วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

จักษุ2ความหมาย

หรือ จักขุ ในทางพระพุทธศาสนา มีความหมายสองประการ คือ
  1. มังสจักขุ ได้แก่ นัยน์ตาเนื้อใช้มองดูสิ่งต่างๆได้ เช่น นัยน์ตาของสัตว์ทั้งหลาย
  2. ปัญญาจักขุ ได้แก่ ความสามารถในการรู้เรื่องต่างๆ ด้วยปัญญา คือ เป็นการรู้ได้ทางใจ ไม่ใช่รู้ได้ด้วยนัยน์ตา
ปัญญาจักขุ
ในทางพระพุทธศาสนาแสดงไว้เป็นห้าชนิด คือ
  1. พุทธจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่หยั่งรู้ในอัธยาศัยของสัตว์โลกทั้งปวงได้ เรียกว่า อาสยานุสยญาณ
    และญาณปัญญาที่สามารถรู้ นามอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย ว่ายิ่งหรือหย่อนเพียงใด ที่เรียกว่า อินทรียปโรปริยัตติญาณ
  2. สมันตจักขุ หมายถึง ญาณที่สามารถรอบรู้สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ทั้งบัญญัติและปรมัตถธรรม ที่เรียกว่า สัพพัญญุตญาณ
  3. ญาณจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาที่ทำให้สิ้นอาสวกิเลส เรียกว่า อรหัตมรรคญาณ หรือ อาสวักขยญาณ
  4. ธรรมจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาของพระอริยบุคคลเบื้องต่ำทั้งสาม คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี
  5. ทิพพจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาที่สามารถรู้เห็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่ไกลแสนไกล ได้อย่างละเอียด ด้วยอำนาจของ สมาธิจิต ที่เรียกว่า อภิญญาสมาธิ
ปัญญาจักขุห้าประการนี้ สมันตจักขุ พุทธจักขุ ย่อมมีได้แต่เฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ส่วนปัญญาจักขุที่เหลืออีกสามประการ ย่อมเกิดแก่ พระอริยบุคคลอื่นๆ หรือฌานลาภีบุคคล ที่ได้ทิพพจักขุญาณ ตามสมควรแก่ญาณ และบุคคล
ปัญญาจักขุ ๕ มังสจักขุ ๑ รวมเป็น ๖ จึงเรียกกันสั้น ๆ ว่า จักขุ ๖
จักขุ ๕ ยังหมายถึง พระจักษุอันเป็นสมบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้แก่ มังสจักขุ ทิพพจักขุ ปัญญาจักขุ พุทธจักขุ สมันตจักขุ
ในประวัติของอริยบุคคล ธรรมจักขุ ใช้คำว่า "ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน"บ้าง "ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน" บ้าง
ในพจนานุกรมพุทธศาสน์ บรรยายไว้ว่า ดวงตาเห็นธรรม คือ ปัญญารู้เห็นตามความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวง ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ธรรมจักษุโดทั่วไป เช่นที่เกิดแก่ท่านโกณฑัญญะ เมื่อสดับธรรมจักร ได้แก่ โสดาปัตติมรรค หรือโสดาปัตติมัคคญาณ คือ ญาณที่ทำให้เป็นโสดาบัน


อัธยาศัย แปลว่า แปลว่าอะไร หมายถึง อัธยาศัย อัดทะยาไส น นิสัยใจคอ

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กำลัง ๗ ประการ



๑๐๑. คำอธิบายกำลัง ๗ ประการ


(๑)"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความเชื่อ เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
มีศรัทธาเชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า พระผู้มีพระภาคนั้น
๑. เป็นพระอรหันต์ (ผู้ไกลจากกิเลส) ๒. เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ๓. เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ ๔. เป็นผู้เสด็จไปดี ๕. เป็นผู้รู้จักโลก ๖. เป็นผู้ฝึกคนที่ควรฝึกอย่างเยี่ยม ๗. เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์๘. เป็นผู้ตื่น (รวมทั้งปลุกผู้อื่นให้ตื่น) ๙. เป็นผู้มีโชค (เพราะทำเหตุที่จะให้เกิดโชคไว้)
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความเชื่อ."

(๒) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความเพียร เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ตั้งความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม (ธรรมฝ่ายชั่ว) เพื่อทำให้กุศลธรรม (ธรรมฝ่ายดี) สมบูรณ์ เป็นผู้ลงแรงบากบั่นมั่น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความเพียร."
(๓) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความละอายต่อบาป เป็นไฉน? อริยสาวกไปพระธรรมวินัย เป็นผู้มีความละอาย คือละอายต่อกายทุจจริต (ความประพฤติชั่วทางกาย) วจีทุจจริต (ความประพฤติชั่วทางวาจา) มโนทุจจริต (ความประพฤติชั่วทางใจ) ละอายต่อการประกอบอกุศล บาปกรรมทั้งหลาย. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความละอายต่อบาป."                (๔) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความเกรงกลัวต่อบาป เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเกรงกลัว คือเกรงกลัวต่อกายทุจจริต วจีทุจจริต มโนทุจจริต เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศล บาปกรรมทั้งหลาย. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความเกรงกลัวต่อบาป."               (๕) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความระลึกได้ เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะอันยอดเยี่ยม ย่อมระลึกได้ ย่อมนึกออกถึงสิ่งที่กระทำไว้นานแล้ว ถึงถ้อยคำที่พูดไว้นานแล้วได้. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความระลึกได้."   (๖) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความตั้งใจมั่น เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม (ความในอารมณ์ที่น่าใคร่) สงัดจากอกุศลธรรมเข้าสู่ฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความตั้งใจมั่น."   (๗) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือปัญญา เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยปัญญา เห็นความเกิดความดับ เป็นปัญญาอันประเสริฐ ชำแรกกิเลสได้ ทำให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่ากำลังคือปัญญา." ๒๓/๓,๔

http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/interest/part4.2.html

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อกุศลมูล ๓

อกุศลมูล ๓อกุศลมูล ๓ (อกุศล=ความไม่ฉลาด, มูล=รากเหง้า)แปลตามตัวอักษรว่า รากเหง้าของความไม่ฉลาด หมายถึง รางเหง้าหรือต้นตอของความชั่วทั้ง
ปวง เมื่อกำเริบจะแสดงออกมาเป็นทุจริตทางกาย วาจา ใจ รวมเป็นเหตุให้เกิดกิเลส มี ๓ ประการ คือ
๑. โลภะ ความอยากได้ โลภะ คือ ความอยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตน อยากให้ตนมีเหมือนคนอื่น หรือมีมากกว่าผู้อื่น ความอยากมีหลายรูป
แบบซึ่งจะก่อให้เกิดรากเหง้าของความชั่วทั้งปวง เช่น อิจฉา ความอยาก ปาปิจฉา ความอยากอย่างชั่วช้าลามก มหิจฉา ความอยากรุนแรง อภิชฌาวิสมโลภะ
ความอยากได้ถึงขั้นเพ่งเล็ง ความอยากจะเกิดมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความชั่วในตัวเอง วิธีแก้ไขความอยากคือการใช้สติ ระลึกรู้ในตน
๒. โทสะ ความคิดประทุษร้าย โทสะ คือ ความคิดประทุษร้าย ได้แก่ การอยากฆ่า การอยากทำลายผู้อื่นๆ ความคิดประทุษร้ายเป็นรากเหง้าให้เกิด
กิเลสได้หลายอย่าง เช่น ปฏิฆะ ความหงุดหงิด โกธะ ความโกรธ อุปนาหะ ความผูกโกรธ พยาบาท ความคิดปองร้าย ถ้าปล่อยให้มีโทสะมาก ผู้นั้นจะเป็นคนชั่ว คน
พาล และเป็นภัยต่อสังคม วิธีแก้ไขโทสะ คือการใช้สติระงับตน และฝึกตนให้เป็นผู้มีอโทสะ
๓. โมหะ ความหลงไม่รู้จริง โมหะ คือ ความหลงไม่รู้จริง ได้แก่ ความไม่รู้ไม่เข้าใจ ความมัวเมา ความประมาท เป้นรากเหว้าให้เกิดกิเลสได้ต่างๆ
มากมาย เช่น มักขะ ลบหลู่คุณท่าน ปลาสะ ตีเสมอ มานะ ถือตัว มทะ มัวเมา ปมาทะ เลินเล่อ โมหะทำให้ขาดสติ ไม่รู้ผิดชอบร้ายแรงกว่าโลภะ และโทสะ รวมทั้ง
ส่งเสริมให้โลภะและโทสะมีกำลังมากขึ้นยิ่งด้วย วิธีที่จะทำให้โมหะลดลงนั้นจะต้องปฏิบัติตนเป็นผู้ที่มี อโมหะ ความไม่หลงงมงาย

กุศลมูล ๓

กุศลมูล ๓กุศลมูล ๓ หมายถึง รากเหง้าหรือต้นตอของความดีทั้งปวง ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ตรงกันข้ามกับ อกุศลมูล มี ๓ ประการดังนี้
๑. อโลภะ ความไม่อยากได้ อโลภะ คือ ความเป็นผู้ไม่มีความทะยานอยาก เป้นผู้ที่มีสติระลึกรู้ตัวอยู่เสมอไม่ว่าจะกระทำสิ่งใดๆ มีแต่ความยินดี
และพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่เท่านั้น การปฏิบัติตนเป็นผู้มีอโลภะนั้น จะต้องปฏิบัติธรรมที่ตรงกันข้ามกับโลภะ เช่น สันโดษ ความพอใจ ทาน การบริจาค จาคะ การเสีย
สละ อนภิชฌา ความไม่โลภไม่อยากได้ของผู้อื่น เป็นต้น
๒. อโทสะ ความไม่คิดประทุษร้าย อโทสะ คือ คสามไม่คิดประทุษร้าย ไม่โกรธ ไม่ผูกพยาบาท จะทำอะไรก็มีสติรู้สึกตัวอยู่เสมอใช้ปัญญาในการ
ประกอบการตัดสินใจต่างๆ การปฏิบัติตนเป็นผู้มีอโทสะนั้น จะต้องปฏิบัติธรรมที่ตรงกันข้ามกับโทสะ เช่น เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข กรุณา ความ
สงสาร อโกธะ ความไม่โกรธ อพยาบาท ความไม่ปองร้ายผู้อื่น อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน ตีติกขาขันติ ความอดทนต่อความเจ็บใจ เป็นต้น
๓. อโมหะ ความไม่หลง อโมหะ คือ ความไม่หลงงมงาย ไม่ประมาทอันเป็นสาเหตุให้เกิดความชั่วทั้งปวง ให้เป็นผู้มีสติปัญญามั่นคงใช้ปัญญา
พิจารณาไตร่ตรองโดยยึดหลักเหตุผล เมื่อมีอโมหะเกิดขึ้นกับตัวแล้ว โลภะ โทสะ และโมหะ ก็มิอาจเกิดขึ้นได้ การปฏิบัติตนเป็นผู้มีอโทสะนั้น จะต้องปฏิบัติ
ธรรมที่ตรงกันข้ามกับโทสะ เช่น พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ศึกษารับฟังมาก วิมังสา หมั่นตรึกตรองพิจารณา สัทธา เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ โยนิโสมนสิการ การรู้
จักตรึดตรองให้รู้จักดีชั่ว ปัญญา รอบรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ เป็นต้น

ตายไม่สูญ...แล้วไปไหน
http://board.palungjit.com/f4/%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A8%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5-%E0%B9%93-%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A8%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5-%E0%B9%93-201319.html

ปธาน4

ความเพียรที่ชอบเป็นสัมมาวายามะ มี ๔ อย่าง คือ
๑. สังวรปธาน เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
๒. ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. ภาวนาปธาน เพียรเจริญทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมไปและให้เพิ่มไพบูลย์;
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปธาน_๔

กุศลวิตก 3

กุศลวิตก 3 (ความตรึกที่เป็นกุศล, ความนึกคิดที่ดีงาม — wholesome thoughts)
1. เนกขัมมวิตก (ความตรึกปลอดจากกาม, ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรนปรือสนองความอยากของตน — thought of renunciation; thought free from selfish desire)
2. อพยาบาทวิตก (ความตรึกปลอดจากพยาบาท, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคืองหรือเพ่งมองในแง่ร้าย — thought free from hatred)
3. อวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยกรุณาไม่คิดร้ายหรือมุ่งทำลาย — thought of non-violence; thought free from cruelty)

http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิตก

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อกุศลวิตก 3

 ความตรึก คิดนึก ด้วยความไม่ฉลาด เป็นการนึกคิด ในเรื่องที่ไม่ดีของบุคคลผู้มีกิเลส ที่เก็บสะสมไว้ภายในจิตมากๆ ซึ่งท่านแบ่งอกุศลวิตกออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. กามวิตก ความตรึกในทางกาม หมายถึง การนึกถึง รูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ อันน่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจด้วยการแสดงออกมาในทางที่ไม่ถูกต้อง ทางศีลธรรม หรือแม้แต่วัตถุกามที่ประณีตอย่างไรก็ตาม หากยังมีอาการของตัณหาที่ก่อให้เกิดทุกข์อยู่ ก็ยังถือว่าอยู่ในข่ายของกามวิตกทั้งนั้น
2. พยาบาทวิตก ความตรึกในทางพยาบาท หมายถึง ความตรึกนึกด้วยอำนาจแห่งพยาบาท ซึ่งอาจจะเกิดมาจากความไม่พอใจ การกระทบกระทั่งกันโกรธเคืองกัน หรือลงมือทำร้ายกัน แต่ใจยังเก็บเรื่องนั้นไว้ และยังตรึกนึกด้วยอำนาจการจองเวร ทำความอาฆาตมาดร้าย มุ่งทำลาย ล้างผลาญสิ่งของ หรือ บุคคลที่ทำให้ตนโกรธไม่พอใจ เป็นต้น

3. วิหิงสาวิตก ควมตรึกในทางเบียดเบียน หมายถึง ความตรึกนึกด้วย อำนาจของโทสะ ต้องการจะเห็นความวิบัติ ความเดือดร้อนของคนอื่น สัตว์อื่น ต้องการที่จะเห็นการต่อสู้ หรือความพินาศของคนอื่น ทั้งที่เป็นสิ่งของ และสถานที่เป็นต้น

อกุศลวิตกทั้ง 3 นี้เป็นส่วนตรรกะ คือ บุคคลพิจารณาให้เห็นโทษ แล้วบรรเทา ละความตรึก ในลักษณะแผดเผาทำลายจิตของตนเอง ฉะนั้น
 
 
เขียนโดย :วิทยาทานวัน/เวลา :25/7/2551 9:52:24
http://www.firodosia.com/showdetail.asp?boardid=2879