วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เทศนา ๒


 
พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า มี ๒ อย่าง คือ
สมมติเทศนา ( เทศนาเกี่ยวกับสมมติ ) ๑
ปรมัตถเทศนา ( เทศนาเกี่ยวกับปรมัตถ์) ๑.



http://th.wikisource.7val.com/;s=dD1rIezP1q8GSVQumAtO821/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B2_%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ปรมาตมัน



ปรมาตมัน อาตมันสูงสุด หรืออัตตาสูงสุด (บรมอาตมัน หรือบรมอัตตาเป็นสภาวะแท้จริง และเป็นจุดหมายสูงสุด ตามหลักความเชื่อของศาสนาฮินดู (เดิมคือศาสนาพราหมณ์) ซึ่งถือว่า ในบุคคลแต่ละคนนี้ มีอาตมัน คือ อัตตาหรือตัว ตน สิงสู่อยู่ครอง เป็นสภาวะเที่ยงแท้ถาวรเป็นผู้คิด ผู้นึก ผู้เสวยเวทนา เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่แบ่งภาคออกมาจาก ปรมาตมันนั้นเองเมื่อคนตาย อาตมันนี้ออกจากร่างไปสิงอยู่ในร่างอื่นต่อไป เหมือนถอดเสื้อผ้าเก่าสวมเสื้อผ้าใหม่ หรือออกจากเรือนเก่าไปอยู่ในเรื่องใหม่ ได้เสวยสุขหรือทุกข์ เป็นต้น สุดแต่กรรมที่ได้ทำไว้ เวียนว่ายตายเกิดเรื่อยไป จนกว่าจะตระหนักรู้ว่าตนเองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับปรมาตมัน แลเข้าถึงความบริสุทธิ์จากบาปโดยสิ้นเชิง จึงจะได้ กลับเข้ารวมกับปรมาตมันดังเดิม ไม่เวียนตายเวียนเกิดอีกต่อไป ; ปรมาตมันนี้ ก็คือ พรหม หรือ หรหมัน นั่นเอง

ทิศทั้ง 6 ในทางพระพุทธศาสนา

ทิศทั้ง 6 ในทางพระพุทธศาสนา

 ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง ทิศ ที่เราคุ้นเคยกัน เช่น ทิศตะวันออก ตะวันตก เหนือไต้ ทิศบูรพา อย่างนี้เป็นต้นแต่คำว่า ทิศ ในที่นี้ (ในพระพุทธศาสนา) นั้นหมายถึง บุคคล ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรา คือผู้ที่เราควรปฏิบัติให้ถูกต้องตามหน้าที่ มีด้วยกัน 6 อย่างคือ


1. ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ มารดา บิดา

2. ทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครู อาจารย์

3. ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ บุตร ภรรยา

4. ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตร สหาย

5. ทิศเบื้องต่ำ ได้แก่ บ่าว ไพร่ ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา

6. ทิศเบื้องบน ได้แก่ พระสงฆ์ สมณะพราหมณ์ หรือ นักบวช



 
ในครั้งสมัยพุทธกาล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอยู่ในกรุงราชคฤห์ เช้าวันหนึ่ง ขณะพระองค์กำลังเสด็จรับบิณฑบาต ได้ทอดพระเนตรเห็นมาณพ (ผู้ชาย) คนหนึ่ง ชื่อ สิงคาละ กำลังประนมมือน้อมนมัสการทิศทั้งหกนั้น (หมายถึง ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ฯลฯ เป็นต้น) เพื่อสกัดกั้นอันตรายอันจะมีมาแต่ทิศนั้นๆ เขาซึ่งเคารพเชื่อฟังคำพูดของพ่อ จึงทำเช่นนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสบอกว่า ทิศทั้งหก นี้ ในพุทธศาสนาเขาไม่ได้ไหว้กันอย่างนั้น แล้วทรงแสดงวิธีไหว้ทิศทั้งหก ในพระพุทธศาสนาให้เขาฟัง ดังนี้คือ 1. ปุริตถิมทิศ คือทิศเบื้องหน้า หมายถึง พ่อและแม่ วิธีไหว้คือปฏิบัติตน ดังนี้ o เลี้ยงดูท่าน o ช่วยท่านทำกิจการงาน o ดำรงศ์วงค์สกุลไว้ o ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท o เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ก็ต้องทำบุญอุทิศไปให้ท่าน ในทางกลับกัน ผู้เป็นพ่อ แม่ พึงอนุเคราะห์ต่อลูก ดังนี้ คือ o ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว o สอนให้ตั้งอยู่ในความดี o ให้ศึกษาเล่าเรียนศิลปะวิทยา o หาภรรยาที่เหมาะสม และสมควรให้ o มอบทรัพย์มรดกให้ 2.ทักขิณทิศ คือ ทิศเบื้องขวา หมายถึง ครูอาจารย์ วิธีไหว้ คือ ปฏิบัติตนดังนี้ o ลุกขึ้นยืนรับ o เข้าไปคอยรับใช้ o เคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนของท่าน o อุปฐาก ปรนนิบัติท่าน o ตั้งใจเรียนศึกษาเล่าเรียนด้วยความเคารพ ในทางกลับผู้เป็นครู อาจารย์ พึงอนุเคราะห์ตอบต่อศิษย์ ดังนี้ คือ o ให้คำแนะนำที่ดี o ให้ตั้งใจเรียน o บอกวิชาความรู้แก่ศิษย์โดยไม่ปิดบัง o ยกย่องศิษย์ให้ปรากฏแก่เพื่อนฝูง o ปกป้องศิษย์จากอันตรายจากทุกทิศทาง 3.ปัจฉิมทิศ คือ ทิศเบื้องหลัง หมายถึง ภรรยา วิธีไหว้ คือปฏิบัติตนดังนี้ o ยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา o ไม่ดูหมิ่น o ไม่ประพฤตินอกใจ o มอบความเป็นใหญ่ให้ o ให้เครื่องแต่งตัว ในทางกลับกันผู้เป็นภรรยา พึงปฏิบัติต่อสามี ดังนี้ คือ o จัดการงานให้ดี (ดูแลบ้าน) o สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี (ญาติของสามี) o ไม่ประพฤตินอกในสามี o รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ o ขยันไม่เกียจคร้านในการงานทั้งปวง 4. ปัจฉิมทิศ คือ ทิศเบื้องซ้าย หมายถึง เพื่อน วิธีไหว้คือปฏิบัติตนดังนี้ o เผื่อแผ่แบ่งปัน o พูดจาไพเราะ มีน้ำใจ o ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน o ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วย o ซื่อสัตย์จริงใจต่อกันและกัน 5. ทิศเบื้องล่าง หมายถึง คนงาน หรือ คนรับใช้ (บ่าว) วิธีไหว้ คือปฏิบัติตนดังนี้ o จัดการงานให้ทำตามสมควรแก่กำลัง ความสามารถ o ให้ค่าจ้าง และให้รางวัล o รักษาพยาบาลในเวลาที่เขาเจ็บไข้ o ได้ของแปลกๆ พิเศษๆ มาก็แบ่งปันให้ o นอกจากวันหยุดปกติแล้ว ก็ปล่อยให้หยุดในวันอื่นบ้างตามสมควรแก่สมัย ในทางกลับกัน บ่าวคนรับใช้ หรือ ลูกจ้าง พึงปฏิบัติต่อ เจ้านาย หรือ นายจ้าง ดังนี้ คือ o ลุกขึ้นมาทำงานก่อนนาย o เลิกงานทีหลังนาย o ถือเอาแต่สิ่งของที่นายให้เท่านั้น o ทำงานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ o นำคุณธรรมความดีของนายไปสรรเสริญในที่ไปที่นั้นๆ 6. อุปริมทิศ คือทิศเบื้องบน หมายถึง พระสงฆ์ สมณพราหมณ์, นักบวช วิธีไหว้คือปฏิบัติตนดังนี้ o จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยความเมตตา o จะพูดอะไร ก็พูดด้วยความเมตตา o จะคิดอะไร ก็คิดด้วยความเมตตา o ต้อนรับด้วยความเต็มใจ (ไม่ปิดประตูเรือน) o อุปัฏฐากบำรุงท่านด้วยปัจจัย 4( เครื่องนุ่งห่ม, อาหาร, ที่อยู่อาศัย, ยารักษาโรค) ในทางกลับกันฝ่ายพระสงฆ์ สมณะพราหมณ์ นักบวช พึงอนุเคราะห์ตอบ ดังนี้ คือ o ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว o สั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี o อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม o ให้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง (ศึกษารู้ธรรมะอะไรมาที่ยังไม่เคยฟัง ก็มาเล่าให้ฟัง) o ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง (อธิบายธรรมะที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง o บอกหนทางสวรรค์ให้ (บอกวิธีทำความดีต่างๆที่จะเป็นหนทางไปสวรรค์ให้) ที่มา https://www.myfirstbrain.com http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=15094.0

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

จริต6


จริต (อ่านว่า จะหริด) จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตชอบท่องเที่ยว หรืออารมณ์ที่ชอบท่องเที่ยวของจิตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มี 6 ประการ หมายถึง ความประพฤติ คือกิริยาอาการที่แสดงออกมาให้เห็น มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า จริย จริยา หรือ จรรยา โดยทั่วไปจะใช้หมายถึงกิริยาอาการที่ไม่ดี เช่น เสียจริต วิกลจริต ดัดจริต จริตจะก้าน แต่ในทางพุทธศาสนา หมายถึง ความประพฤติ, พื้นเพ นิสัยใจคอ มี 6 อย่างคือ

  1. ราคจริต หนักไปทางรักสวยรักงามคือ พอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล ชอบการมีระเบียบ สะอาด ประณีต พูดจาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะข้อดี มักชอบพัฒนาศิลปะให้แก่สังคม
  2. โทสจริต หนักไปทางเจ้าอารมณ์มักโกรธ เป็นคนขี้โมโหโทโส พูดเสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ แต่งตัวไม่พิถีพิถัน เป็นคนใจเร็ว ชอบจับผิด ข้อดี จึงมองข้อตลกของคนได้ดี จึงมักเป็นคนที่พูดจาได้ตลกและสนุกสนาน เนื่องจากเป็นคนตรงไปตรงมา ปกป้องสังคมจากการเสื่อมได้ดี
  3. โมหจริต หนักไปทางลุ่มหลง ในทรัพย์สมบัติ นิสัยเห็นแก่ตัว อยากได้ของของคนอื่น ลุ่มหลงในลาภสักการะ ชื่อเสียงเกียรติยศ มักงมงายในบทบาทที่สังคมสมมุติให้ บ้าอำนาจ ถือความเห็นตัวเองเป็นใหญ่ ข้อดียึดความเป็นสถาบันสูง
  4. สัทธาจริต หนักไปทางเชื่อถือจริงใจ น้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ เชื่อโดยไร้เหตุผล พวกนี้ถูกหลอกได้ง่าย ใครแนะนำก็เชื่อโดยไม่พิจารณา ชอบเพื่อน ชอบร่วมกลุ่ม พวกมากลากไป แคร์สังคม กลัวคนนินทา ข้อดีชอบช่วยเหลือผู้อ่อนแอ่
  5. พุทธิจริต หนักไปทางใช้ปัญญาเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ การคิดการอ่าน ความทรงจำดี ถือหลักการ อนุรักษ์นิยม ชอบสั่งสอนคนอื่น
  6. วิตกจริต หนักไปทางชอบคิดมาก ถ้าขี้ขลาดจะวิตก กังวล ฟู้งซ่านชอบคิด ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ไม่กล้าตัดสินใจ คิดอย่างไม่มีเหตุผล เกินจริง ชอบแหกกฎเกณฑ์ ข้อดีคิดนอกกรอบ ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆต่อสังคม

 

 กรรมฐานที่เหมาะสมกับแต่ล่ะจริต

  1. ราคจริต เหมาะกับอสุภะ 10 นวสี 9 กายคตานุสสติ
  2. โทสจริต วรรณกสิน4พรหมวิหาร4
  3. โมหจริต อานาปานสติ
  4. วิตกจริต อานาปานสติ กสินทั้ง 6 คือ ปฐวีกสิน อาโปกสิน เตโชกสิน วาโยกสิน อาโลกกสิน อากาสกสิน
  5. สัทธาจริต อนุสสติ6 คือพุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ จาคานุสสติ ศีลานุสสติ เทวตานุสสติ
  6. พุทธิจริต พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาธาตุ4 อาหาเรปฏิกูลสัญญา มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ
อานาปานสติเหมาะสมกับทุกจริต
อารมณ์ที่กล่าวมา 6 ประการนี้ บางคนมีอารมณ์ทั้ง 6 อย่างนี้ครบถ้วน บางรายก็มีไม่ครบ มีมากน้อยกว่ากันตามอำนาจวาสนาบารมีที่อบรมมาในชาติอดีต อารมณ์ที่มีอยู่คล้ายคลึงกัน แต่ความเข้มข้นรุนแรงไม่เสมอกันนั้น เพราะบารมีที่อบรมมาไม่เสมอกัน

ทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา

ทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา คือ ความพอดี ถ้ามากเกินหรือน้อยเกินไปจะมีผลต่อจิตใจ

 ผู้เขียนเคยเรียนถามหลวงพ่อเกี่ยวกับคนที่เสียจริต กรรมอะไรที่ทำให้ต้องเป็นเช่นนั้น หลวงพ่อท่านตอบแบบปัจจุบันกรรม คือ กรรมในชาตินี้ว่า "ผู้ที่เสียใจสุดขีด หรือดีใจสุดขีด จะทำให้เป็นบ้าได้"

เสียจริต*

เสียจริต

to lose one's minds
th • #155715 • th-en-dictionary

เสียสติ

V. be insane
    syn:{บ้า}{เสียจริต}{ฟั่นเฟือน}{วิกลจริต}
    ant:{มีสติ}
    sample:[เด็กคนนี้รู้ว่าตัวเองถูกปฏิเสธเลยเสียสติไป]
V. be insane
    def:[มีจิตใจผิดปกติคนธรรมดา]
    syn:{บ้า}{เสียสติ}{วิกลจริต}
    sample:[คนเหล่านี้คงจะเสียใจจนเสียจริตที่เห็นญาติพี่น้องต้องตายไปต่อหน้าต่อตา]

ADJ. lose one's mind
    def:[ที่มีจิตใจผิดปกติคนธรรมดา]
    syn:{บ้า}{เสียสติ}{วิกลจริต}
    sample:[เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2432 คนเสียจริตจำนวน 30 คนได้ถูกนำมาฝากรวมกันไว้ ณ สถานที่แห่งนี้]

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิเลส 3


ศีล ๕

ศีล ( Morality ) คือ ความปกติ และการรักษาศีลก็คือ ความตั้งใจรักษาปกติของตน อันเป็นหลักปฏิบัติที่ไม่ทำให้เดือดร้อน แก่ตนเองและผู้อื่น และเป็นหลักแห่งความประพฤติที่จะทำให้เกิดความสะอาดทางกาย และวาจา ศีลมีหลายประเภท เช่น ศีล 5, ศีล 8, ศีล 10 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ปฏิบัติ แต่ศีลที่ควรกระทำเพื่อให้เกิดความปกติในสังคมก็คือ ศีล 5 เพราะสะดวก และง่ายที่จะปฏิบัติ มีดังนี้ คือ • พึงละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต • พึงละเว้นจากการลักขโมย ฉ้อฉล • พึงละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม • พึงละเว้นจากการพูดเท็จ • พึงละเว้นจากการดื่มเครื่องดองของเมา ศีลทั้ง 5 ข้อนี้ เป็นหลักจำเป็นในสังคมมนุษย์ที่จะต้องปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปกติ ทั้งในตนเองและสังคม เพราะช่วยควบคุม ความประพฤติมิให้พลาดถลำลงในความชั่วอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงจัดอยู่ในระดับศีลธรรมอันเป็นมูลฐานที่จะนำไปสู่ความสงบ ของจิตใจ ถ้าหากความสะอาดทางกายและวาจาไม่มีแล้ว เราก็ไม่สามารถทำจิตใจให้สงบได้ สรุปได้ว่า ทางสายกลางข้อ 3-4-5 เป็นการปฏิบัติทางศีลเพื่อให้เกิดความปกติทางกายและวาจาเท่านั้น ศีล ๕ ได้แก่.. ๑.ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงดเว้นจากการฆ่า การเบียดเบียน การทำร้ายร่างกายคนและสัตว์ แล้วมีจิตใจประกอบด้วยเมตตากรุณา มีความปรารถนาดี และสงสารเห็นอกเห็นใจผู้อื่นสัตว์อื่น ๒.อทินนาทานา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมยหรือโจร อันได้แก่ ลัก ฉก ชิง วิ่งราว ขู่กรรโชก ขู่เข็ญ ปล้น จี้ ตู่ ฉ้อโกง หลอก ลวง ปลอม ตระบัด เบียดบัง สับเปลี่ยน ลักลอบ ยักยอก และรับสินบน แล้วเป็นผู้มีความขยันประกอบสัมมาชีพ บริจาคทาน และเคารพในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น ๓.กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม บุคคลต้องห้ามสำหรับฝ่ายชาย คือ (๑) ภรรยาคนอื่น (๒) ผู้หญิงที่ยังอยู่ในความอุปการะของผู้อื่น (ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นอยู่) (๓) ผู้หญิงที่จารีตต้องห้าม (แม่ ย่า ยาย พี่สาว น้องสาว ลูกสาว ชี หญิงผู้เยาว์ บุคคลที่ต้องห้ามสำหรับฝ่ายหญิง คือ (๑) สามีคนอื่น (๒) ชายจารีตต้องห้าม (พ่อ ปู่ ตา พี่ชาย น้องชาย ลูกชาย พระภิกษุ สามเณร ชายผู้เยาว์) ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงไม่ใช่เฉพาะ ห้ามแต่ร่วมสังวาสเท่านั้น แม้แต่การเคล้าคลึง การพูดเกี้ยวพาราสี หรือการแสดงอาการ ปฏิพัทธ์แม้แต่ด้วยสายตาเนตรสบเนตร เป็นต้น ก็ชื่อว่า การละเมิดศีลข้อนี้แล้ว เมื่อไม่ล่วงละเมิดศีลข้อนี้แล้วเป็นผู้สำสวมในกามยินดีแต่ในภรรยาของตนเท่านั้น (สทารสันโดษ) จงรักภักดีแต่ในสามีของตน (ปติวัตร) ถ้ายังไม่ได้แต่งงานก็ต้องมีกามสังวร ตั้งตนอยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม มีวัฒนธรรมอันดีชนิดที่ว่า "เข้าตามตรอกออกตามประตู" ๔.มุสาวาทา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงดเว้นจากการพูดเท็จ อันได้แก่คำปด ทวนสาบาน ทำเล่ห์กระเท่ห์ มารยา ทำกิเลส เสริมความสำรวมคำพูดเสียดแทง สับปลับ ผิดสัญยา เสียสัตย์ และคืนคำ แล้ว เป็นผู้รักสัจจะจะพูดแต่คำสัตย์จริงด้วยความจริงใจและปรารถนาดี มุ่งหวังดีต่อผู้ฟัง ๕.สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงเว้นจากการดื่มน้ำเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท อันได้แก่ น้ำสุรา เมรัย เครื่องดื่มมึนเมาอื่น ๆ และการเสพยาเสพติดอื่นๆ เช่น ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา ยาบ้า หรือแม้แต่บุหรี่ แล้วเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะในการประกอบกิจการทั้งปวง และเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิตในการงาน ในวัย ในเพศ ผู้จะเป็นคนเต็มคน คือ 100% จะต้องเป็นผู้มีการดำเนินชีวิตประจำวันที่ประกอบด้วยเบญจศีลเบญจธรรมทั้ง ๕ ประเด็นดังกล่าวแล้ว ถ้าขาด ๑ ประเด็นก็เป็นคนเพียง ๘๐ % หรือขาด ๒ ประเด็นก็เป็นคนเพียง ๖๐ % เป็น นับว่าเป็นหลักการขั้นพื้นฐานที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน มุ่งเน้นให้พุทธศาสนิกชนได้ประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อความเป็นมนุษย์อันจะได้เป็นสมาชิกที่ของสังคม ความสงบสุขในสังคมแต่ละวันจะเกิดขึ้นได้ก็อาศัยหลักมนุษยธรรม หรือ แต่ละคนเป็นคนเต็มคนนั่นเอง http://www.sil5.net/index.asp?autherid=14&ContentID=10000024&title=%A1%D2%C3%C3%D1%A1%C9%D2%C8%D5%C5+5&bttcol=False