วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เบญจพิธมาร ผู้กีดกันบุญกุศล มี 5 อย่าง



ในพระพุทธศาสนาได้แบ่งมารออกเป็น 5 ประเภทได้แก่
  1. กิเลสมาร คือ กิเลสซึ่งทำให้เรามีความประพฤติ และนิสัยไม่ดีต่างๆ ในแง่ของมารหมายถึง กิเลสที่คอยขัดขวางไม่ให้เราทำความดี
  2. ขันธมาร คือ ร่างกายและจิตใจของเรา ซึ่งบกพร่องแล้วเป็นมารผลาญตัวเอง ในแง่ของมารหมายถึง ขันธ์ที่คอยกีดขวางการทำความดี เช่น ต้องการฟังธรรมะ แต่หูหนวก ไม่สามารถฟังธรรมได้ เป็นต้น
  3. อภิสังขารมาร อภิสังขารคือความคิดนึกอันประกอบกับอารมณ์ เป็นมารเพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม ทำให้เกิดชาติชรา เป็นต้น ขัดขวางไม่ให้หลุดพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏ
  4. เทวบุตรมาร ได้แก่ เทวดาที่เป็นมาร เช่น พระยามาร รวมไปถึงคนพาล คนชั่ว ที่มาขัดขวางการทำความดีของเรา
  5. มัจจุมาร คือ ความตายที่ตัดโอกาสการทำความดีของเรา

มาร (บาลี: มรฺ; อังกฤษ: Mara - แปลว่า "ตาย" มารจึงแปลว่า "ผู้ให้ตาย") ในความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน จะหมายถึง เทวดาจำพวกหนึ่ง มีใจบาปหยาบช้าคอยกีดกันไม่ให้ทำบุญ, ยักษ์, ผู้ฆ่า, ผู้ทำลาย, ในพระพุทธศาสนาหมายถึง ผู้กีดกันบุญกุศล มี 5 อย่าง เรียกว่า "เบญจพิธมาร" คือ ขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร และเทวบุตรมาร โดยปริยายหมายถึงผู้ที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น