วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อำนาจ

อำนาจ
ความหมาย
น. สิทธิ เช่น มอบอํานาจ; อิทธิพลที่จะบังคับให้ผู้อื่นต้องยอมทําตามไม่ว่าจะด้วยความสมัครใจหรือไม่ หรือความที่สามารถบันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น อํานาจบังคับของกฎหมาย อํานาจบังคับบัญชา; ความสามารถหรือสิ่งที่สามารถทําหรือบันดาลให้เกิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ เช่น อํานาจคุณพระศรีรัตนตรัย อํานาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์; กําลัง, พลัง เช่น อำนาจจิต อำนาจฝ่ายสูง อำนาจฝ่ายต่ำ; ความรุนแรง เช่น ชอบใช้อํานาจ; การบังคับบัญชา เช่น อยู่ใต้อํานาจ; การบังคับ เช่น ขออํานาจศาล.








อำ
ความหมาย
ก. ปิดบัง, ปกปิด; (ปาก) พูดหลอกเพื่อให้ตกใจหรือขบขันเป็นต้น, พูดดักคอ.

นาด
ความหมาย
ก. ทอดแขนให้อ่อนงาม.

นาถ
ความหมาย
[นาด, นาถะ] (แบบ) น. ที่พึ่ง, ผู้เป็นที่พึ่ง. (ป., ส.).

ความถูกต้อง

ความถูกต้อง คือต้องไม่เบียดเบียนตัวเองและคนรอบข้าง ดูได้เดี๋ยวนี้มิใช่เดี๋ยวก่อน ดูที่ความ รู้สึก การคิด การพูด และทำ จิตใจที่ดีมีปัญญาที่ถูกต้องคุ้มครอง ชีวิต ผ่องใส
ล้างราคะ โทสะ โมหะ ออกจากใจ
เห็นโลกตามที่เป็นจริง ทุกอย่างผันแปร ทนสภาพอยู่ไม่ได้ และไร้ตัวตน


http://www.oknation.net/blog/LearningforLife/2012/01/09/entry-2

วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สัมภเวสี

สัมภเวสี คือ สัตว์ผู้ยังแสวงหาที่เกิด ซึ่งได้แก่ปุถุชนและ พระเสขะผู้ยังแสวงหาภพที่เกิดอีก หรือสัตว์ในครรภ์และในไข่ที่ยังอยู่ระหว่างจะเกิด


 เสขะ แปลว่า ผู้ยังต้องศึกษาอยู่ คือยังต้องศึกษาไตรสิกขาคือศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อบรรลุมรรค ผลที่สูงขึ้นไปอีก เรียกเต็มว่า พระเสขะ หรือ เสขบุคคล เสขะ

โอปปาติกะ

โอปปาติกะ (อ่านว่า โอปะปาติกะ) แปลว่า ผู้เกิดผุดขึ้น คือผุดขึ้นเป็นตัวเป็นตนและโตเต็มที่ในทันที

โอปปาติกะ เป็นโยนิคือกำเนิดหรือวิธีเกิดของสัตว์โลกอย่างหนึ่งใน ๔ อย่าง เรียกว่าโอปปาติกกำเนิด
โอปปาติกะ เป็นการเกิดที่ไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยแต่อดีตกรรมอย่างเดียว เกิดแล้วก็สมบูรณ์เต็มตัว ไม่เจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เหมือนสัตว์โลกทั่วไป เวลาตายก็หายวับไปไม่มีซากร่างเหลือไว้เหมือนคนหรือสัตว์
โอปปาติกะ ได้แก่ เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย และมนุษย์สมัยต้นกัลป์

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B0

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อรหันต, อรหันต์

อรหันต, อรหันต์
ความหมาย
[อะระหันตะ, ออระหันตะ, อะระหัน, ออระหัน] น. ชื่อพระอริยบุคคลชั้นสูงสุดใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เรียกว่า พระอรหันต์. (ศัพท์นี้ใช้ อรหาหรือ อรหัง ก็มี แต่ถ้าใช้เป็นคําวิเศษณ์หรืออยู่หน้าสมาสต้องใช้อรหันต). (ป.; ส. อรฺหนฺต).
 

พิสดาร

พิสดาร
ความหมาย
[พิดสะดาน] ว. กว้างขวาง, ละเอียดลออ (ใช้แก่เนื้อความ) เช่น ประวัติศาสตร์ฉบับพิสดาร มีความพิสดารดังนี้; (ปาก) แปลกพิลึก เช่น เล่นพิสดาร. (ส. วิสฺตาร; ป. วิตฺถาร).
 

"ปรกติ"

ปกติ" มาจากคำในภาษาบาลี คำว่า "ปรกติ" มาจากคำในภาษาสันสกฤต ทั้งสองคำนี้มี ความหมายเหมือนกันคือ ธรรมดา, เป็นไปตามเคย
www.vcharkarn.com

วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

นิรุตติ

นิรุตติ น. ภาษา, คําพูด. (ป.; ส. นิรุกฺติ).
นิรุตติปฏิสัมภิทา น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉาน ในนิรุตติ คือ ความเข้าใจในภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำพูดอธิบายให้คนเข้าใจ ตลอดจนรู้ภาษาต่าง ๆ อาจชักนำคนให้เชื่อถือหรือนิยมตามคำพูด, กล่าวสั้น ๆ ว่า เข้าใจพูด. (ป.).
ธรรมปฏิสัมภิทา  น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในธรรม คือ ความเข้าใจสาวหาเหตุในหนหลัง, ความ เข้าใจถือเอาใจความแห่งอธิบายนั้น ๆ ตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อขึ้นได้. (ป.).
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา  [ปะติพานะ-] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ คือ ความเข้าใจทำให้สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ในเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือกล่าวโต้ตอบได้ทันท่วงที. (ป.).
ปฏิสัมภิทา (แบบ) น. ความแตกฉาน, ปัญญาอันแตกฉาน, มี ๔ อย่าง คือ อรรถปฏิสัมภิทา ธรรมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณ ปฏิสัมภิทา. (ป.).
อรรถปฏิสัมภิทา [อัดถะ] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในอรรถ คือ ความเข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้าอันจะเกิดสืบเนื่องไป จากเหตุ, ความเข้าใจอธิบายอรรถแห่งภาษิตย่อให้พิสดาร. (ป.).
http://dict.longdo.com/index.php?lang=en&search=%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B4

ปรมัตถธรรม

ปรมัตถธรรม คือ สภาพธรรมที่มีจริง เป็นอภิธรรม (อภิธรรม คือ ธรรมที่ยิ่งใหญ่ เพราะเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใด) เป็นสภาพธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%96%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1

วิกาล

วิกาล
N. night
    def:[ยามค่ำคืน, เวลากลางคืน]
    syn:{กลางคืน}{ยามวิกาล}
http://th.w3dictionary.org/index.php?q=%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5

วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

มรณ-, มรณ์, มรณะ

มรณ-, มรณ์, มรณะ
ความหมาย
[มอระนะ-, มะระนะ-, มอน, มอระนะ] น. ความตาย, การตาย. (ป., ส.). ก. ตาย.
 

ชรา

ชรา
ความหมาย
[ชะ] ว. แก่ด้วยอายุ, ชํารุดทรุดโทรม. (ป., ส.).
 

ความสุข...

ความสุข หรือ สุข พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า "น. ความสบาย กายสบายใจ..." คือความรู้สึกหรืออารมณ์ประเภทหนึ่ง ...

เมตตา

เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ...

วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กฎธรรมดา

กฎธรรมดา
ความหมายน. ข้อกําหนดระเบียบการปฏิบัติเนื่องจากธรรมดาวิสัยของมนุษย์และสังคม.

สังโยชน์

สังโยชน์
ความหมาย
น. เครื่องพัวพัน, เครื่องผูกรัด, หมายเอากิเลสที่ผูกคนไว้กับวัฏสงสารมี ๑๐ อย่าง มีสักกายทิฐิเป็นต้น พระอริยบุคคลเมื่อละสังโยชน์เป็นลําดับจนหมดก็เป็นพระอรหันต์. (ป. สํโยชน, สญฺโ?ชน; ส. สํโยชน).

อริย, อริยะ

อริย, อริยะ
ความหมาย
[อะริยะ] น. ในพระพุทธศาสนา เรียกบุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษมีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ว่า พระอริยะ หรือ พระอริยบุคคล. ว. เป็นของพระอริยะ, เป็นชาติอริยะ; เจริญ, เด่น, ประเสริฐ.

เที่ยง

เที่ยง
ความหมาย
ว. ตรง เช่น นาฬิกาเดินเที่ยง, แน่นอน
เช่น สังขารไม่เที่ยง คือ ไม่แน่นอน; ที่สะท้อนตรงกับความเป็นจริง ในคําว่า กระจกเที่ยง; แน่, แม่นยํา, ในคําว่า มือเที่ยง; เรียกเวลากึ่งกลางของกลางวันที่พระอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะว่า เที่ยง หรือ เที่ยงวัน ตรงกับ ๑๒ นาฬิกา, เรียกเวลากึ่งกลางของกลางคืนว่า เที่ยงคืน ตรงกับ ๒๔ นาฬิกา.

http://guru.sanook.com/dictionary/พจนานุกรม_ไทย-ไทย_ราชบัณฑิตยสถาน/ก/

ศรัทธา

ศรัทธา
ความหมาย
[สัดทา] น. ความเชื่อ, ความเลื่อมใส, เช่น สิ้นศรัทธา ฉันมีศรัทธาในความดีของเขา บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ประสาทะ เป็น ศรัทธาประสาทะ. ก. เชื่อ, เลื่อมใส, เช่น เขา ศรัทธาในการรักษาแบบแพทย์แผนโบราณ. (ส. ศฺรทฺธา; ป. สทฺธา).

ปัญญา

ปัญญา
ความหมาย
น. ความรอบรู้, ความรู้ทั่ว, ความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิด, เช่น คนมีปัญญา หมดปัญญา. (ป.).

http://guru.sanook.com/dictionary/พจนานุกรม_ไทย-ไทย_ราชบัณฑิตยสถาน/ก/

ภาวนา

ภาวนา แปลว่า การเจริญ การอบรม การทำให้มีให้เป็นขึ้น หมายถึง การทำจิตใจให้สงบและทำปัญญาให้เกิดขึ้น ด้วยการฝึกฝนอบรมจิตไปตามแบบที่ท่านกำหนดไว้ ซึ่งเรียกชื่อไปต่างๆ เช่น การบำเพ็ญกรรมฐาน การทำสมาธิ การเจริญภาวนา การเจริญจิตภาวนา
ภาวนา ในทางปฏิบัติท่านแบ่งไว้ ๒ แบบใหญ่ๆ คือ
  1. สมถภาวนา การอบรมจิตใจให้สงบ ซึ่งได้แก่สมถกรรมฐานนั่นเอง เรียกว่า จิตภาวนา ก็ได้
  2. วิปัสสนาภาวนา การอบรมปัญญาให้เกิด ซึ่งได้แก่วิปัสสนากรรมฐานนั่นเองเรียกว่าปัญญาภาวนา ก็ได้
ภาวนา เป็นบุญอย่างหนึ่ง เรียกว่าภาวนามัย คือบุญที่เกิดจากการภาวนา

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2

กัป หรือ กัลป์

กัป หรือ กัลป์ (บาลี: กปฺป; สันสกฤต: कल्प กลฺป) มีความหมายหลายทาง ได้แก่ กาล, เวลา, สมัย, อายุ, กำหนด, วัด, ประมาณ เป็นคำบอกถึงช่วงเวลาที่ยาวนานที่ใช้ในคัมภีร์พระไตรปิฎก

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9B

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กาลกิริยา (อ่านว่า กาละกิริยา หรือ กานกิริยา)

กาลกิริยา (อ่านว่า กาละกิริยา หรือ กานกิริยา) แปลว่า การกระทำกาละ

กาลกิริยา เป็นสำนวนวัด หมายถึง ตาย, มรณะ, ล่วงลับไป ใช้กับบุคคลทั่วไปไม่จำกัดเพศ เช่นใช้ว่า
“ผู้สั่งสมบุญความดีไว้มาก ครั้นทำกาลกิริยาไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติ
“สามีของนางครั้นสั่งเสียเสร็จแล้วก็ทำกาลกิริยาล่วงลับไปสู่ปรโลก
กาลกิริยา ความหมายตามรูปศัพท์อีกอย่างหนึ่งว่า ถึงเวลาที่กำหนดไว้, ถึงจุดของเวลา, ถึงเวลาสุดท้าย, ถึงชั่วโมงสุดท้าย (ของชีวิต) ซึ่งก็ได้ความหมายว่า “ตาย” เหมือนกัน

จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว

จริต (อ่านว่า จะหริด) จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตชอบท่องเที่ยว หรืออารมณ์ที่ชอบท่องเที่ยวของจิตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มี 6 ประการ หมายถึง ความประพฤติ คือกิริยาอาการที่แสดงออกมาให้เห็น มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า จริย จริยา หรือ จรรยา โดยทั่วไปจะใช้หมายถึงกิริยาอาการที่ไม่ดี เช่น เสียจริต วิกลจริต ดัดจริต จริตจะก้าน แต่ในทางพุทธศาสนา หมายถึง ความประพฤติ, พื้นเพ นิสัยใจคอ มี 6 อย่างคือ
  1. ราคจริต หนักไปทางรักสวยรักงามคือ พอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล ชอบการมีระเบียบ สะอาด ประณีต พูดจาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะ มักชอบพัฒนาศิลปะให้แก่สังคม
  2. โทสจริต หนักไปทางเจ้าอารมณ์มักโกรธ เป็นคนขี้โมโหโทโส พูดเสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ แต่งตัวไม่พิถีพิถัน เป็นคนใจเร็ว ชอบจับผิด จึงมองข้อตลกของคนได้ดี จึงมักเป็นคนที่พูดจาได้ตลกและสนุกสนาน เนื่องจากเป็นคนตรงไปตรงมา ปกป้องสังคมจากการเสื่อมได้ดี
  3. โมหจริต หนักไปทางลุ่มหลง ในทรัพย์สมบัติ นิสัยเห็นแก่ตัว อยากได้ของของคนอื่น ลุ่มหลงในลาภสักการะ ชื่อเสียงเกียรติยศ มักงมงายในบทบาทที่สังคมสมมุติให้ บ้าอำนาจ ถือความเห็นตัวเองเป็นใหญ่ ยึดความเป็นสถาบันสูง
  4. สัทธาจริต หนักไปทางเชื่อถือจริงใจ น้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ เชื่อโดยไร้เหตุผล พวกนี้ถูกหลอกได้ง่าย ใครแนะนำก็เชื่อโดยไม่พิจารณา ชอบเพื่อน ชอบร่วมกลุ่ม พวกมากลากไป แคร์สังคม กลัวคนนินทา ชอบช่วยเหลือผู้อ่อนแอ่
  5. พุทธิจริต หนักไปทางใช้ปัญญาเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ การคิดการอ่าน ความทรงจำดี ถือหลักการ อนุรักษนิยม ชอบสั่งสอนคนอื่น
  6. วิตกจริต หนักไปทางชอบคิดมาก ถ้าขี้ขลาดจะวิตก กังวล ฟู้งซ่านชอบคิด ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ไม่กล้าตัดสินใจ คิดอย่างไม่มีเหตุผล เกินจริง ชอบแหกกฎเกณฑ์ ข้อดีคิดนอกกรอบ ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆต่อสังคม

บาป

บาป หมายถึง สิ่งที่ทำให้จิตใจเสีย คือมีคุณภาพต่ำลง ไม่ว่าจะเสียในแง่ใดล้วนเรียกว่าบาปทั้งสิ้น สิ่งที่ทำแล้วเป็นบาป คือ อกุศลกรรมบถ 10 ได้แก่
  1. ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
  2. ลักทรัพย์
  3. ประพฤติผิดในกาม
  4. พูดเท็จ
  5. พูดส่อเสียด
  6. พูดคำหยาบ
  7. พูดเพ้อเจ้อ
  8. คิดโลภมาก
  9. คิดพยาบาท
  10. มีความเห็นผิด
"นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต บาปย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ทำบาป"
อีกนัยหนึ่ง บาปหมายถึงสิ่งที่มนุษย์นั้นไม่ควรกระทำ ไม่ว่าด้วยทาง กาย วาจา หรือใจ เพราะเป็นสิ่งที่พึงจะนำทุกข์ มาแก่ตนและผู้อื่น

 "อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ"

นิกาย แปลว่า หมวด, หมู่, พวก

นิกาย แปลว่า หมวด, หมู่, พวก
นิกาย นิยมใช้ใน 2 ความหมาย คือความหมายหนึ่งเป็นชื่อเรียกคัมภีร์พระสุตตันตปิฎกที่แยกออกเป็น 5 หมวด คือ ฑีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย
อีกความหมายหนึ่ง เป็นชื่อเรียกคณะนักบวชในศาสนาเดียวกัน แต่แยกไปเป็นพวกๆ ตามความเห็นที่ไม่ตรงกันซึ่งมีในทุกศาสนา ในพุทธศาสนาก็อย่างมหานิกาย กับธรรมยุตินิกาย ทักษิณนิกาย กับ อุตรนิกาย

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2

วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สติ

สติ
ความหมาย
[สะติ] น. ความรู้สึก, ความรู้สึกตัว, เช่น ได้สติ ฟื้นคืนสติ สิ้นสติ, ความรู้สึกผิดชอบ
 เช่น มีสติ ไร้สติ, ความระลึกได้ เช่น ตั้งสติ กำหนดสติ. (ป.; ส. สฺมฺฤติ).



พจนานุกรม ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน