วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

สุญญตา

สุญญตา เป็นคำศัพท์ภาษาบาลี แปลว่า ความว่างเปล่า, ความเป็นของสูญ คือความไม่มีสาระ ถือเอาเป็นสาระไม่ได้ เขียนว่า สุญตา ก็มี ภาษาสันสกฤตใช้ว่า "ศูนยตา" สุญญตาหมายถึงสภาวะที่ว่างจากความเป็นตัวตนหรืออัตตา ได้แก่เบญจขันธ์ ธาตุ อายตนะ ซึ่งเป็นอนัตตา ไม่มีสาระที่พึงยึดถือว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล, สภาวะที่ว่างหรือปราศจากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง คือราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ได้แก่พระนิพพาน, สภาวะที่ว่างเปล่าไม่มีอะไร (นัตถิกิญจิ) ที่จิตกำหนดหมายไว้ในใจ ในการเจริญอากิญจัญญายตนฌาน คือการทำใจให้ว่าง ไม่เกาะเกี่ยวอารมณ์อื่น เป็นการพักผ่อนที่สำคัญ สุญญตาส่วนใหญ่ใช้ประกอบคำที่เป็นคุณธรรมอันสำเร็จมาจากการพิจารณาสุญญตา เช่น สุญญตสมาธิ สุญญตสมาบัติ สุญญตวิโมกข์ สุญญตวิหาร เพราะมีอวิชชา ถ้านามพ้นนาม ก็สู่สภาวะนิพพาน จิตเมื่อมีวิปัสสนาญาณจะพ้นรูปย่อมเป็นอิสระจากรูป ย่อมรูปแจ้งในรูป ดุจคนมองโลกในที่สูง เมื่อจิตพ้นจิต ด้วยอาสวักขยญาณ ย่อมเป็นอิสระจากนาม ย่อมรู้แจ้งในนาม ดุจอยู่ในกระแสแต่ทวนกระแสพบความว่างแห่งกระแส สุญญตา เป็นสภาวะที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเปรียบเทียบว่าเป็นสภาวะที่ใกล้เคียงกับนิพพานมากที่สุด เช่นเดียวกับอากาศ เพราะมี จิต เจตสิก รูป จึงไม่เข้าถึงนิพพาน เช่นเดียวกับเลข 0 เมื่อมีเลขอื่นๆเกิดขึ้นมา เลข 0 อาจเหมือนหายไปและไม่มีอยู่ แต่แท้จริงเลข 0 ไม่หายไปไหน คงอยู่ตรงนั้นเองแต่เมื่อเลขอื่นๆหมดค่าลงจน เหลือ 0 เลข 0 ย่อมปรากฏตัวขึ้นอีกครั้ง อ้างอิง พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548 http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%95%E0%B8%B2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น