ่งใหญ่
๔.
ความไม่ประมาท    เป็นไปเพื่อประโยชน์อันยิ่งใหญ่
๕.
การไม่พิจารณาโดยแยบคาย    เป็นไปเพื่อความเสียหายอันยิ่งใหญ่
๖.
การพิจารณาโดยแยบคาย    เป็นไปเพื่อประโยชน์อันยิ่งใหญ่





หมวดธรรมสองข้อ


๑. ธรรมมีอุปการะมาก ๒

๑. สติ ความระลึกได้

๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว

๒. ธรรมคุ้มครองโลก ๒

๑. หิริ ความละอายใจ (ที่จะทำความชั่ว)

๒. โอตตัปปะ ความเกรงกลัว (ที่จะทำความชั่ว)
๓.ธรรมทำให้งาม ๒
๑.ขันติ    ความอดทน
๒.โสรัจจะ    ความสงบเสงี่ยม
๔.ธรรมทำให้ประเสริฐ ๒
๑.วิชชา    ความรู้ดี
๒.จรณะ    ความประพฤติดี
๕.ธรรมที่นำไปสู่ความดับทุกข์ ๒
๑.สมถะ    ความสงบระงับแห่งจิต
๒.วิปัสสนา    ปัญญาอันเห็นแจ่มแจ้ง
๖.ธรรมที่นับเป็นความดับทุกข์ ๒
๑.วิชชา    ความรู้ดี
๒.วิมุตติ    ความหลุดพ้น
๗.คนดีประกอบด้วยธรรม ๒
๑.กตัญญุตา    ความเป็นผู้รู้คุณ
๒.กตเวทิตา    ความเป็นผู้ตอบแทนคุณ

หมวดธรรมสามข้อ
๑.พระรัตนตรัย   หรือสิ่งมีค่า ๓
๑.พระพุทธ    ท่านผู้ตรัสรู้ดี
๒.พระธรรม    ความจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้และสั่งสอน
๓.พระสงฆ์    หมู่พระสาวกผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
(ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสั่งสอน)
๒.หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ๓ ข้อ
๑.เว้นความชั่วทั้งปวง
๒.บำเพ็ญความดี
๓.ชำระจิตของตนให้สะอาด
๓.หลักการศึกษาทางพระพุทธศาสนา    หรือสิกขา ๓
๑.การศึกษาเรื่องศีล    (สีลสิกขา)  คือ   ความประพฤติทางกาย  วาจา
๒.การศึกษาเรื่องจิต   (จิตตสิกขา)  คือ   การทำจิตให้สงบ
๓.การศึกษาเรื่องปัญญา (ปัญญาสิกขา)  คือ   ความรู้แจ้งเห็นจริง
๔.บุญกิริยาวัตถุ    ที่ตั้งแห่งการทำบุญ ๓
๑.การเอื้อเฟื้อให้ปัน   (ทาน)
๒. ความประพฤติดีทางกาย วาจา  (ศีล)
๓.การอบรมจิตและปัญญา   (ภาวนา)
๕. ความประพฤติชอบหรือสุจริต ๓
๑.ความประพฤติชอบทางกาย   (กายสุจริต)
๒.ความประพฤติชอบทางวาจา   (วจีสุจริต)
๓.ความประพฤติชอบทางใจ   (มโนสุจริต)
หมวดธรรมสี่ข้อ
๑.ความจริงอันประเสริฐ   หรืออริยสัจ  ๔  ประการ
๑.ทุกข์  (ทุกข์)
๒.เหตุให้เกิดทุกข์   (สมุทัย)
๓.ความดับทุกข์   (นิโรธ)
๔.ทางหรือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์   (มรรค)
๒.อธิษฐานธรรม   (ธรรมที่ควรไว้ในใจ)  ๔
๑. ปัญญา    พิจารณาเหตุผล
๒. สัจจะ    จริงวาจาและจริงใจ
๓. จาคะ    การสละสิ่งที่ชั่วหรือผิดพลาด
๔. อุปสมะ    ความสงบระงับ
๓. อิทธิบาท   (คุณธรรมที่ทำให้บรรลุความสำเร็จ)   ๔
๑. พอใจในสิ่งนั้น   (ฉันทะ)
๒. เพียรพยายามในสิ่งนั้น   (วิริยะ)
๓. เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น   (จิตตะ)
๔. พิจารณาสอบสวนในสิ่งนั้น   (วิมังสา)
๔. พรหมวิหาร   (ธรรมประจำใจของผู้ประเสริฐ)   ๔
๑. ไมตรีจิตคิดจะให้เป็นสุข   (เมตตา)
๒. คิดจะช่วยให้พ้นทุกข์   (กรุณา)
๓. พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี   (มุทิตา)
๔.วางใจเป็นกลางไม่ลำเอียง   (อุเบกขา)
๕. สังคหวัตถุ   (ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งการสงเคราะห์)   ๔
๑. เอื้อเฟื้อให้ปัน   (ทาน)
๒. พูดจาอ่อนหวาน   (ปิยวาจา)
๓. บำเพ็ญประโยชน์   (อัตถจริยา)
๔. วางตัวให้เข้ากันได้    ไม่ยกตนข่มท่าน   (สมานัตตตา)
๖. ความเพียรชอบ   ๔
๑. เพียรระวังความชั่วความผิดพลาด
๒. เพียรละเว้นความชั่วความผิดพลาด
๓. เพียรทำคุณงามความดีให้เกิดขึ้น
๔. เพียรรักษาคุณงามความดีไว้ไม่ให้เสื่อม
หมวดธรรมห้าข้อ
๑. ธรรมะที่ทำให้อาจหาญมั่นใจในตนเอง   (เวสารัชชกรณธรรม)  ๕
๑. เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ   (ศรัทธา)
๒. มีความประพฤติดี   (ศีล)
๓. มีความรู้ดี    ศึกษาหาความรู้   (พาหุสัจจะ)
๔. มีความขยันหมั่นเพียร   (วิริยารัมภะ)
๕. ใช้ปัญญาพิจารณาเหตุผล   (ปัญญา)
๒. ธรรมะที่เป็นกำลัง   (พลธรรม)  ๕
๑. เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ   (ศรัทธา)
๒. มีความเพียร   (วิริยะ)
๓. มีสติควบคุม   (สติ)
๔. มีใจตั้งมั่น   ไม่ฟุ้งซ่าน  (สมาธิ)
๕. ใช้ปัญญาพิจารณาเหตุผล  (ปัญญา)
๓. ความเจริญแบบอารยะ   (อริยวัฑฒิ)  ๕
๑. เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ   (ศรัทธา)
๒. มีความประพฤติดี   (ศีล)
๓. มีความรู้ดี   (สุตะ)
๔. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้ปัน   (จาคะ)
๕. ใช้ปัญญาพิจารณาเหตุผล   (ปัญญา)
๔. ศีล  ๕   (คู่กับธรรม  ๕)
๑. เว้นจากการฆ่า
๒. เว้นจากการลักขโมย
๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เว้นจากการพูดปด
๕. เว้นจากสิ่งเสพติดหรือเครื่องดองของเมา
๕. ธรรม  ๕   (คู่กับศีล  ๕)
๑. มีความปรารถนาดีไมตรีจิต
๒. ประกอบอาชีพสุจริต
๓. สำรวมในกาม
๔. พูดคำสัตย์จริง
๕. มีสติสำรวมระวัง
หมวดธรรมหกข้อ
          ธรรม   ๖    ข้อ     ที่สร้างความกลมเกลียวและสามัคคี    (สาราณียธรรม    ธรรมะ
ที่ทำให้ระลึกถึงกัน)
๑. แสดงไมตรีจิตด้วยพฤติกรรมทางกาย
๒. แสดงไมตรีจิตด้วยพฤติกรรมทางวาจา
๓. มีไมตรีจิตทางความนึกคิด
๔. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้ปัน
๕. มีระเบียบวินัยร่วมกับคนอื่น
๖. มีความเห็นที่ถูกต้องร่วมกับคนอื่น
หมวดธรรมเจ็ดข้อ
๑. สัปปุริสธรรม   หรือธรรมของคนดี  ๗
๑. การรู้เหตุ
๒. การรู้ผล
๓. การรู้ตน
๔. การรู้ประมาณ
๕. การรู้กาลเวลา
๖. การรู้ประชุมชน
๗. การรู้ปัจเจกบุคคล
๒. สัปปุริสธรรม   ๗   หรือธรรมของคนดีอีกอย่างหนึ่ง
๑. ความเชื่ออย่างมีเหตุผล   (ศรัทธา)
๒. ความละอายต่อความชั่ว   (หิริ)
๓. ความเกรงกลัวต่อความชั่ว   (โอตตัปปะ)
๔. ความรู้หรือการศึกษาดี
๕. ความเพียร
๖. สติ
๗. ปัญญา
๓. อริยทรัพย์   หรือทรัพย์ประเสริฐ  ๗   อย่าง
๑. ความเชื่ออย่างมีเหตุผล
๒. ความประพฤติดีมีศีล
๓. ความละอายต่อความชั่ว
๔. ความเกรงกลัวต่อความชั่ว
๕. ความรู้หรือการศึกษาดี
๖. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
๗. ปัญญา
๔. วัตตบท  ๗   เหมาะสำหรับบุคคลผู้เป็นหัวหน้า
๑. เลี้ยงดูบิดามารดา
๒. อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล
๓. พูดจาอ่อนหวานผูกมิตร
๔. เว้นจากการพูดยุยงหรือส่อเสียดให้แตกร้าว
๕. ขจัดความตระหนี่
๖. มีสัจจะ
๗. ระงับหรือควบคุมความโกรธ
หมวดธรรมแปดข้อ
๑. โลกธรรม   หรือธรรมประจำโลก  ๘  ประการ
๑. ได้ลาภ
๒. เสื่อมลาภ
๓. ได้ยศ
๔. เสื่อมยศ
๕. สรรเสริญ
๖. นินทา
๗. สุข
๘. ทุกข์
๒. อริยมรรค หรือหนทางอันประเสริฐ  ๘   ประการ
๑. ปัญญาเห็นชอบ   (สัมมาทิฎฐิ)
๒. ความดำริหรือความคิดชอบ   (สัมมาสังกัปปะ)
๓. วาจาชอบ   (สัมมาวาจา)
๔. การกระทำชอบ   (สัมมากัมมันตะ)
๕. การเลี้ยงชีพชอบ  (สัมมาอาชีวะ)
๖. ความเพียรชอบ   (สัมมาวายามะ)
๗.การระลึกชอบ   (สัมมาสติ)
๘. การทำใจให้ตั้งมั่นชอบ   (สัมมาสมาธิ)

          คุณธรรมเหล่านี้อาจย่อได้ลงในหลัก   ๓  ประการ กล่าวคือ   ปัญญาเห็นชอบ
ความดำริหรือความคิดชอบ    ย่อลงใน   ปัญญา     การเจรจาชอบ      การกระทำชอบ
การเลี้ยงชีพชอบ  ย่อลงใน  ศีล     ส่วนความเพียรชอบ     การระลึกชอบและการทำใจ
ให้ตั้งมั่นชอบ   ย่อลงใน  สมาธิ

หมวดธรรม ๙ ข้อ
          พระคุณของพระพุทธเจ้า   หรือพระพุทธคุณ  ๙  ประการ
๑. ทรงเป็นพระอรหันต์ผู้ไกลกิเลส
๒. ทรงตรัสรู้เองโดยชอบ
๓. ทรงสมบูรณ์ด้วยวิชชา   (ความรู้)  และจรณะ   (ความประพฤติ)
๔. เสด็จไปดี   (เพื่อทรงทำประโยชน์ทุกแห่ง)
๕.ทรงเป็นผู้รู้จักและรู้เท่าทันโลก
๖. ทรงเป็นผู้ฝึกคนอย่างยอดเยี่ยม
๗. ทรงเป็นพระศาสดาแห่งเทพและมนุษย์
๘. ทรงตรัสรู้สัจธรรม
๙. ทรงเป็นผู้มีโชค (เพราะทรงสร้างหรือกระทำแต่สิ่งดีงามอันเป็นเหตุแห่งโชค)
หมวดธรรม ๑๐ ข้อ
ทางแห่งการกระทำอันดีงาม   (กุศลกรรมบถ)  ๑๐  ประการ
๑. เว้นจากการฆ่า
๒. เว้นจากการลักขโมย
๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เว้นจากการพูดปด
๕. เว้นจากการพูดยุยงหรือส่อเสียดให้แตกร้าว
๖. เว้นจากพูดคำหยาบ
๗. เว้นจากพูดเพ้อเจ้อหรือไร้สาระ
๘. ควบคุมหรือลดละความโลภ   หรือความคิดอยากได้ของผู้อื่น
๙. ควบคุมหรือลดละความโกรธ   หรือความพยาบาท
๑๐.ควบคุมหรือลดละความหลง   หรือความเห็นผิดทำนองคลองธรรม

          กุศลกรรมบถทั้ง  ๑๐  นี้  
 ข้อ  ๑  ถึง  ๓  จัดเป็นกายสุจริต  
ข้อ  ๔  ถึง  ๗  จัดเป็นวจีสุจริต  
ข้อ    ๘    ถึง   ๑๐   จัดเป็นมโนสุจริต     
 เพราะฉะนั้น     ทางแห่งการกระทำ
อันดีงามหรือกุศลกรรมบถ  ทั้ง   ๑๐ นี้    จึงจัดเป็นกายสุจริต   วจีสุจริต  และมโนสุจริต

http://www.seameo.org/vl/buddhist/budd6.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น